ความตึงเครียดระหว่างตลาดแรงงานกับเงินเฟ้ออาจกลายเป็นปัญหาสำหรับเจ้าหน้าที่เฟดที่ต้องการให้เกิดการคุมเข้มทางการเงิน เพราะเชื่อว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการกลับมาจ้างงานได้เช่นเดียวกับช่วงก่อนไวรัสระบาด และสามารถจัดการเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้
แต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงจะเห็นได้ว่า “การควบคุมเงินเฟ้อระดับสูง” จะทำให้เฟดเลี่ยงที่จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อไม่ได้ และทั้งหมดนี้ะจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และมีการจ้างงานเพียงเล็กน้อยได้
แต่ความอ่อนแอของเงินเฟ้อมาตลอดช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ก็ดูจะทำให้เฟดเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ทั้งหมดจากการแรงกดดันเงินเฟ้อ ที่ไม่ส่งผลต่อตลาดแรงงาน โดยเฟดยังส่งสัญญาณว่าจะทำการคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน เนื่องจากการจ้างงานยังไม่ขยายตัวกลับสู่ระดับ 8.2 ล้านตำแหน่งเทียบเท่ากับช่วงก่อนการระบาดของไวรัส
เวลานี้ เฟด กำลังเผชิญกับ “บททดสอบ” ในเรื่องดังกล่าว และข้อมูลต่างๆในเวลานี้ ดูจะเสริมความคิดของเฟดได้เพียง “เล็กน้อย”
Ø ข้อมูลจ้างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ ชะลอตัว
Ø ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯขยายตัวเร็วเกินคาด
Ø ข้อมูลจ้างงานเดือนพ.ค. อาจส่งสัญญาณ “ชะลอตัวต่อ”
แม้จะเห็นการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานปรับขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์
ข้อมูลการประเมิน “การจ้างงาน” แบบ Real-Time ของ Oxford Economics สะท้อนถึงการปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือนพ.ค.
ข้อมูลการประเมินของ Homebase และ UKG ที่เป็นมาตรวัดการจ้างงานยอดนิยม สะท้อนให้เห็นว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนถึงผลสำรวจพบ “ชะลอตัว” หรือ “ไม่มีการขยายตัว” สำหรับกรอบเวลาการจ้างงานในเดือนพ.ค.
นักเศรษฐศาสตร์จาก JPMorgan ประเมินว่า จะเห็นการจ้างงานขยายตัวได้ราว 488,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยเป็นกึ่งหนึ่งจากการที่เฟดคาดหวังไว้
การปรับขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลงเมื่อไม่นานมานี้ แต่ภาวะคอขวดทีเกิดขึ้นกับ “อุปทานโลก” และการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์สำหรับสินค้าและการบริการอาจใช้เวลานานกว่าที่จะอ่อนตัวลง และคาดการณ์สัญญาณชะลอตัวของ “เงินเฟ้อ” เป็นสิ่งสำคัญที่เฟดจะนำมาพิจารณาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายใหม่ที่กำลังผลักดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของ BlackRock กล่าวว่า มีเหตุผลความเป็นไปได้มากมายที่ผสมผสานกันในเรื่องกิจกรรมการจ้างงานแย่กว่าคาด ขณะที่เงินเฟ้อสูงกว่าคาดที่จะเป็นแรงกระตุ้นแนวทางต่อไปในอีกหลายเดือนข้างหน้า
เฟดมีแนวโน้มต้องการจะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
- เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% มานานกว่า 10 ปี
- บรรดาสมาชิกเฟดกำลังต้องการเห็นเงินเฟ้อปรับขึ้น
การประชุมเฟดเดือนเม.ย. ล่าสุดที่ผ่านมา
- สมาชิกเฟด 2-3 รายกังวลปัญหาเงินเฟ้อที่อาจก่อให้เกิดความไม่สบายใจต่อระดับที่ปรับขึ้น ก่อนที่เฟดจะเผชิญกับปัญหาดังกล่าว และสามารถสกัดสิ่งที่จะเกิดขึ้น
- เฟดให้คำมั่นที่จะรอการฟื้นฟูตลาดแรงงาน ด้วยการ “คงการเข้าซื้อพันธบัตร 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน” และ “อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำใกล้ศูนย์”
นักเศรษฐศาสตร์จาก Cornerstone Macro กล่าวว่า มีโอกาสสูงเฟดจะหารือการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า แต่หากทั้งหมดนี้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นที่เฟดต้องทำ เพราะ “โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว” จะเป็นผลที่กดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัว
สมาชิกเฟดที่ได้รับสิทธิการโหวตสำหรับการประชุมปีนี้ เริ่มที่จะกดดันเฟดเกี่ยวกับ “การปรับขึ้นดอกเบี้ย” ที่อาจกระทบต่อภาคธุรกิจ, การใช้จ่ายของครอบครัวในสหรัฐฯ ท่ามกลางการระบาดที่ส่งผลให้รายได้ลดน้อยลง ขณะที่ทุกฝ่ายรอคอยการกลับมาใช้ชีวิตที่ปราศจากการบังคับใส่หน้ากากอนามัย
ทั้งหมดนี้ นำไปสู่คำถามที่ว่า “ทำไมประชาชนยังไม่ทำงาน?” และ “ปัญหาที่ยังไม่ถูกแก้ไขจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” และไม่เป็นไปตามที่เฟดหวังไว้หรือไม่?
สำหรับค่าแรงในสหรัฐฯยังอยู่ระดับต่ำ โดยเฉพาะเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินช่วยเหลือคนว่างงานในการเข้ารับสวัสดิการคนว่างงานรายสัปดาห์ 300 เหรียญ/สัปดาห์
ดังนั้น นี่จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมจำนวนคนหางานทำจึงมีเพียง 3.6 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าจำนวนคนว่างงานที่แตะระดับสูงสุดถึง 164.5 ล้านราย ในช่วงปลายปี 2019
แม้ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะปรับตัวลดลง แต่ยังมีประชาชนกว่า 16 ล้านคนยังคงมีการขอเข้ารับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ แม้ว่าตัวเลขการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานจะเเพิ่มขึ้น โดยมีการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่เกือบ 26% สูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนา
อีกนานไหมที่จะกลับสู่ภาวะปกติ?
ผู้ว่าการรัฐ 21 แห่งจากพรรครีพับลิกัน ตัดสินใจ “ยุติการจ่ายเงินช่วยเหลือคนว่างงาน” ก่อนที่แพ็คเกจจะหมดอายุลงในเดือน ก.ย. และบททดสอบที่แท้จริงกำลังจะเริ่มต้นในช่วงกลางเดือนมิ.ย.นี้ว่าจะเป็นอย่างไรสำหรับคนที่ไม่มีงานทำ
ข้อมูลการวิจัยครั้งใหม่จาก นายเจสัน เฟอร์แมน อดีตทีมบริหารของนายโอบามา ในฐานะประธานประจำที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจ และนางเมลิสสา เคียร์นีย์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐแมรีแลนด์ ก็ยังไม่แน่ใจถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีการพิจารณาจากการควบคุมอายุ, ภาคอุตสาหกรรม และการศึกษา ซึ่งพวกเขาก็ยังไม่พบว่า มีความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงไวรัสระบาด
จึงสะท้อนว่า ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานที่จูงใจแรงงานให้กลับไปทำงานหรือไม่
นอกจากนี้ การเกษียณอายุช่วงไวรัสระบาด ดูจะส่งผลให้คนตกงานมากขึ้น และสมาชิกเฟดส่วนใหญ่ก็เริ่มหารือถึงความเป็นไปได้ว่าอาจยังไม่เห็นถึงการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน
นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯยังอยู่ห่างไกลจากภาวะการจ้างงานอย่างเต็มที่ และจะยังไม่เห็นการจ้างงานบรรลุผลกลับสู่ช่วงก่อนการระบาดของไวรัสของไวรัสโคโรนา
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่นำเรื่องจ้างงานเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน และหลายๆครั้งจะเห็นได้ว่าเขาให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มตำแหน่งงาน และการประเมินถึงความเสี่ยงสำหรับกลุ่มครอบครัว
นอกจากนี้ ตราบเท่าที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ภายใต้การควบคุม เฟดก็จะรอเวลาที่เหมาะสมก่อนตัดสินใจใดๆ ในเรื่องการใช้นโยบายคุมเข้ม
อย่างไรก็ดี แม้จะเห็นสมาชิกเฟดเริ่มมีสัญญาณที่จะหารือถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในรายงานประชุมเฟดล่าสุด แต่หลากหลายมุมมองของสมาชิกเฟดก็ยังต้องใช้เวลาจนกว่าจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงและมีความคืบหน้ามากขึ้นเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ที่มา: Reuters