ดอลลาร์อ่อน - อัตราผลตอบแทนร่วง หนุนทองฝ่าเหนือ 1,800 เหรียญ
ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้กว่า 1% ปรับขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยา 1,800 เหรียญ จากปัจจัยหลักในตลาด คือ
1. การอ่อนค่าของดอลลาร์หลุด 91 จุดอีกครั้ง โดยดอลลาร์ปิดตลาดวานนี้ -0.34% ที่ระดับ 90.948 จุด
2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1.6% โดยปิดที่ 1.58%
3. คำสั่ง Stop Orders ในตลาดอนุพันธ์ ที่ช่วยหนุนราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +1.6% ที่ 1,814.5 เหรียญ ระหว่างวันทำ High 1,817.9 เหรียญ ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่ 16 ก.พ.
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +1.8% ที่ระดับ 1,815.7 เหรียญ
· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก OANDA มองว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะอยู่ในทิศทางที่สดใส แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินของเฟดได้ ประกอบกับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ
· เฟดมีแผนจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำใกล้ศูนย์ต่อไป รวมทั้งการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนมูลค่า 1.2 แสนล้านเหรียญ จนกว่าจะเห็นเป้าหมายที่กำหนดฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนทั้งเรื่องการจ้างงาน ขณะที่เฟดเองก็มีความยืดหยุ่นเรื่องเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
· นักวิเคราะห์จาก ED&F Man Capital Market มองว่า ทองคำอาจไปได้ไกลถึง 1,850 เหรียญในเดือนหน้า
FXStreet คาด ทองขาขึ้น แนะจับตาเส้น SMA ราย 200 วันบริเวณ 1,850 เหรียญ หลังฝ่า 1,800 เหรียญมาได้ โดยโอกาสแรกอาจเห็นทองแตะ 1,822 เหรียญ ที่เป็นจุด Pivot Point ของภาพรายสัปดาห์
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,019.33 ตัน
· ตลาดสนใจการประกาศข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯในคืนนี้ ที่คาดว่าอาจเห็นการจ้างงานเพิ่มได้ราว 978,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย.
· Kitco ชี้ ทองพุ่งทำสูงสุด 10 สัปดาห์ - สัญญาณเทคนิคชี้ภาวะขาขึ้น, ดอลลาร์อ่อนค่า
นักวิเคราะห์จาก Kitco ระบุว่า ราคาทองคำปรับเหนือระดับแนวต้านสำคัญทางเทคนิค 1,800 เหรียญมาได้และทำสูงสุดรอบ 10 สัปดาห์
ด้านซิลเวอร์มาแรงไม่ต่างกัน ทะยานทำสูงสุดรอบ 9 สัปดาห์
ทั้งนี้ การที่ทองคำยืนเหนือน 1,800 เหรียญได้ บ่งชี้ภาพขาขึ้นกลับมาอีกครั้ง ประกอบกับตลาดอนุพันธ์รับแรงหนุนจากคำสั่ง Stop Orders ที่ช่วยดันราคาให้สูงขึ้น
ภาพทางเทคนิคทองคำเป็นขาขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ ประกอบกับการอ่อนค่าของดัชนีดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่อ่อนตัวลงจากที่ปรับขึ้นในสัปดาห์นี้
“ความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อทั่วโลก” จะกลายมาเป็นปัญหาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และนี่ “จะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำได้ต่อ”
· พลาเดียมปิด -1% ที่ 2,943.37 เหรียญ
หลังทำ All-Time High บริเวณ 3,017.18 เหรียญ ท่ามกลางภาวะขาดแคลนอุปทานในกลุ่มรถยนต์
· ซิลเวอร์ปิด +3.2% ที่ระดับ 27.34 เหรียญ
ระหว่างวันทำสูงสุดรอบกว่า 2 เดือนบริเวณ 27.45 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +2.1% ที่ 1,250.74 เหรียญ
· นักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ Bank of America กล่าวว่า ทองแดงเป็น “พลังงานน้ำมันใหม่” และการปรับลงของสต็อกคงคลังอาจทำให้ราคาทองแดงพุ่งแตะ 20,000 เหรียญ ซึ่งเป็นสูงสุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ร่วงลงทำต่ำสุดรอบ 13 เดือน
จำนวนคนว่างงานสหรัฐฯรายสัปดาห์ลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว 92,000 ราย สู่ระดับ 498,000 ราย ท่ามกลางตลาดแรงงานฟื้นตัวได้ดีขึ้นจากสถานการณ์ด้านสุขภาพที่คลี่คลายขึ้น และรัฐบาลสนับสนุนทางการเงินครั้งใหญ่

ตลาดแรงงานแกร่งขึ้น สะท้อนว่าบรรดาผู้จ้างงานประกาศลดตำแหน่งงานน้อยสุดในรอบเกือบ 21 ปี ขณะที่รายงานต่างๆสะท้อนว่าข้อมูลการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย.
อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานก็ยังฟื้นตัวได้อย่างไม่สดใสนัก จากผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ยังลงทะเบียนรับสิทธิประมาณ 16.2 ล้านราย
· “ไบเดน” ตั้งใจผลักดันอัตราภาษีนิติบุคคลที่ระดับ 25% เพื่อหนุนโครงการค่าใช้จ่ายต่างๆ
นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า ภาษีนิติบุคคล ควรอยู่ระหว่าง 25-28% เพื่อให้สามารถช่วยจ่ายเงินในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และมีสัญญาณบ่งชี้ว่า อาจยอมรับอัตราภาษีที่น้อยกว่านั้นได้เพียงเล็กน้อย ตรงข้ามกับสิ่งที่พรรครีพับลิกันค้านเรื่องการสนับสนุนการระดมเม็ดเงิน
เนื่องจาก นายไบเดนไม่ต้องการให้ภาคบริษัทขนาดใหญ่จ่ายภาษีที่ระดับศูนย์ หรือมีการลดระดับภาษีตามกฎหมายปรับลดภาษีฉบับปี 2017 ดังนั้น การปรับลดภาษีจึงควรอยู่ระหว่าง 25 – 28%
ทั้งนี้ แผนโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ล้านล้านเหรียญของเขา เป็นการเสนอโดยจะมีการปรับขึ้นภาษีนิติบุคคลรวมอยู่ด้วยจากระดับ 21% มาเป็น 28% แต่ก็มีสัญญาณว่าอาจมีการประนีประนอมกันได้
· รายงานนโยบายครึ่งปีเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินของเฟด ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับ “การปรับตัวลงอย่างมีนัยยะ” ของราคาสินทรัพย์ต่างๆ
เพราะถึงแม้ภาพโดยองค์รวมระบบการเงินจะยังมีเสถียรภาพอย่างมาก แต่อนาคตก็ดูจะมีอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับขึ้นอย่างรุนแรงในตลาดหุ้นที่เริ่มชะลอตัวที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อระบบการเงินมากขึ้น
· บีโออีชะลอการลดเข้าซื้อพันธบัตร แม้จะมีความหวังเศรษฐกิจฟื้นตัว
ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) มีมติตัดสินคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะมีสัญญาณที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจของอังกฤษสามารถฟื้นตัวได้จากไวรัส ประกอบกับโครงการฉีดวัคซีนที่รุดหน้ารวดเร็ว
ทั้งนี้ บีโออีคงการใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำ All-Time Low 0.1% และการซื้อพันธบัตรตามเดิมที่ 8.95 แสนล้านปอนด์ (1.24 ล้านเหรียญ)
· นักลงทุนจับตาสถานการณ์การเลือกตั้งในสก็อตแลนด์อย่างใกล้ชิด เพราะอาจสร้างความผันผวนทางการเมือง ตลอดจนการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกเทศครั้งใหม่
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาพบยอดติดเชื้อรายวันทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเหนือ 800,000 รายอีกครั้ง ล่าสุดแตะ 843,468 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมแตะ 3.26 ล้านราย
รายงานยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกพบสูงขึ้น 42 ประเทศ หลังลดลงไป 30 ประเทศในช่วง 2 วันก่อน
.png07052021)
สถานการณ์ในอินเดียยังคงรุนแรง ล่าสุดผู้ติดเชื้อรายวันทะลุ 400,000 รายอีกครั้ง โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่ม 414,433 ราย รวมสะสม 21.48 ล้านราย และเสียชีวิตในประเทศเพิ่มเกือบ 4,000 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 234,071 ราย
บราซิลก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อหนัก ล่าสุดเพิ่มมากถึง 72,559 รายในวันเดียว ทำให้ยอดรวมสะสมล่าสุดทะลุ 15 ล้านรายขึ้นมา ด้านเสียชีวิตในประเทศสูงถึง 2,531 ราย รวมสะสม 417,176 ราย
· สถานการณ์ระบาดในไทยยังไม่สดใส เมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,911 ราย รวมติดเชื้อสะสม 76,811 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 18 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 336 ราย
.png07052021)
ทั้งนี้หากนับเฉพาะการระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่ 1 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 47,948 ราย
