ทองลง - ดอลลาร์แข็งค่า ตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
· ราคาทองคำปรับร่วงลงเกือบ 1% เนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่เหล่านักลงทุนกำลังให้ความสนใจไปยังข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะประกาศในช่วงสัปดาห์นี้ เพื่อหาความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินโยบายทางการเงินของเฟด
· ราคาทองคำตลาดโลก -0.8% ที่ระดับ 1,892.71 เหรียญ หลังราคาปรับขึ้นไปแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.ที่บริเวณ 1,916.40 เหรียญ
· สัญญาทองคำ -0.6% ที่ระดับ 1,898.30 เหรียญ
· สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ ได้แก่
- ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในวันนี้
- ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันพรุ่งนี้
· บรรดาสมาชิกเฟด กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน การจ้างงาน และราคาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ
· พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงอยู่ไปอีกระยะหนึ่ง
· กองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง 0.4% สู่ระดับ 1,041.75 ตัน
· นักวิเคราะห์จาก ANZ Research กล่าวว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นน่าจะช่วยให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ โดยน่าจะแตะระดับ 2,000 เหรียญในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวจะจบลงอย่างทันที หากเฟดเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน
· นักวิเคราะห์ FXStreet กล่าวว่า ทองหลุด 1,900 เหรียญ ทำต่ำสุดใหม่รายสัปดาห์ - ดอลลาร์แข็งค่า
ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันก่อนหน้า ก่อนเผชิญแรงเทขาย ในช่วงระหว่างวันซึ่งถูกกดดันจากปัจจัยต่างๆ และส่งผลให้ราคาลงไปทำระดับต่ำสุดใหม่รายสัปดาห์ที่บริเวณ 1,892 เหรียญ ในตลาดยุโรป
นักลงทุนเริ่มวิตกกังวลว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ อาจบังคับให้เฟดเริ่มลดแผนโครงการซื้อพันธบัตรได้เร็วกว่าที่คาดได้หรือไม่
ในทางกลับกันสิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดการทำ short-covering ในค่าเงินดอลลาร์และสร้างแรงกดดันต่อสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงทองคำ
แต่ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนเล็กน้อยจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กดดันราคาทองคำ
ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่กำลังรอคอยข้อมูลภาคแรงงานของสหรัฐฯ ได้แก่ การจ้างงานของภาคเอกชน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และดัชนี PMI ภาคการบริการจากสถาบัน ISM ควบคู่ไปกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์
· ราคาซิลเวอร์ -1.5% ที่ระดับ 27.78 เหรียญ
· ราคาพลาเดียม -0.3% ที่ระดับ 2,849.23 เหรียญ
· ราคาแพลตินัม -0.8% ที่ระดับ 1,180.67
· ดอลลาร์ทรงตัวกับบททดสอบที่รอดูข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ
ดอลลาร์ทรงตัวหรือแนวรับสำคัญท่ามกลางเทรดเดอร์รอข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมากำหนดแนวทางประชุมเฟดปลายเดือนนี้
นักลงทุนกำลังจับตาการอ่อนค่าของดอลลาร์จากทั่วโลกที่ฟื้นตัวจาก Covid-19 แต่ตลาดก็กังวลข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯรีบาวน์ได้หรือไม่ที่เป็นตัวชี้วัดการประเมินทิศทางดอกเบี้ยว่าจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำนานเท่าใด
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัว 89.946 จุด หลังเดือนเม.ย. ปรับอ่อนค่า 2% และพ.ค. อ่อนค่าต่อ 1.6%
ยูโรแข็งค่าเล็กน้อย 1.2201 ดอลลาร์/ยูโร
เยนแข็งค่า 0.1% ที่ 109.68 เยน/ดอลลาร์
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนไปยังการประกาศข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯในวันพรุ่งนี้
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.5926%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 30 ปี ลดลงที่ระดับ 2.2774%
· หน่วยกำกับดูแลของอังกฤษ ยัน ไม่มีการประชุมเกี่ยวกับกฎการฟอกเงิน Cryptocurrency
· จีนพยายามเร่งปรับหยวนอ่อนค่าหลังแข็งค่ามากสุดรอบ 3 ปี เมื่อเทียบดอลลาร์
ขณะที่การแข็งค่าของเงินหยวนกระทบต่อราคาสินค้าและการเข้าซื้อต่างประเทศ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันด้านการส่งออกจีน ที่เป็นหัวใจหลักต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
· กิจกรรมภาคธุรกิจของยูโรโซนประจำเดือนพ.ค.เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา ส่งผลให้อุตสาหกรรมภาคการบริการกลับมาสดใสขึ้นอีกครั้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลภาคโรงงานเป็นเดือนที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่การเร่งโครงการฉีดวัคซีนทั่วทั้งภูมิภาคและจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับรายงานในแต่ละวันที่ลดลง ทำให้รัฐบาลสามารถยกเลิกมาตรการบางอย่างที่บังคับใช้เพื่อพยายามยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส
ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ IHS Markit ซึ่งถือเป็นมาตรภาวะเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นเป็น 57.1 จากเดิมที่ระดับ 53.8 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. ปี 2018 ที่ผ่านมา
· IMF ปรับประมาณการการเติบโตของอิตาลีในปี 2021 ที่ระดับ 4.3% และปี 2022 ที่ระดับ 4% จากการคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ 4.2% และ 3.6% ซึ่งใกล้เคียงกับที่รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะเติบโต 4.5% ในปีนี้และ 4.8% ในปีหน้า ขณะที่เพิ่มประมาณการสำหรับการขาดดุลงบประมาณของประเทศ โดยปรับคาดการณ์สำหรับปี 2022 มาอยู่ที่ 11.8% จากเดิมที่ 8.8% ในเดือนเม.ย.
· ข้อมูลภาคบริการของรัสเซียเดือนพ.ค. แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 9 เดือน จากการเติบโตของธุรกิจใหม่เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ Markit เพิ่มขึ้นที่ระดับ 57.5 หลังจากเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 55.2
· พรรคฝ่ายค้านอิสราเอลประกาศจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่อย่างเป็นทางการ ขณะที่นายเบนจามิน เนทันยาฮู ประธานาธิบดีอิสราเอลบรรลุข้อตกลงกับพรรคร่วมรัฐบาลในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
· จีนเข้มงวดด้านการนำเข้ากับออสเตรเลีย ขณะที่ออสเตรเลียไม่หวั่น เนื่องจากมีการหาตลาดใหม่ๆมารองรับการขายสินค้า
ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลังออสเตรเลียให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ทั่วโลกดำเนินการกับจีนที่เป็นต้นตอการระบาดของ Covid-19
· กระทรวงการคลังฮ่องกง เผยเศรษฐกิจฮ่องกงยังฟื้นไม่เต็มที่ แม้จะเห็นการรีบาวน์ 7.9% ไตรมาสแรกในปี 2021 เมื่อเทียบปีก่อน นับเป็นครั้งแรกที่ขยายตัวได้ หลังหดตัวต่อเนื่อง 6 ไตรมาส
· WHO เปลี่ยนชื่อการกลายพันธุ์ของ Covid-19 เป็น Delta Covid กับสายพันธุ์แรกที่ถูกพบในอินเดีย ที่ส่งผลให้เกิดการระบาดไปแล้ว 62 ประเทศทั่วโลก และทำให้แถบเอเชียและแอฟริกาพบการระบาดสูงขึ้น แม้จะเห็นการระบาดทั่วโลกจะลดลง 15% Delta Covid จะมาแทนชื่อเรียกสายพันธุ์อินเดีย B.1.617.2 เพื่อเป็นการจัดระบบการเรียกสายพันธุ์ใหม่ หลังกรีกส่งหนังสือให้ WHO เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการประนาณประเทศต่างๆที่พบสายพันธุ์ใหม่
· นายโจเซฟ วู รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ กล่าวชื่นชมการพิจารณาการบริจาควัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาของญี่ปุ่น และย้ำว่าการที่ WHO เพิกเฉยต่อไต้หวันนั้นไม่ยุติธรรมต่อชาวไต้หวัน
· สิงคโปร์ไฟเขียววัคซีนซิโนแวก หลัง WHO อนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉิน
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ว่า สิงคโปร์ได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวก ไบโอเทคของจีนในกรณีฉุกเฉิน หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การอนุมัติวัคซีนของซิโนแวกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
· การระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อร้านอาหารที่ต้องปิดบริการหลายพันร้านในกรุงเทพ
· รัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนากล่าวว่า อินโดนีเซียยกเลิกพิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิมที่เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 จากกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นในปลายปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันก็ยังคงปฏิบัติตามแผนปรับเพิ่มอุปทานเข้าสู่ตลาดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 40 เซนต์ หรือ 0.6% หรือ 71.75 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 โดยเพิ่มขึ้น 1.6% ในเมื่อวานนี้
น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 34 เซนต์ หรือ 0.5% ที่ 69.17 เหรียญ/บาร์เรล โดยราคาก่อนหน้านี้เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 69.40 เหรียญ/บาร์เรล มากที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2018 หลังจากเพิ่มขึ้น 1.5% ในช่วงก่อนหน้า
· ดัชนี Hang Seng ร่วงลงกว่า 1% ท่ามกลางตลาดเอเชียที่เคลื่อนไหวผสมผสาน
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากเหล่านักลงทุนตอบสนองต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียและจีน
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของกิจกรรมบริการของจีนเดือนพ.ค.ชะลอตัวลง โดย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของ Caixin/Markit อยู่ที่ 55.1 ซึ่งต่ำกว่าระดับเดิมที่ 56.3 ในเดือนเม.ย.
ดัชนี Hang Seng -1.2%
ดัชนี Shanghai composite -0.36% ที่ระดับ 3,584.21 จุด
ดัชนี Shenzhen component -0.651% ที่ระดับ 14,761.13 จุด
ดัชนี Kospi เกาหลีใต้ -0.72% ที่ระดับ 3,247.43 จุด
ดัชนี Nikkei ปิด +0.39% ที่ระดับ 29,058.11 จุด
ดัชนี Topix +0.84% ที่ระดับ 1,958.70 จุด
ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย +0.59% ที่ระดับ 7,260.10 จุด ท่ามกลางข้อมูลยอดค้าปลีกออสเตรเลียเดือนเม.ย.ที่เพิ่มสูงขึ้น 1.1% เมื่อเทียบรายเดือน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงประมาณ 0.23%
· หุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับลดลงและเคลื่อนไหวในแดนลบ โดยดัชนี Stoxx600 ปรับตัวลง 0.14%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกฯ เตรียมถก ศบศ.เตรียมแผนรับนักท่องเที่ยว-ดึงลงทุนต่างชาติวันพรุ่งนี้
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 4 มิ.ย.64 เวลา 13.30 น.ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เร้นซ์ เพื่อพิจารณารายละเอียดแผนการเตรียมความพร้อมเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดนำร่องในอนาคตอันใกล้ รวมถึงจะได้พิจารณาถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตลอดจนมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่กลุ่มนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์
ที่มาจาก CNBC, Reuters, FXStreet