ทองขึ้นเหนือ 1,900 เหรียญ - ดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่ความกังวลเงินเฟ้อยังคงมีอยู่
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่บริเวณ 1,900 เหรียญ โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ และความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่สมาชิกเฟดยืนยันที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป
· ราคาทองคำตลาดโลก +0.3% ที่ระดับ 1,904.50 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา
· สัญญาทองคำปรับตัวสูงขึ้น 0.4% ที่ระดับ 1,905.40 เหรียญ
· หุ้นส่วนผู้จัดการประจำ SPI Asset Management กล่าวว่า ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กำลังเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำ
· แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูง แต่เฟดยังคงดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย โดยเฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจะทำให้ ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและช่วยหนุนราคาทองคำได้ค่อนข้างดี
· ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดใน 4 เดือนครึ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่
· นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด กล่าวว่า เฟดสามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยไม่กระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
· ขณะที่เหล่านักลงทุนรอข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะมีการประกาศในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงจีดีพี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานและการใช้จ่ายของผู้บริโภค
· ขณะเดียวกันวุฒิสภาพรรครีพับลิกันของสหรัฐฯวางแผนที่จะเปิดเผยข้อเสนอต่อต้านข้อเสนอโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.7 ล้านล้านเหรียญของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบสหรัฐฯในวันพรุ่งนี้
· ราคาพลาเดียม +1.1% ที่ระดับ 2,801.20 เหรียญ
· ราคาซิลเวอร์ +0.4% ที่ระดับ 28.09 เหรียญ
· ราคาแพลตินัม +1% ที่ระดับ 1,203.99 เหรียญ
· ดอลลาร์เคลื่อนไหวตัวต่ำสุดในรอบหลายเดือน หลังเฟดเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงิน
ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงใกล้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนม.ค.เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่อ่อนตัวลง ท่ามกลางการยืนยันของเฟดว่าจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป แม้จะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็ตาม
ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวแถวระดับ 1.2250 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่พุ่งสูงถึง 1.2266 ดอลลาร์/ยูโร เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. เนื่องจากการฟื้นตัวของการระบาดของไวรัสโคโรนาในยุโรปที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง ที่ 89.663 จุด ในช่วงต้นตลาดเอเชีย หลังจากที่ร่วงลงต่ำสุดที่บริเวณ 89.533 จุด ในวันอังคารที่ผ่านมา
· ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ตามที่คาด พร้อมกับคงเม็ดเงินในโครงการซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่ (LSAP) ไว้ที่ระดับ 1 แสนล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (7.218 หมื่นล้านเหรียญ) และคงโครงการจัดหาเงินทุนเพื่อการปล่อยกู้ (FLP) แต่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วที่สุดในเดือนก.ย.ปีหน้า
· ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปกล่าวว่า ระบบพื้นฐานของใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา แบบดิจิทัลที่อนุญาตให้ประชาชนเดินทางรอบอียูโดยเสรีจะพร้อมใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป
· นักการทูตชั้นนำของสหรัฐฯในไต้หวัน ส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯไม่รีบร้อนที่จะส่งวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา ไปยังไต้หวัน โดยสังเกตว่าจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าการเจรจายังคงดำเนินต่อไปในประเด็นนี้
· ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายวันของมาเลเซียกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแซงหน้าอินเดีย
ทั้งนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดย Our World in Data แสดงให้เห็นว่า ยอดการติดเชื้อรายวันของมาเลเซียต่อประชากร 1 ล้านคนในช่วง 7 วันต่อเนื่องเกินกว่าอินเดียนับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา
· ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นตลาด หลังจากความเป็นไปได้ที่ว่าอิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมันอีกครั้ง จึงชดเชยความหวังจากความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งขึ้น หลังจากการคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์โดยสถาบันปิโตรเลียมอเมริกันปรับลดลง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 5 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.1% ที่ระดับ 68.70 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2 เซนต์ หรือคิดเป็น 66.05 เหรียญ/บาร์เรล
· หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น - ดอลลาร์อ่อน จากถ้อยแถลงสมาชิกเฟดบรรเทาความกังวลด้านเงินเฟ้อ
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในปีนี้ หลังจากสมาชิกเฟดยืนยันจุดยืนทางการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ส่งผลให้เหล่านักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ
ดัชนี AXJO ออสเตรเลีย +0.27%
ดัชนี CSI300 จีน +0.13% หลังจากที่ภาพรายวันเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 11 เดือน จากการคลายความกังวลเงินเฟ้อและการแข็งค่าของค่าเงินหยวน
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยถูกกดดันจากความไม่แน่นอนของเงินเฟ้อทั่วโลกและยอดการติดเชื้อในประเทศทำให้นักลงทุนไม่สามารถทดสอบแนวต้านที่สำคัญในช่วงขาขึ้นได้
ดัชนี Nikkei ปิด +0.31% ที่บริเวณ 28,642.19 จุด ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยทดสอบแนวต้านหลายครั้ง ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 25 วันที่ระดับ 28,717 จุด และเส้นค่าเฉลี่ยราย 100 วัน ที่ระดับ 28,933 จุด
ด้านดัชนี Topix ปิด +0.06% ที่ระดับ 1,920.67 จุด
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.28% ใกล้ระดับสูงสุดมากกว่า 2 สัปดาห์
ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ถ้อยแถลงของสมาชิกเฟดช่วยคลาย
ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อของเหล่านักลงทุน โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.4% ด้านหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนเพิ่มขึ้น 1.2% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ดััชนีฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนี Dow Jones Industrial +53 จุด หรือคิดเป็น 0.15%
ดัชนี S&P 500 +0.19%
ดัชนี Nasdaq-100 futures 0.26%
· Marks & Spencer รายงานผลกำไรทั้งปีที่ตกต่ำลง 88% ซึ่งสะท้อนถึงยอดขายเสื้อผ้าที่ลดลงเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และกล่าวว่าไม่น่าจะจ่ายเงินปันผลสำหรับปีปัจจุบันได้
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศบค.พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 2,455 ราย เสียชีวิต 41 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,455 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 1,976 ราย และจากเรือนจำ 479 ราย มีผู้เสียชีวิต 41 ราย และรักษาหายกลับบ้านแล้ว 2,571ราย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศระลอกใหม่อยู่ที่ 109,031 ราย หายป่วยสะสม 64,339 ราย
- โฆษก สธ.เผยแอสตร้าเซนเนก้า ยืนยันส่งมอบวัคซีนโควิดทันฉีดภายในมิ.ย.64
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงข้อกังวลเรื่องบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า อาจส่งมอบวัคซีนไม่ทันเดือนมิถุนายน ว่า บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ไม่ได้กำหนดส่งในวันที่ 1 มิ.ย.64 แต่จะเริ่มจัดส่งภายในเดือนมิถุนายน และทางบริษัทก็รับทราบกำหนดการที่รัฐบาลวางแผนฉีดวัคซีนแบบปูพรมอยู่แล้ว ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามสัญญา ส่วนการบริหารจัดการ ทางภาครัฐได้มีแผนสำรองสำหรับทุกสถานการณ์ และจะทำอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ไทยพ้นจากมหาวิกฤติครังนี้โดยเร็วที่สุด