· ราคาทองคำปรับตัวลดลง เนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่กดดันความต้องการทองคำ ขณะที่เหล่านักลงทุนกำลังรอคอยข้อมูลการบริโภคส่วนบุคคลของสหรัฐฯในคืนนี้เพื่อวัดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
· ราคาทองคำตลาดโลก -0.4% ที่ระดับ 1,887.90 เหรียญ หลังจากที่สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 4 สัปดาห์
· ขณะที่สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. -0.3% ที่ระดับ 1,892.30 เหรียญ
· ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น 0.1% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 1.617%
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดประจำ ED&F Man Capital Markets กล่าวว่า ราคาทองคำแกว่งตัวได้เล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจาก
· ปัจจัยทางเทคนิค จากสัญญาณ Overbought ที่เกิดขึ้นอย่างมาก
· ปัจจัยพื้นฐาน คือ การแข็งค่าของดอลลาร์เมื่อคืนนี้
· โดยราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะสะสมพลังบริเวณ 1,900 เหรียญต่อไปอีกสักระยะ แต่หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น อาจเห็นราคาทองคำเริ่มปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกครั้ง
· ขณะที่รายงานจาก New York Times รายงาน ไบเดนผลักดันงบประมาณค่าใช้จ่ายปี 2022 มากถึง 6 ล้านล้านเหรียญ และอาจเพิ่มเป็น 8.2 ล้านล้านเหรียญในปี 2031
· ผู้จัดการสินค้าโภคภัณฑ์อาวุโส กล่าวว่า หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาด บรรดาสมาชิกเฟดอาจจะยังคงมีท่าทีเชิง dovish เนื่องจากบรรดาสมาชิกเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป จึงอาจจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
· นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของ Reuters ระบุว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,911 เหรียญ
· ราคาซิลเวอร์ -0.9% ที่ระดับ 27.60 เหรียญ
· ราคาแพลตินัม -0.5% ที่ระดับ 1,174.17 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม +0.3% ที่ระดับ 2,813.78 จุด โดยราคาได้แรงหนุนจาก Nornickel ของรัสเซีย คาดการณ์ว่าจะขาดดุลมากขึ้นในปี 2021
· สมาชิกอีซีบีย้ำ ยุโรปผ่านจุดแย่ที่สุดไปแล้ว จึงอาจเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้จากปัจจัยพื้นฐานที่ฟื้นตัว แต่ภาพรวมอีซีบียังจำเป็นต้องใช้นโยบายสนับสนุนต่อไป
ดังนั้น แม้จะเผชิญกับโอกาสการขึ้นดอกเบี้ย แต่อีซีบี จำเป็นต้องตัดสินใจขยายมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรผ่านโครงการฉุกเฉินต่อไปจนถึง 10 มิ.ย.นี้ ท่ามกลางสมาชิกส่วนใหญ่ที่เรียกร้องการคงนโยบายต่อไป
· Goldman ระบุว่า อีกไม่นานเกินรอที่จีนจะกลายเป็น "ศูนย์กลาง" ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
Goldman Sachs ชี้ว่า อีกไม่นานเกินไปที่จะเห็นจีนกลายเป็นศูนย์กลางของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีเหตุผลหลักจาก การฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดที่สะท้อนว่า จีนกำลังมีกลุ่มผู้ซื้อชาติตะวันตกเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างหนาแน่น
ภาวะขาขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่วาจะมาจากกลุ่มนักลงทุนในจีน หรืออุปสงค์ในจีนที่เพิ่มขึ้น ก็ดูจะเป็นตัวชี้นำตลาดที่ฟื้นตัวมากขึ้น และจะเริ่มเห็นผลสะท้อนเหล่านี้ได้จากราคา "ทองแดง" ที่เพิ่มขึ้น เพราะได้รับอานิสงส์จากข้อมูลการผลิตของฝั่งตะวันตกนั่นเอง
· ญี่ปุ่นจะขยายภาวะฉุกเฉินในโตเกียวและพื้นที่อื่น ๆ ออกไปประมาณ 3 สัปดาห์จนถึงวันที่ 20 มิ.ย.เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ไม่แสดงสัญญาณว่าจะชะลอตัวลงน้อยกว่าสองเดือน ก่อนที่มหกรรมกีฬาโตเกียวโอลิมปิกจะเริ่มเปิดฉากขึ้นในอีกเพียงเดือนกว่าๆ
· ทางญี่ปุ่นกล่าวว่า จะพิจารณาแบ่งปันวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนากับประเทศอื่น ๆ คณะกรรมการพรรครัฐบาลได้เรียกร้องให้จัดหาวัคซีนของ AstraZeneca Plc (AZN.L) บางส่วนไปยังไต้หวัน
โดยทางไต้หวันกำลังต่อสู้กับการระบาดของไวรัสดังกล่าวในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 1% ของประชากร ขณะที่ญี่ปุ่นได้รับวัคซีนมากกว่า 400 ล้านโดส ซึ่งมากกว่าความจำเป็นสำหรับประชากรวัยผู้ใหญ่ถึงสองเท่า
· สิงคโปร์วางแผนที่จะฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน และตามด้วยกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยผลักดันแผนการฉีดวัคซีนในประเทศให้มีความคืบหน้ามากขึ้น
· ภูมิภาคเอเชียใต้ พบยอดติดเชื้อ Covid-19 สะสมทะลุ 19 ล้านราย นำโดยอินเดียที่เผชิญกับ Second Wave และการขาดแคลนวัคซีน
อย่างไรก็ดี ประเทศแถบเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ภูฏาน, เนปาล, มัลดีฟ และศรีลังกา มีสัดส่วนยอดติดเชื้อโดยรวม 18% ของทั่วโลก และเกือบ 10% ของยอดเสียชีวิตทั่วโลก