• Reuters poll ชี้ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ กังวลข้อมูล Core PCE ที่เฟดใช้วัดเงินเฟ้อจะแตะ 2.8%

    17 พฤษภาคม 2564 | Economic News
  


Reuters poll ชี้ ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ กังวลข้อมูล Core PCE ที่เฟดใช้วัดเงินเฟ้อจะแตะ 2.8%

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters Polls ระหว่าง 10-13 พ.ค. สะท้อนว่า เฟดค่อนข้างให้ความสำคัญกับข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯจากมาตรวัดต่างๆ ที่อาจปรับขึ้นไปทำสูงสุด 2.8% ซึ่งอาจทำให้เฟดรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนัก จึงอาจเห็นเฟด “อดทน” ได้เพียง 3 เดือนเป็นอย่างน้อยก่อนดำเนินการใดๆ


ทั้งนี้ ภาพรวมของผลสำรวจชี้ให้เห็นว่ากรอบการขึ้นของเงินเฟ้อจะอยู่ระหว่าง 2.3% และสูงสุดที่ 4% แต่โดยส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 2.5%


ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานับจนถึงมี.ค. ดัชนี Core PCE Price Index ที่เป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อของเฟดขยายตัวได้ 1.8% ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงที่สุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 ขณะที่เฟดค่อนข้างยืดหยุ่นต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก ING:- คาดเงินเฟ้อสหรัฐฯอาจแตะ 2.8%


- แต่การขึ้นของเงินเฟ้อจะมีความยั่งยืนมากกว่าตัวเลขรายเดือนที่เจาะจงอย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- หากข้อมูล core PCE ออกมาเหนือ 2.5% ในช่วงต้นปี 2022 ก็อาจเป็นสิ่งที่จะทำให้เราต้องหันมาสนใจว่าเฟดอาจเร่งลด QE รวมทั้งขึ้นดอกเบี้ยได้ก่อนสิ้นปีนี้



นักเศรษฐศาสตร์เพียง 4 ราย คาดเงินเฟ้ออาจขึ้นไปได้สูงกว่า 2.8% จึงอาจส่งผลให้สมาชิกเฟดต้องคำนึงเรื่องดอกเบี้ย และอาจทำให้ตลาดการเงินมีความวิตกกังวลเรื่องเงินเฟ้อ


นักเศรษฐศาสตร์จาก Citi:
- เฟดดูจะมีแนวโน้มมองว่าการขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียง “ชั่วคราว”
- ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้าค่อนข้างสำคัญอย่างมาก เพราะจะบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเงินเฟ้อ
- ข้อมูลเดือนเม.ย. ถือเป็นประเด็นเด่น แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจทั้งหมดในเดือนหน้า


ความแข็งแกร่งของอุปสงค์หลัง “การกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ” และการอัดฉีดมาตรการกระตุ้นทางการเงิน ดูจะทำให้เกิดคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะโตได้เฉลี่ย 6.5% ในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 6.2%


สำหรับปี 2022 คาดว่าจะโตได้ 4.1% เดิมคาดไว้ 4.1%

ภาวการณ์ขยายตัวของการจ้างงานในประเทศสหรัฐฯ ดูจะมีผลให้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะฟื้นฟูได้อีกครั้ง


ประเด็นคำถามเรื่อง “อัตราว่างงาน” ที่จะกลับมาได้ก่อนยุคเกิดวิกฤตไวรัส
- ส่วนใหญ่คาดต้องใช้เวลาราว 1 ปี
- 15 คนของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่มองต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี


นายริชาร์ด แคลริดารองประธานเฟด กล่าวในวันพุธก่อนว่า “ข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯที่ออกมาอ่อนแอ ทำให้ “การฟื้นตัวของภาคแรงงาน” มีความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลจ้างงานอ่อนแอ และเงินเฟ้อแข็งแกร่ง แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้มีผลให้เฟดเปลี่ยนแผนการดำเนินนโยบายในเวลานี้


หัวหน้านักกลยุทธ์จาก TD Securities:
- ไม่คาดว่าจะเห็นเฟดดำเนินการเรื่องดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2024
- การถอนนโยบาย QE ดูจค่อนข้างแตกต่างออกไป
- เฟดมีความต้องการที่จะเห็นความคืบหน้าอย่างยั่งยืน แต่ทั้งหมดก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย



ประเด็นเรื่อง “เฟดจะเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์รายเดือน 1.2 แสนล้านเหรียญ”
- นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022
- มีเพียง 13 ราย คาดอาจเกิดการลด QE ได้ช่วงไตรมาสที่ 4/2021


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Pantheon Macroeonomics:
- เฟดไม่น่าจะ Panic หลังจากที่เริ่มเห็นรายงานเงินเฟ้อ (CPI)
- เราอาจคาดหวังว่าจะได้ยินเฟดกล่าวถึง “การปรับขึ้นของเงินเฟ้อเป็นการชั่วคราวต่อ” อย่างน้อยอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า
- รายงานเงินเฟ้อล่าสุดไม่ได้สะท้อนถึงส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ แต่จริงๆแล้วสะท้อนถึง “การกลับมาเปิดทำการที่เพิ่มขึ้น”
- คาดการณ์ว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้ออีกในเดือนหน้า
- คาดหวังเห็นโอกาสการถอนนโยบายได้ในช่วงสิ้นปีนี้


ที่มา: Reuters


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com