ทองคำทรงตัว – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น จำกัดการเคลื่อนไหวของราคา
ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัวในวันนี้ โดยมีปัจจัยบวกหลักจาก
- ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับอ่อนค่ามากสุด 10 สัปดาห์ บริเวณ 90.138 จุด วานนี้ทำอ่อนค่ามากสุดที่ 89.979 จุด ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ 25 ก.พ.
- ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลงจากกลุ่มนักลงทุน
- แรงขายในตลาดหุ้น
- ถ้อยแถลงสมาชิกเฟดที่ยังไม่รีบเดินหน้าหารือเรื่องการลด/ถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
ขณะที่ปัจจัยลบต่อราคาทองคำ คือ
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี รีบาวน์แตะ 1.624%
- ข้อมูลการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐฯดีขึ้นกว่าคาดที่ 8.12 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่ข้อมูลเดือนมี.ค. ถูกปรับทบทวนขึ้นมาที่ 7.53 ล้านตำแหน่ง
- นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังการซื้อขายก่อนทราบข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯในคืนนี้
· ระหว่างวันทองคำตลาดโลกปรับลงไปกว่า 1% ที่ 1,816.9 เหรียญ ก่อนจะรีบาวน์กลับมาปิดตลาด -0.1% ที่ระดับ 1,834.19 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด -0.1% ที่ระดับ 1,836.1 เหรียญ
· พลาเดียมปิด -1.1% ที่ 2,928 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -0.6% ที่ 1,240 เหรียญ
· ซิลเวอร์ปิด -0.8% ที่ 27.54 เหรียญ
· นักวิเคราะห์จาก FXTM ระบุว่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังคงเดินหน้าปรับขึ้นต่อเนื่อง ก็อาจฉุดให้ราคาทองคำปรับตัวลลงต่อ แม้ว่าตลาดการเงินจะเผชิญกับสภาวะ Risk-Off
แต่ภาพรวมราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวได้ในกรอบขาขึ้นตราบเท่าที่ยืนได้เหนือแนวรับสำคัญ 1,800 เหรียญ และหากปิดรายสัปดาห์ได้เหนือ 1,840 เหรียญ มีโอกาสไปต่อที่ 1,855 เหรียญ และ 1,870 เหรียญตามลำดับ
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมเป็นวันที่ 2 โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,025.15 ตัน
· ข้อมูลการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่ของสหรัฐฯปรับขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ 8.1 ล้านตำแหน่ง แต่ภาคธุรกิจก็ยังไม่สามารถหาแรงงานเพิ่มขึ้นได้
· บรรดานักลงทุนกำลังรอการประกาศข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) ในคืนนี้ เวลา 19.30น. เพราะอาจส่งสัญญาณต่อการเริ่มเพิ่มทางเลือกต่อเงินเฟ้อ
สำหรับข้อมูลเงินเฟ้อในคืนนี้ถูกคาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นรายปีในเดือนเม.ย. ปรับขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี แตะ 3.6% ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะทำให้ภาพรวมขยายตัวได้มากสุดตั้งแต่ก.ย. ปี 2011 แต่หากเทียบข้อมูลรายเดือนอาจเห็นการปรับขึ้นได้ 0.2%
สำหรับ Core CPI คืนนี้ ที่จะประกาศในช่วงเวลาเดียวกันที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน คาดว่าจะโตได้ 0.3% หรือแตะ 2.3% เมื่อเทียบรายปี
ภาพรวมสมาชิกเฟดยังคงมองว่า “เงินเฟ้อ” ปรับขึ้นเพียงชั่วคราว
· “ลอเรตต้า เมสเตอร์” ประธานเฟดสาขาเคฟแลนด์ ย้ำว่า เงินเฟ้ออาจขึ้นได้ชั่วคราว และสิ้นปีนี้อาจเห็นเงินเฟ้อที่ 2% ก่อนจะปรับตัวลงในปีหน้า จากอุปสรรคทางด้านอุปทาน
· “ชาร์ล อีวานส์” ประธานเฟดสาขาชิคาโก ต้องการเห็นข้อมูลจ้างงานแข็งแกร่งก่อนพิจารณาเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการเงิน
· “แพทริก ฮาเกอร์” ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย ไม่เห็นเหตุผลในการถอนนโยบายการเงินเวลานี้ ท่ามกลางตลาดแรงงานอ่อนแอ ขณะที่เงินเฟ้อมีโอกาสเห็น 3%
· “ลาเอล เบรนาร์ด” สมาชิกฝ่ายปกครองของเฟด ระบุว่า การถอนการสนับสนุนทางการเงินของเฟดเวลานี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นแข็งแกร่งได้รับผลกระทบ ตลอดจนความพยายามในการสนับสนุนการจ้างงาน
· “ราฟาเอล บอสติก” ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายของเฟด โดยเฉพาะการจ้างงานได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกันนี้มองว่า เฟดดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมแล้ว
· “เจมส์ บุลลาร์ด” ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะหารือเรื่องการถอนนโยบายสนับสนุนของเฟด ท่ามกลางไวรัสที่ยังคงระบาดอยู่ในประเทศ
· “แมรี ดาลีย์” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า พวกเรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จึงจะยังไม่หารือการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน
พร้อมมองว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ ดังนั้น เฟดจึงยังไม่ถึงเวลาที่จะถอนการเข้าซื้อพันธบัตร 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือนในเวลานี้
· Center for American Progress เสนอให้ เฟดควรบังคับให้ภาคธนาคารทำการถือเงินสดเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเป็นไปได้ที่จะประสบภาวะขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และความเป็นไปได้ที่จะต้องรับมือกับปัญหาดังกล่าว
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays ระบุว่า ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯกลับมาฟื้นตัวได้จากการระบาด แต่หลายๆแห่งก็ยังคงได้รับคามเสียหาย
- ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนสินค้าในกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ส, ไม้ และการแพ็คสินค้า
- ความกลัวต่างๆที่ไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ยังส่งผลกระทบต่อความเป็นไปได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาคบริษัทอาจมีการปรับขึ้นราคาสินค้า
- การขาดแคลนต่างๆ ที่รวมถึงภาคแรงงานและสิ่งนอกเหนือตลาดแรงงาน อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวที่รวดเร็วทางเศรษฐกิจได้
· ราคาน้ำมันดิบปิดบวกจากกังวลภาวะขาดแคลนพลังงาน โดยรีบาวน์กลับหลังช่วงต้นตลาดทรุดกว่า 1%
น้ำมันดิบ WTI ปิด +36 เซนต์ หรือ 0.6% ที่ระดับ 65.28 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ Brent ปิด +23 เซนต์ หรือ +0.3% ที่ 68.55 เหรียญ/บาร์เรล
แก๊สโซลีนฟิวเจอร์สปิด +0.3% ที่ 2.1399 เหรียญ/แกลลอน
· อียูมันใจจะสามารถกลับมาเปิดการเดินทางได้ด้วยใบรับรอง Covid-19 ภายในช่วงฤดูร้อนนี้
· ตลาดจับตาสถานการณ์รุนแรงในเขตฉนวนกาซา หลังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มต่อเนื่อง
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด
ทั่วโลกติดเชื้อสะสมทะลุ 160.30 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมปรับขึ้นแตะ 3.33 ล้านราย โดยอินเดียยังมีสถานการณ์ระบาดที่รุนแรงและยอดติดเชื้อยังทะยานเหนือ 300,000 ราย นานกว่า 2 สัปดาห์
สถานการณ์ระบาดในไทย
เมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,919 ราย รวมสะสมสะสม 86,924 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 31 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 452 ราย
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.05 - 31.30 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ธุรกรรมค่อนข้างเบางบาง เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระทบ
· สมาคมตราสารหนี้ไทย เผย การปรับตัวของ ตลาดตราสารหนี้ไทย ต่อสถานการณ์โควิด
ภายหลังความกังวลในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกปี 2020 เริ่มคลี่คลายลง ภาคเอกชนก็มีการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้มากขึ้น
โดยมูลค่าการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวในไตรมาส 1 ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 20 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนนักลงทุนต่างชาติมียอดการกลับเข้าซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยในเดือนมีนาคมที่ค่อนข้างสูงทำให้ในไตรมาสแรกของปี 2564 นักลงทุนต่างชาติมียอดการซื้อสุทธิ 245 ล้านบาท
ตลาดตราสารหนี้ไทยในไตรมาส 1 ปี 2564 มีบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ภาคเอกชนออกหุ้นกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มียอดการออกรวม 182,804 ล้านบาท
โดยการออกที่เพิ่มขึ้นมาจากกลุ่ม real sectorในขณะที่กลุ่ม bank & finance sector มียอดการออกลดลง เนื่องจากยังมีสภาพคล่องสูงจากฐานเงินฝากที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ มูลค่าการเสนอขายหุ้นกู้ต่อกลุ่มนักลงทุนทั่วไป (PO : public offering) สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่า 3 เท่า และหุ้นกู้ส่วนใหญ่ที่เสนอขายอยู่ในกลุ่มน่าลงทุน (investment grade)
สำหรับทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปี 2564 นี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะกลางและยาวจะทรงตัว หรือเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ รอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมาสนับสนุน หลังจากที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างเร็วและแรงในช่วงต้นปี ภายหลังเมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่นี้
อ่านต่อ: https://www.prachachat.net/finance/news-661309
· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
หุ้นไทยอ่อนกำลังเคลื่อนไหว 1,575-1,595 จุด หวั่นโควิดสายพันธุ์อินเดียระบาด
ตลาดหุ้นไทยวันนี้เริ่มอ่อนกำลังอิงทางลงเป็นหลักระหว่าง 1,575-1,595 จุด ทดสอบแนวต้าน 1,600 จุด ยังไม่ได้ ขานรับบรรยากาศลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกอ่อนตัว หวั่นหากเกิดการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์อินเดียนอกสถานที่กักกันของรัฐ คาดว่าตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญกับแรงขายชุดใหญ่อีกระลอก วันนี้คลังชงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้า ครม.วงเงิน 4 แสนล้านบาท เบื้องต้นตลาดรับรู้ประเด็นนี้ไประดับหนึ่งแล้ว
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินสนับสนุนในโครงการ "เราชนะ" อีกคนละ 1,000 บาท/สัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รวม 2,000 บาท โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ถึง 33.5 ล้านคน รวมทั้งมีมติเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนโครงการ "ม33 เรารักกัน" อีกคนละ 1,000 บาท/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ รวม 2,000 บาท และขยายเวลาฃองโครงการออกไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากกว่า 8 ล้านคน
- กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน เม.ย.64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 เทียบกับระดับ 47.5 ในเดือนก่อนหน้า
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือนเม.ย.64 (TCC-CI) อยู่ที่ระดับ 27.6 ลดลงจาก เดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 30.7
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับเพิ่มเติมว่าด้วยกรอบข้อตกลงเพื่อเสนอขายกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน และรับฟิลิปปินส์เข้าเป็นภาคีภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN Collective Investment Schemes (ASEAN CIS)
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนเม.ย. 64 กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในปัจจุบัน (เดือนเม.ย.64) และ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอย่างมาก อยู่ที่ 37.0 และ 39.4 จากเดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 40.4 และ 41.5 บ่งชี้ว่าครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับภาวะการครองชีพ