อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนเม.ย.เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 12 ปีโดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 4.2% จากปีที่แล้ว ขณะที่ดาวโจนส์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.6%
ด้านดัชนี CPI ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และ 0.9% เมื่อเทียบกับรายเดือน ตัวเลขที่สูงขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม ซึ่งเป็นความกังวลที่ส่งผลให้เกิดการเทขายหุ้นเทคโนโลยีในสัปดาห์นี้

การเพิ่มขึ้นของดัชนี CPI เป็นอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2008 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นต่อเดือนนั้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981
ราคาพลังงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 25% จากปีก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้น 49.6% และน้ำมันเตา 37.3% ถึงแม้ว่าหมวดพลังงานส่วนใหญ่จะลดลงในเดือนเม.ย.ก็ตาม
นอกจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขปรับตัวสูงขึ้นเป็นเพราะผลกระทบจากฐานอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมากในปี 2020 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯปิดตัวลงตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบแบบปีต่อปีอาจจะผิดเพี้ยนไป 2-3 เดือนเนื่องจากผลกระทบของการระบาด
ด้วยเหตุนี้ เฟดและนักเศรษฐศาสตร์หลายราย จึงยกเลิกตัวเลขรอบปัจจุบันเป็นการชั่วคราวโดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงในช่วงปลายปีนี้ที่เป้าหมาย 2% ตามที่เฟดได้กำหนดไว้