ทองคำปรับลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและหุ้นทั่วโลกปรับขึ้น
· ราคาทองคำปรับลดลงจากที่ทำสูงสุดในรอบ 5 เดือนในช่วงก่อนหน้า ท่ามกลางการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ กระตุ้นให้เกิดความต้องการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง
· ราคาทองคำตลาดโลก ปรับลดลง 0.1% ที่ระดับ 1,898.58 เหรียญ หลังจากที่แตะระดับสูงสุดแถวบริเวณ 1,916.40 เหรียญ นับตั้งแต่ 8 ม.ค. ในเมื่อวานนี้
· สัญญาซื้อขายทองคำ ปรับลดลง 0.2% ที่ระดับ 1,901.90 เหรียญ
· ข้อมูลการผลิตของสหรัฐฯของเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ที่ปรับขึ้นจากการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ หนุนคำสั่งซื้อเพิ่มเดือนพ.ค. แต่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบด้านการผลิตยังเป็น “อุปสรรค”
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ทำสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เมื่อคืนนี้
· ความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากนักลงทุนถูกกดดันจากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณต่อการกลับมารีบาวน์และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น
· ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งขึ้นเหนือเป้าหมายในเดือนพ.ค. สร้างความท้าทายให้แก่อีซีบีที่จะต้องรับมือกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นในขณะนี้ และอาจต้องเผชิญกับความไม่พึงพอใจของผู้บริโภค
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของบาวาเรีย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นกดดันให้การฝากออมเงินลดลง และอีซีบีควรที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0%
· ทั้งนี้ ตลาดยังคงจับตารอตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การจ้างงานนนอกภาคการเกษตร ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ เพื่อบ่งชี้ถึงความชัดเจนของฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการดำเนินการตามนโยบายของเฟดในระยะสั้น
· พลาเดียม ปรับลง 0.1% ที่ระดับ 2,856.82 เหรียญ
· ซิลเวอร์ ปรับลดลง 0.1% โดยทำระดับต่ำสุดที่ระดับ 27.88 เหรียญ
· แพลตตินั่ม ทรงตัวที่ระดับ 1,191.51 เหรียญ
· นายเซจิ อาดาชิ หนึ่งในกรรมการบริหารของบีโอเจ กล่าวว่า เศรษฐกิจในช่วงหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะทำให้บริษัทต่างๆของญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งจะช่วยให้ทางบีโอเจสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ได้
· สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยว่า จีดีพีออสเตรเลียในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวได้ 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งเติบโตกว่าที่เหล่านักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.5% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.2% ในไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการนำเงินออกมาใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค และภาคเอกชนมีการลงทุนมากยิ่งขึ้น
· รัฐวิกตอเรียของออสเตรเลียขยายเวลา Lockdown เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในกรุงเมลเบิร์นเป็นสัปดาห์ที่ 2
· อินเดียมีแนวโน้มจะเห็นเศรษฐกิจโตขึ้นเท่าตัวในไตรมาสนี้ หลังจากที่ Q4/20 โตได้ 1.% เมื่อเทียบปีก่อน แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เตือนอาจไม่ใช่ผลสะท้อนถึงการเติบโตของภาพใหญ่ แต่เป็นเพียง "ชั่วคราว" เท่านั้น โดยภาพรวมปีนี้คาดจีดีพีจะหดตัวมากถึง -7.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 4%
· กระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอล กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยงระหว่างการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา ของบริษัท Pfizer กับการเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