ทองแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง - ดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯอ่อนตัวลง
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 4 เดือน เนื่องจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวลง ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะยังคงผ่อนคลายนโยบายไว้ตามเดิม
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.8% ที่ระดับ 1,896.74 เหรียญ หลังจากขึ้นไปแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. ที่บริเวณ 1,898.40 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +0.7% ที่ 1,889 เหรียญ
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,046.12 ตัน
· ดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำ
· ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯประจำเดือนพ.ค.ลดลงเหลือ 117.2 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและการชะลอตัวของตลาดแรงงาน
· หัวหน้ากลยุทธ์ประจำ Blue Line Futures กล่าวว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอ สร้างภาวะ Kee-Jerk ในตลาด ขณะที่สมาชิกเฟดบางราย มองว่า อาจต้องใช้มาตรการผ่อนคลายเป็นเวลานานต่อไป
· โดยสมาชิกเฟดมีการแสดงการลดความกังวลเงินเฟ้อและยังย้ำถึงการคงนโยบายผ่อนคลายต่อไปในปัจจุบัน
· นักวิเคราะห์ของ ED&F Man Capital กล่าวว่า ตลาดมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงมากกว่าที่เฟดคาดหวังไว้ จึงนำไปสู่การฟ้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ อย่างเช่น ทองคำ
พร้อมทั้งคาดว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวสูงถึง 2,000 เหรียญในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
· ตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่:
-วันพฤหัสบดี ตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯประจำไตรมาส 1/2021 (ประมาณการครั้งที่ 2)
-วันศุกร์ ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)
· ข้อมูลเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯออกมาน่าผิดหวัง หนุนทองเข้าใกล้ 1,900 เหรียญ
ราคาทองคำปรบขึ้นในแดนบวกอีกครั้ง หลัง Conference Board เผยข้อมูลดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคพ.ค. แย่กว่าคาดและแย่กว่าเดือนที่แล้วแตะ 117.2 จุด
อย่างไรก็ดี ในรายงานสะท้อนถึง
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบันเป็นบวก
(จากข้อมูล Present Situation Index เพิ่มขึ้นแตะ 144.3 จุด เพิ่มจาก 131.9 จุดในเดือนเม.ย.)
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจในอนาคตไม่คิดว่าจะอยู่ในเชิงบวก
(จากข้อมูล Expectations Index ที่ร่วงแตะ 99.1 จุดในเดือนพ.ค. ลดลงจาก 107.9 จุดในเดือนก่อนหน้า)
บรรดานักเศรษฐศาสตร์จาก CIBC ราย กล่าวว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อาจกำลังสร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นกลุ่มผู้บริโภคได้
· ราคาแพลตินัม +1.7% ที่ระดับ 2,774.22 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม +1.8% ที่ระดับ 1,195.54 เหรียญ
· ราคาซิลเวอร์ +0.5% ที่ระดับ 27.93 เหรียญ
· ทำเนียบขาวเผย “ไบเดน-ปูติน” จะพบกัน 16 มิ.ย. นี้ ณ กรุงเจนีวา
ทำเนียบขาวเผย นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะพบกับ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ในวันที่ 16 มิ.ย. นี้ ณ กรุงเจนีวา เพื่อหารือถึงประเด็นสำคัญอย่างเต็มรูปแบบ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- การประเมินการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของสองประเทศ
- ความมีเสถียรภาพด้านความสัมพันธ์ของ “สหรัฐฯ - รัสเซีย”
ทั้งนี้ ทางรัสเซีย “ยืนยัน” การจะเข้าพบกับผู้นำสหรัฐฯในการประชุมรอบนี้
· “แอนโธนี บลินเคนส์” รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศ สหรัฐฯจะให้การสนับสนุนการก่อสร้างใหม่ในเขตฉนวนกาซา ท่ามกลางความพยายามในการนุติ “สงคราม” ของกองกำลังฮามาส-ทัพอิสราเอล
· “แมรี ดาลีย์” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง แต่ “ยังเร็วเกินไป” ที่จะหารือนโยบายคุมเข้มทางการเงิน เนื่องจากยังไม่เห็นความคืบหน้าของเป้าหมายที่กำหนด
ขณะที่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียงการเปลี่ยนผ่าน และการปรับขึ้นยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
· เศรษฐกิจเยอรมีหดตัวแรงจากมาตรการจำกัด Covid-19 กระทบจีดีพีไตรมาสปีนี้ แรกหดตัว -1.8% เมื่อเทียบรายไตรมาส แต่เทียบรายปี หดตัวเพิ่มขึ้นแตะ -3.1%
· เทรดเดอร์ Bitcoin ชาวจีนยัง “ทรงอิทธิพล” ในตลาดซื้อขาย แม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีการประกาศปราบปราม Crypto ช่วง 4 ปี (ตั้งแต่ปี 2017)
· บรรดาเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ระบุว่า จีนไม่ได้ดำเนินการด้วย “ความโปร่งใสอย่างเต็มที่” ในการตรวจสอบแหล่งกำเนิด Covid-19
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:
ทั่วโลกมียอดติดเชื้อสะสมรายวันเพิ่มขึ้น 442,798 ราย รวมสะสม 167.97 ล้านราย
ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกรวมอยู่ที่ 3.48 ล้านราย
-ไทยขยับอันดับโลกที่มียอดรวมสะสมมากที่สุดลำดับที่ 85 พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 3,226 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 26 ราย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ภาวะตลาดเงินบาท: เมื่อวานนี้ปิด 31.36 อ่อนค่าจากช่วงเช้าสวนทางภูมิภาค กังวลโควิด-เงินไหลออก
นักบริหารการเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวานนี้อยู่ที่ 31.36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 31.32 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวสวนทางกับภูมิภาค จากปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 และทิศทางการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.29 - 31.36 บาท/ ดอลลาร์
"บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดของวัน เคลื่อนไหวสวนทางกับภูมิภาคที่มีทิศทางแข็งค่า น่าจะมาจากเรื่องโควิด-19 และ flow ไหล ออกจากต่างชาติขายพันธบัตรและหุ้น"
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพฤหัส (27 พ.ค.)ที่ 31.30 - 31.45 บาท/ดอลลาร์
- รมว.คลัง กล่าวถึงการออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก 5 แสนล้านบาท ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 64 และปี 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.5% จากกรณีฐานที่ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประมาณการไว้ในช่วง 1.5-2.5%
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) คาดว่า จะสามารถกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ก้อนแรกภายในสิ้นปี 2564 ที่จำนวน 1 แสนล้านบาท โดยประเมินว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 64-65 ให้ขยายตัวเฉลี่ยได้ไม่ต่ำกว่า0.75% หรือช่วง 2 ปี ที่ 1.5% ส่งผลให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือน ก.ย.2564 เมื่อรวมเงินกู้เดิม 1 ล้านล้านบาท ยอดหนี้จะอยู่ที่ 58.56% ต่อ GDP ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบวินัยทางการคลังที่กำหนดไว้ที่ 60% ต่อ GDP
- กระทรวงพาณิชย์ เผยการส่งออกของไทยในเดือนเม.ย.64 ขยายตัวได้ 13.09% ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือน หรือ 3 ปี นับตั้งแต่เม.ย.61 แต่หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธ์ปัจจัย การส่งออกไทยเดือนเม.ย.64จะขยายตัวสูงถึง 25.70% ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกไทย เป็นไปตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตและการส่งออกโลก