• ดัชนี CPI สหรัฐฯพ.ค. พุ่งแตะ 5% ขยายตัวเร็วสุดตั้งแต่ ส.ค. ปี 2008

    11 มิถุนายน 2564 | Economic News
  

ดัชนี CPI สหรัฐฯพ.ค. พุ่งแตะ 5% ขยายตัวเร็วสุดตั้งแต่ ส.ค. ปี 2008

 

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) เดือนพ.ค. ขยายตัวเร็วสุดในรอบเกือบ 13 ปี จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ ประกอบกับข้อมูลคนขอรับสวัสดิการว่างงานที่ยังอยู่ต่ำสุดตั้งแต่ช่วงการระบาดของไวรัส

ดัชนี CPI เดือนพ.ค. ขยายตัวต่อ 0.8% ด้าน Core CPI ที่ไม่รวมอาหารและพลังงานขยายตัวได้ 7%

ดังนั้น ดัชนี CPI เดือนพ.ค. จึงปรับขึ้นต่อไปแตะ 5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และสูงกว่าที่คาดว่าจะออกมา 4.7% 

 

 

ทั้งนี้ ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุด (CPI) เข้าใกล้ระดับ 5.3% ที่ทำไว้ในช่วงเดือนส.ค. ปี 2008 ก่อนจะเกิดวิกฤตการเงินที่ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯย่ำแย่ที่สุดตั้งแต่ยุค Great Depression

นอกจากนี้ ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดยังยืนได้เหนือระดับช่วงเกิดวิกฤตการเงินระหว่างปี 2008-2009 ที่ทำให้เฟดต้องอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาล


ดัชนีราคาด้านรถยนต์และรถบรรทุกเพิ่มขึ้น 7.3% เมื่อเทียบรายเดือน หนุนภาพ 1 ปีทะยานแตะ 29.7%

ดัชนียานพาหนะใหม่เพิ่ม 1.6% ส่งผลให้เดือนพ.ค. ขยายตัวมากที่สุดตั้งแต่ ต.ค. ปี 2009 สู่ระดับ 3.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2011

ดัชนีชีวัดพลังงานทรงตัวแม้จะเห็นราคาแก๊สโซลีนเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้

ดัชนีอาหารยังคงทรงตัว โดยเพิ่ม 0.4% เช่นเดียวกับเดือนเม.ย.

ดัชนีแก๊สโซลีนพุ่ง 56.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมของภาคพลังงานเพิ่ม 28.5%

ดัชนีราคาอาหารช่วง ปีเพิ่ม 2.2%


อย่างไรก็ดี บรรดาสมาชิกเฟด ดูจะยังเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียง ชั่วคราว” ขณะที่สมาชิกเฟดส่วนน้อยมองเงินเฟ้อมีแนวโน้มขึ้นต่อเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังถูกใช้มาตรการจำกัดจากสภาวะการระบาดเวลานี้

บรรดานักลงทุนยังให้น้ำหนักความสนใจไปยังเรื่องของ เงินเฟ้อ” แม้จะยังไม่มีสัญญาณก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980

ดังนั้น หากเราดูข้อมูลความผันผวนของดัชนี Core CPI (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) เพิ่มขึ้นเกินคาดแตะ 3.8% จากคาดไว้ที่ 3.5% ซึ่งข้อมูลล่าสุดก็ถือเป็นการขยายตัวได้อย่างเร็วสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 1992

ตลาดต่างๆ มีการลดความสนใจรายงานเงินเฟ้อในเวลาต่อมา ท่ามกลางดัชนีสหรัฐฯล่วงหน้า ดูจะส่งสัญญาณบ่งชี้มากขึ้น รวมทั้งหนุนการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ล่าสุดยังเคลื่อนไหวใกล้กับ 1.52%

การปรับขึ้นของแรงกดดันเงินเฟ้อดูจะเกิดขึ้นทุกภาคส่วนในตลาด แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถสามารถฟื้นตัวได้จากการใช้มาตรการเข้มงวดช่วงไวรัสระบาด


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com