“เงินเฟ้อ” สัญญาณอันตรายที่เฟดอาจดำเนินการล่าช้า
.
Bloomberg รายงานถึง ความเสี่ยงใหญ่ของตลาด คือเรื่อง “เงินเฟ้อ” สัญญาณอันตรายที่เฟดอาจดำเนินการที่ล่าช้า และสาเหตุที่เงินเฟ้อได้รับความสนใจจากนักลงทุนตลอดจนกลุ่มผู้บริโภคตางๆในตลาดการเงิน ส่วนหนึ่งมีเรื่องความยืดหยุ่น และการรับรู้ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจริงๆ
หลักฐานที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ที่เกิดขึ้นก่อนทีการรายงานข่าวมาจากผลสำรวจบรรดาผู้จัดการกองทุนต่างๆของ BofA Securities Inc ที่เชื่อว่าจะเห็นเงินเฟ้อขยายตัวมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยเริ่มเก็บผลสำรวจมา:
ในเวลานี้ ความหวังที่หลายๆคนสนใจ คือ การผสมผสานกันเรื่องเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้ออาจสร้างความท้าทายครั้งใหม่สำหรับผู้จัดการการเงิน แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจรับประกันว่าจะต้านทานการขึ้นของเงินเฟ้อครั้งนี้ได้
อย่างไรก็ดี สัญญาณสำคัญที่บรรดากลุ่มผู้จัดการการเงินที่ตอบแบบสอบถามกับ BofA ชี้ว่า จะสร้าง “ความเสี่ยงครั้งใหญ่” โดย ส่วนใหญ่กล่าวถึงในปีที่แล้วเรื่อง “การระบาด” ถือเป็นความกังวลครั้งยิ่งใหญ่ โดยในเดือนมี.ค. จะเห็นได้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดิ่งลึก หรือหยุดที่จะเติบโต
ขณะที่นักลงทุนบางส่วนแสดงความกังวลที่ว่าเฟดจะพยายามขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป ก็กระตุ้นให้กระแสเฟดขึ้นดอกเบี้ยกดดันตลาดหุ้นร่วงและสินทรัพย์อื่นๆ อาทิ ค่าเงินในตลาดเกิดใหม่อ่อนตัว
และภาพต่อไปนี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2013 ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ดังนั้น ความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่สุดเวลานี้คือ
เฟดอาจดำเนินการใดๆสายเกินไป ไม่ใช่เฟดดำเนินการเร็วเกินไป รวมไปถึง ”ความล้มเหลวในการหยุดเงินเฟ้อ” ที่กำลังเกิดขึ้น
เงินเฟ้อ จริงๆแล้วเริ่มก่อความกังวล แต่หลักฐานที่เห็นได้ชัดถึวความอันตรายนั้น บางส่วนชี้ให้เห็นถึง
”การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นวงกว้าง”
ที่ค่อนข้างเป็นหนึ่งสิ่งที่สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อได้อย่างชัดเจน แต่เฟดอาจ “คิดผิด” ว่าการเพิ่มขึ้นเป็นเพียงชั่วคราว หรือช่วง “เปลี่ยนผ่าน” สภาวะคอขวดในอุปทาน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งหลังไวรัสระบาด
แม้ว่าผลกระทบจะยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แต่ดัชนีชี้วัดสินค้าโภคภัณฑ์ของ Bloomberg ก็สะท้อนให้เห็นถึงการปรับขึ้นที่มากที่สุดในรอบหลายทศวรรษ:
สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ กำลังสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่นักลงทุนส่วนใหญ่ที่พยามสอดรับกับธีมเศรษฐกิจระดับมหาภาค ซึ่งผู้คนต้องการลงทุนในโครงสร้างที่แข็งแกร่ง (ไม่ว่าจะเป็น “ไม้” หรือ “เหล็ก”) รวมทั้งภาคการผลิตต่างๆ (ลิเธียม หรือ โคบอลต์) รวมทั้ง โลหะในกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ ทองแดง และอะลูมิเนียม ที่ส่งผลต่อราคาสินค้าทั้งสองชนิด
นอกจากนี้ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นความต้องการส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 2-3 ปีข้างหน้า ที่จะส่งผลให้ ”ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย”
เทคโนโลยีสีเขียวก็มีส่วนช่วยเพิ่มราคาสินค้าโลหะครั้งใหญ่ ได้แก่
- ทองแดง
- อะลูมีเนียม
- โคบอลท์
- ลิเธียม
ขณะที่ระยะกลางสัญญาณ “น้ำมัน” อยู่ในสภาวะขาลง และส่วนใหญ่จะเห็นได้จากภาวะการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มบริษัทน้ำมัน มากกว่าเกิดขึ้นในราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันเอง
ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่อง คือ ผลสะท้อนในปี 2011 หลัง Standard&Poor’s เริ่มพิจารณาคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสหรัฐฯไว้ที่ระดับ AAA หลังจากวิกฤตทางการเงินและการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคของ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯเวลานั้น
โดยปกติ การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจะสะท้อนภาวะ “ความเสี่ยงสูง” ไม่ใช่แค่เรื่องดอกเบี้ยที่ใช้ชำระ แต่ยังมีผลต่ออุปสงค์ของนักลงทุนที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระดับสูงด้วย
จากภาพประกอบด้านล่าง สิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ในช่วงปี 2011 จะเห็นได้จากเส้น 3 เส้น ที่สะท้อนถึงช่วงเม.ย. ที่ S&P มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯผ่าน CreditWatch จากนั้นช่วงเดือนก.ค. หรือ 90 วันต่อมา CreditWatch ก็สะท้อนถึงโอกาสปรับลดความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจสหรัฐฯไว้ที่ AA+ และในเดือนส.ค. ก็เห็นถึงสัญญาณ “คุกคาม” และจาก 3 สิ่งที่ล้อกันทั้งหมดเป็นผล “เชิงลบ” และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯก็ปรับตัวลดลงมา
และเมื่อความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มนักลงทุนก็มักจะเทขายตราสารหนี้ และนี่คือสภาวะความเป็นจริงว่า ตราสารหนี้เป็นตัวสะท้อนถึง “การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยง” ที่อาจจำกัดโอกาสที่จะเห็นความรุนแรงแท้จริง
นักสิเคราะห์บางราย สะท้อนว่า อาจไม่เกิดสภาวะสอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวอีกครั้ง ท่ามกลางนักลงทุนที่มีการแบ่งพอร์ตการลงทุนไว้แบบ 60% สำหรับหุ้น และ 40% สำหรับพันธบัตร ที่ทั้งคู่อาจอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายหากเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า “เงินเฟ้อเป็นผลเสีย” แต่ก็อาจให้น้ำหนักไปยังเรื่องของ “ระดับหนี้” ต่อเศรษฐกิจ และกำลังเป็นข้อถกเถียงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ไม่มาก ขึ้นกับภาวะทางการเมืองในการหาทางก้าวออกจากระดับหนี้จำนวนมหาศาล
หากราคาพันธบัตรยังพุ่งสูง ก็อาจสร้างความเสี่ยงให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นได้
การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนก็อาจสร้างความอันตรายอย่างมากได้ด้วยเช่นกัน และหากสัญญาณอันตรายลักษณะนี้กลับมาอีกครั้งก็จะเห็นนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดก้าวสู่เส้นทางการดำเนินนโยบายเหมือนในปี 2018 ได้ ซึ่งเป็นปีแรกที่เขาก้าวสู่บทบาทผู้นำของเฟด ซึ่งในปีนั้นเป็นยุคของ “ทรัมป์” โดยนายทรัมป์มีการ “ลด” ภาษี จึงส่งผลครั้งใหญ่ต่อตลาดหุ้น และทำให้ตลาดหุ้นรวมทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น
เมื่อตลาดหุ้นดูจะไม่สามารถจัดการหรือสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนแท้จริงของพันธบัตรอายุ 10 ปี พุ่งเหนือ 1% ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนต.ค. และอยู่ในสภาวะนี้นานประมาณ 3 เดือน ซึ่งในเวลาเดียวกันตลาดหุ้นก็เผชิญกับ “แรงเทขาย”
ขณะที่บรรดาผู้จัดการกองทุนบางรายที่ตอบแบบสอบถาม BofA แสดงความกังวลในตอนนี้ว่า
”เฟดดำเนินการล่าช้าเกินไป” มากกว่าที่จะดำเนินการเร็วไปด้วยซ้ำ
แม้ว่าจะมีเหตุผลประกอบจำนวนมากที่เงินเฟ้อจะเป็นการเพิ่มขึ้นชั่วคราว สำหรับถ้อยแถลงของเฟดและการประเมินว่าทำไมต้องดอกเบี้ยระดับต่ำ แต่ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดจากสภาวะเงินเฟ้อตอนนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องดีมากเช่นกัน
ที่มา: Bloomberg