· บรรดาผู้ผลิตยา ชี้ ไบเดนส่งสัญญาณผิดพลาดเรื่องการละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน
เนื่องด้วยการละเว้นดังกล่าวอาจส่งผลให้
- อุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานเปราะบาง
- ประเทศร่ำรวยอาจแทนที่การแบ่งปันวัคซีนที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในโลก
· หุ้นเภสัชกรรมทั่วโลกทรุดจาก “ไบเดน” หนุนการละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน Covid-19
· หุ้นบริษัทผู้ผลิตวัคซีน Covid ผันผวน หลังทีมบริหารไบเดนหนุนการละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน
ก่อนที่ทาง WTO จะมีการประกาศละเว้นสิทธิบัตรวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ในการผลิตวัคซีน
· อียู “พร้อมหารือ” กรณีสหรัฐฯ หนุนแผนละเว้นสิทธิบัตรวัคซีน Covid-19 ช่วยชาติยากจนสู้วิกฤตไวรัส
นางเออซูลาร์ วง เดอ เลอยง ประธานคณะกรรมาธิการอียูตั้งใจหารือข้อเสนอ หลังสหรัฐฯสนับสนุนละเว้นสิทธิบัตรคุ้มครองวัคซีน Covid-19 เพื่อเร่งให้ 30 ชาติยุโรปฉีดวัคซีนได้ต่อเข็มที่ 2 ขณะที่การส่งออกวัคซีนมีมากกว่า 200 ล้านโดสสำหรับวัคซีนแก่ประเทศที่เหลือ ท่ามกลางการจำกัดการแบ่งปันวัคซีนในสหรัฐฯและอังกฤษ
· วัคซีน Sputnik Light สำหรับ 1 เข็มในการป้องกัน Covid-19 ให้ประสิทธิภาพสูงถึง 79%
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า จะให้การสนับสนุนยูเครนจากการเคลื่อนไหวของรัสเซีย
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.15 - 31.35 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทระหว่างวันค่อนข้างผันผวน และมาปิดตลาดในระดับที่อ่อนค่ากว่าช่วงเช้า ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของ flow เงินทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดีในส่วนของปัจจัยอื่นๆ ทั่วไป ยังไม่ได้มีผลต่อทิศทางของเงินบาทมากนัก
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.อยู่ที่ 46.0 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 7 เดือน จากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ที่มีความรุนแรงจนทำให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มข้นกระทบต่อการดำเนิน
ชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะที่แนวโน้มดัชนีฯ ในเดือน พ.ค.ยังมีโอกาสลดลงได้ต่อ
- ม.หอการค้าไทย ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดรอบ 3 คาดจะทำให้ GDP ไตรมาส 2 ลดลงเหลือโตเพียง 3-5% จากเดิมที่คาดไว้โต 8-9%
- สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 64 เป็นขยายตัว 6-7% จากเดิมคาด 3-4%
โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าและปริมาณการส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าอุตสาหกรรม ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลก
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Spring News
- EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ มอง กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 64 แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงมากจากการแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอกที่ 3 ดังนั้นเรื่องดอกเบี้ยมีผลต่อการลงทุนเงินฝาก พร้อมทั้ง ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือโต 2.0% (เดิมคาด 2.6%) จากผลกระทบการระบาดระลอกที่ 3 และมีความเสี่ยงของการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำสอง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์
- บล.ทิสโก้คาด 1-2 เดือนนี้หุ้นไทยยังปรับขึ้นน้อยกว่าหุ้นโลกต่อ หลังถูกกดดันจากโควิด-19 ระบาดระลอก 3 ฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า เผยนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมจ่อปรับเป้าจีดีพีไทยลง