สรุปประชุมบรรดารัฐมนตรีกระทรวงการคลัง G-7
- สนับสนุนข้อเสนอสหรัฐฯในการกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก ไม่น้อยกว่า 15% ของรายได้
- ทุกฝ่ายเห็นพ้องต่อแนวทางการแก้ไขความเท่าเทียมด้านภาษีที่ถูกต้อง
- ที่ประชุมจะเตรียมด้านความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่าง “การประยุกต์ใช้กฎภาษีระหว่างประเทศฉบับใหม่” และ “การถอนภาษีด้านการบริการดิจิทัล (Digital Services Tax) ทั้งหมด” รวมไปถึง “มาตรการอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน” ต่อบริษัทต่างๆทั้งหมด
นายริชิ สุนัค รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ กล่าวว่า หลังจากที่ประชุม G-7 ร่วมหารือมาเป็นระยะเวลาหลายปีก็สามารถบรรลุข้อตกลงแผนปฏิรูประบบภาษีโลกครั้งประวัติศาสตร์ได้ เพื่อให้เหมาะกับโลกยุคดิจิทัล และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะเกิดความยุติธรรม และทำให้บริษัทต่างๆจ่ายภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละที่
หากข้อตกลงผ่านขั้นสุดท้าย ก็อาจเกิดสัญญาณการพัฒนาภาษีโลก ท่ามกลางการประชุม G-7 (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, อังกฤษ และสหรัฐฯ) ที่จะประชุมร่วมกันอีกครั้งในเมืองคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวอาจเกิดการเตรียมการไปสู่แผนการหารือร่วมกับ 135 ประเทศทั่วโลก เริ่มตั้งแต่การประชุม G20 ที่ถูกคาดจะเกิดขึ้นในกรุงเวนิส ประเทศฝรั่งเศสในเดือน ก.ค. นี้
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวยกย่องความคืบหน้าดังกล่าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- ระดับภาษีขั้นต่ำทั่วโลกจะช่วยยุติการแข่งขันภาษีนิติบุคคลระดับต่ำ
- ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยเสริมความเป็นธรรมแก่ชนชั้นกลาง และแรงงานในสหรัฐฯ รวมทั้งทั่วโลก
นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และทีมบริหารของเขา แนะนำอัตราภาษีขั้นต่ำทั่วโลกไว้ที่ 21% เพื่อขจัดปัญหาภาคธุรกิจในต่างแดนมองหาทำเลในประเทศที่มีการเก็บภาษีระดับต่ำหรือระดับศูนย์ ขณะที่เจรจากลุ่ม G-7 ล่าสุดตกลงกันได้ที่ขั้นต่ำ 15%
อย่างไรก็ดี ข่าวดังกล่าวถือเป็น “ข่าวดี” สำหรับโลกใบนี้เพื่อยุติเม็ดเงินไหลออกไปยังประเทศต่างๆ ที่พยายามฟื้นคืนเศรษฐกิจหลังเผชิญวิกฤต Covid-19
แต่แนวคิดของนายไบเดนดูจะไม่ได้รับการเห็นชอบของนานาประเทศทั่วโลก อาทิ อังกฤษ ก็ไม่ได้สนับสนุนข้อเสนอของผู้นำสหรัฐฯ
ที่มา: CNBC