· ตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงลง หลังจากที่ถูกกดดันจากข้อมูลสินเชื่อกู้ยืมของธนาคารกลางจีนออกมาแย่กว่าคาดและความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ
ดัชนี CSI300 ลดลง 0.8% ที่ระดับ 5,003.72 จุด
ดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.7% ที่ระดับ 3,437.14 จุด
ดัชนี Hang Seng ลดลง 0.9% ที่ระดับ 27,970.78 จุด
ดัชนี China Enterprises ร่วงลง 1.2% ที่ระดับ 10,434.23 จุด
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นร่วงลง โดยดัชนี Nikkei ปรับลง 2.49% ที่ระดับ 27,448.01 จุด แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากหุ้นกลุ่ม SoftBank และหุ้นราคาแพงได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ
ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา ดัชนีร่วงลง 7.01% ซึ่งร่วงลงมากที่สุดในรอบสามวันนับตั้งแต่ความวุ่นวายในตลาดช่วงเดือนมี.ค. 2020
ด้านดัชนี Topix ร่วงลง 1.54% ที่ระดับ 1,849.04 จุด แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ระบุว่า ธนาคารกลางพร้อมที่จะซื้อกองทุนซื้อขาย ETF อย่างไม่ลังเล แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเมื่อใด
· เกาหลีใต้ประกาศลดหย่อนภาษีครั้งใหญ่พร้อมกับเงินกู้ 1 ล้านล้านวอน (883 ล้านเหรียญ) สำหรับอุตสาหกรรมชิปในท้องถิ่น ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลก
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ตามตลาดหุ้นทั่วโลกหลังได้รับผลกระทบจากข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ
โดยดัชนี Stoxx600 ร่วงลง 1.1% ด้านหุ้นกลุ่มทรัพยากรร่วงลง 2.7% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนนี้ หลังข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนเม.ย.ออกมาดีกว่าที่คาด
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศบค.พบผู้ติดโควิดรายใหม่ 4,887 ราย ในปท.1,439-ตรวจเชิงรุก 597-ตปท.16,ตาย 32
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,887 ราย ประกอบด้วย
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู (ซอฟต์โลน) โครงการ 2 ที่ได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และตรงกับความต้องการมากกว่าสินเชื่อโครงการแรก และได้เปิดให้สถาบันการเงินเข้ามาขอรับสินเชื่อเพื่อปล่อยกู้ต่อให้กับเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง พบว่า ณ วันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา มียอดการปล่อยสินเชื่อ 6,212ล้านบาท เร่งตัวขึ้นจากสัปดาห์แรกที่มีการปล่อยสินเชื่อไป 507 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,705 ล้านบาท เป็นการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีขนาดกลาง หรือมีสินเชื่อเดิมที่ 5-50 ล้านบาท คิดเป็น 50%
- รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลกระทบโควิด-19 ระลอกที่ 3 มีแนวโน้มจะส่งผลให้เอสเอ็มอีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว บริการ ร้านอาหาร และที่เน้นตลาดในประเทศ กลายเป็นผู้ป่วยหนักมากขึ้นเนื่องจากขาดรายได้ในการประคองธุรกิจ ทำให้ปัญหาการขาดสภาพคล่องมีสูงและในทางปฏิบัติบางส่วน ยังไม่อาจเข้าถึงแหล่งเงินทุน แม้ว่าล่าสุดรัฐบาลจะมีการผ่อนปรนเงื่อนไขเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้รัฐบาลจะต้องหามาตรการอัดฉีดสภาพคล่องโดยเร่งด่วน