· หุ้นเอเชียทรงตัวจากวันหยุดขอตลาดหลักๆ ขณะที่หุ้นเทคโนโลยีกดดันหุ้นสหรัฐฯ
หุ้นเอเชียปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 วันทำการ ท่ามกลาง
- ความเชื่อมั่นในตลาดอ่อนตัวลง
- แรงเทขายทำกำไรในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
- โอกาสจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีปริมาณการซื้อขายจำกัดจากวันหยุดประจำชาติ จึงส่งผลให้ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นค่อนข้างปิดทรงตัว
หุ้นออสเตรเลียปิดปรับขึ้น โดยดัชนี ASX200 ปิด +0.7% ที่ 7,117.6 จุด ท่ามกลางหุ้นกลุ่มการเงินที่ +0.84% ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงาน +1.2% และหุ้นกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ +1.2%
ดัชนีไต้หวัน Taiex ปิด +0.36%
ดัชนี STI ของสิงคโปร์ปิดปรับขึ้นจากการใช้มาตรการเข้มงวด ท่ามกลางการปิดพรมแดนยับยั้งการระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่
ขณะที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญมองสถานการณ์ในอินเดียจากยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นดูจะชะลอลงไป
· หุ้นฮ่องกงปิดบวกจากหุ้นกลุ่มบริษัทพลังงาน - การเงินปิดบวก ก่อนจีนจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งวันพรุ่งนี้
ดัชนี HSI ปิด +0.01% ที่ 28,559.8 จุด
ดัชนี Hang Seng China EnterprisesI ปิด +0.17% ที่ 10,784.15 จุด
· หุ้นยุโรปเปิดรีบาวน์ - นักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการ และข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซน
หุ้นยุโรปเปิดบวกจากนักลงทุนขานรับรายงานผลประกอบการครั้งใหม่ และข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยดัชนี Stoxx600 เปิด +0.9% โดยหุ้นทรัพยากรพื้นฐานเปิด +1.9% ยกเว้นหุ้นกลุ่มยานยนต์กลุ่มเดียวที่ไม่ได้เคลื่อนไหวแดนบวก
ขณะที่หุ้นเอเชียค่อนข้างอ่อนตัวหลังหุ้นสหรัฐฯเผชิญแรงเทขายทำกำไร ประกอบกับการที่จีนและญี่ปุ่นยังปิดทำการในวันนี้
· ดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายในเชิงบวกตลอดช่วงบ่ายวันนี้
· FTSE 100 ปรับขึ้น ขานรับหุ้นกลุ่มเหมือง, ธนาคาร และผลประกอบการ Croda ที่สดใส
ดัชนี FTSE100 เปิด +00.6% จากหุ้นกลุ่มเคมีภัณฑ์ปรับขึ้น 2.2% หลังจากที่บริษัท Croda International ปรับขึ้นจากการที่บริษัทมีการปรับทบทวนข้อมูลประมาณการณ์ภาคธุรกิจ
หุ้นกลุ่มเหมืองได้รับแรงหนุนครั้งใหญ่จากราคาสินค้ากลุ่มโลหะที่ปรับขึ้น ส่งผลให้ หุ้นบริษัท Anglo America ปรับขึ้น +2.3% หลังจากที่ Citigroup มีการปรับเพิ่มเป้าหมายราคา
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
-กนง.มติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ห่วงเศรษฐกิจรับผลกระทบโควิดระลอก 3
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.วันนี้ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศและแนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว
- ดัชนี SET ร่วงต่อเป็นกว่า 30 จุด กังวลสถานการณ์โควิดยังหนัก-หุ้นใหญ่นำดิ่ง
ตลาดหุ้นไทยภาคเช้าร่วงลงหนักไปเป็นกว่า 30 จุด จากแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ นำโดยกลุ่มแบงก์ จากความกังวลธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าคาด และสถานการณ์โควิดในประเทศยังน่าเป็นห่วง
เมื่อเวลา 10.17 น. ดัชนี SET อยู่ที่ 1,571.99 จุด ลดลง 11.14 จุด (-0.70%)
ล่าสุดเมื่อเวลา 11.53 น. ดัชนี SET อยู่ที่ 1,552.71 จุด ลดลง 30.42 จุด (-1.92%)
- พาณิชย์ เผย CPI เม.ย.64 ขยายตัว 3.41% ส่วน Core CPI ขยายตัว 0.30%
นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนเม.ย.64 อยู่ที่ 100.48 เพิ่มขึ้น 3.41% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้น 0.43%
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนเม.ย.64 อยู่ที่ 100.56 เพิ่มขึ้น 0.30% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.16%
- นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะกรณีรายจ่ายลงทุนรายการปีเดียวและรายการผูกพันใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะขณะนี้ได้เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณแล้ว โดยให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหรือควบคุมกิจการของหน่วยงานต่างๆ ได้ไปเร่งรัด ติดตามและประเมินการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการกระตุ้นให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เพื่อทบทวนกรอบวินัยการเงินการคลังต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ขณะนี้ครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีที่จะต้องทบทวนกรอบวินัยการเงินการคลังใหม่ หลังจาก พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ มีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่ปี 61
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยตัวเลขการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในโครงการแรกวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา และโครงการที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อสินเชื่อฟื้นฟูฯ วงเงิน 150,000 ล้านบาท พบว่าสินเชื่อพิเศษทั้ง 2 โครงการมียอดอนุมัติสินเชื่อล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว 138,707 ล้านบาท โดยให้กับเอสเอ็มอี 78,166 ราย