หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สาม ท่ามกลางความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯเดือนพ.ค. และทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ภาพรวมดัชนี MSCI ไม่รวมญี่ปุ่น ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% โดยปรับเพิ่มขึ้น 2.2% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนีของญี่ปุ่น Nikkei ปรับลดลง 1.1%
ดัชนีออสเตรเลียทำระดับสูงสุดครั้งใหม่ในช่วงระหว่างวัน
ดัชนีจีนส่วนใหญ่ ปรับลดลง เนื่องจาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเดือนพ.ค.ปรับลดลง แต่ภาพรวมรายเดือนปิดดีที่สุดในรอบเกือบ 6 เดือน
ดัชนี CSI300 ปรับลดลง 0.5% ที่ระดับ 5,296.53 จุดในช่วงเช้า
ดัชนี Shanghai Composite ปรับลดลง 0.2% ที่ระดับ 3,593.61 จุด
ดัชนีของเซิ่นเจิ้น ChiNext ปรับเพิ่มขึ้น 1.6%
ขณะที่ดัชนีกลุ่มเทคโนโลยีของเซี่ยงไฮ้ STAR50 ปรับเพิ่มขึ้น 3.1%.
ทั้งนี้ ตลาดสหรัฐฯและตลาดอังกฤษปิดในวันนี้เนื่องจากวันหยุดยาว แต่สัญญาอนุพันธ์ยังคงซื้อขายได้ในตลาดเอเชีย โดย
ดัชนี Nasdaq และดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 0.1%
สัญญาอนุพันธ์ EUROSTOXX 50 ปรับลดลง 0.2%
ทั้งนี้ ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ จะออกในวันศุกร์นี้ โดยคาดการณ์ปรับเพิ่มขึ้น 650,000 ตำแหน่ง โดยปรับเพิ่มขึ้นจากระดับที่แย่ที่สุดในเดือนเม.ย.ที่ 266,000 ตำแหน่ง
นับเป็นการจ้างงานครั้งที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ลดลงจากคาดการณ์ที่ 750,000 ตำแหน่ง
หุ้นญี่ปุ่น ปิดปรับลดลง เนื่องจากหุ้นกลุ่มผู้ผลิตยาปรับลดลง
· หุ้นญี่ปุ่นปิดระดับต่ำสุดในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนปิดทำกำไร หลังจากที่มีการปรับขึ้นไม่นานนี้ แม้ว่าการปรับลงของหุ้นจะถูกจำกัดโดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มผู้ผลิตยา
หุ้นญี่ปุ่นปิดลดลง 0.99% ที่ระดับ 28,860.08 จุด
ขณะที่ดัชนี Topix ปรับลดลง 1.26% ที่ระดับ 1,922.98 จุด
หุ้น Nikkei ปรับเพิ่มขึ้น 2.1% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยปิดสูงสุดที่ระดับ 29,000 จุด นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนเม.ย. ขณะที่หุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก
· หุ้นอินเดียปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาปรับลดลง หนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนก่อนการประกาศข้อมูลจีดีพีไตรมาสแรก
ดัชนี NSE Nifty 50 ปรับเพิ่มขึ้น 0.44% ที่ระดับ 15,503.70 จุด
ดัชนี S&P BSE Sensex ปรับเพิ่มขึ้น 0.55% ที่ระดับ 51,1702.53 จุด
ภาพรวมดัชนีทั้งคู่ปรับเพิ่มขึ้น 2% รายสัปดาห์
โดยหุ้น Nifty 50 ปิดระดับสูงสุดในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบางเนื่องในวันหยุดของตลาดหลักส่วนใหญ่ แต่มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่รวดเร็วทำให้ดัชนีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่สี่
ดัชนี Stoxx600 ปรับตัวลง 0.1%
หุ้น Frankfurt -0.2%
หุ้น Paris -0.1%
สำหรับวันนี้ตลาดสหรัฐฯและตลาดอังกฤษปิดทำการเนื่องในวันหยุด ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง
Stoxx 600 เพิ่มขึ้น 2.6% เนื่องจากเศรษฐกิจค่อยๆกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง หลังจากการปิดตัวเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่รัฐบาลและธนาคารกลางย้ำในการสนับสนุนเพื่อช่วยในการฟื้นตัว
ทั้งนี้ หุ้นของ Deutsche Bank ลดลง 1.7% หลังจากรายงานกล่าวว่า เฟด ระบุว่า Danske Bank ล้มเหลวในการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในการควบคุมการต่อต้านด้านการฟอกเงิน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ตลาดหุ้นไทยปิดเช้าบวก 7.95 จุด ดีกว่าตลาดภูมิภาครับแรงซื้อหุ้นรายตัวตามปัจจัยเฉพาะ
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยทำระดับสูงสุด 1,591.99 จุด และระดับต่ำสุด 1,578.09 จุด
- เริ่มแล้ววันนี้ถลกงบ'65 'บิ๊กตู่'ลั่นพร้อมแจงสภา 'พท.'ย้ำคว่ำตั้งแต่วาระแรก เผย'สธ.'ขอ 1.2หมื่นล้าน จัดซื้อวัคซีนสู้โควิด 70 ล้านโดส แต่เจอตัดเหี้ยน
- รัฐ-ธปท.-สมาคมธนาคาร ผสานความร่วมมือเร่งช่วย SMES เข้าถึงสภาพคล่องและโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่
- "สรรพากร" ขยายเวลามาตรการภาษีสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 และมาตรการภาษีเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติ ยาวถึงวันที่ 31 ธ.ค.2565 หวังช่วยหนุนลงทุน กระตุ้นการจ้างงาน และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศหลังโควิด-19 คลี่คลาย
- เพื่อไทย จัดเสวนาชำแหละงบประมาณปี 65 ผิดทิศผิดทาง ผิดที่ผิดเวลา
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในงานเสวนา "งบ 65 ผิดทิศผิดทาง ผิดที่ผิดเวลา" ว่า การตั้งงบประมาณปี 65 และพ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาทจะทำให้มีปัญหา 5 ข้อด้วยกันคือ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
ด่วน! กทม.เห็นชอบผ่อนคลายเปิดสถานประกอบการ 5 ประเภท เริ่ม 1 มิ.ย.นี้
ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ผ่อนปรนเปิดสถานประกอบการบางประเภทเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ ภายใต้มาตรการของรัฐที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยสถานประกอบการที่ได้รับการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการให้เปิดได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไปมีดังนี้
1. พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
2.สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
3. สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก
4. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม)
5. สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนดอกไม้