ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดรอบหลายปี โดยตลาดยังมีแรงหนุนจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับโอกาสประชุมเฟดช่วงสองวันนี้ที่อาจสร้างเซอร์ไพร์สตลาดได้
ตลาดไม่คาดหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินใดๆ แต่ก็จะเห็นได้ถึงแรงกดดันดอลลาร์ แต่ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินก็อาจจุดประกายให้ดอลลาร์แข็งค่าได้
ค่าเงินยูโรแตะ 1.2120 ดอลลาร์/ยูโร ยืนเหนือต่ำสุดรอบ 1 เดือนที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.2093 ดอลลาร์/ยูโร
เยนอ่อนค่าไปมากสุดที่ 110.15 เยน/ดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้กรอบบนล่าสุดอยู่แนว 90.512 จุด
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์อ่อค่าลงมาบริเวณ 0.7705 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย หลังธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในการประชุมล่าสุดดูจะเตรียมพร้อมคงดอกเบี้ย แม้ว่าจะเห็นทิศทางเศรษฐกิจฟื้นตัวจากผลผลิตต่างๆที่โตได้เท่าช่วงก่อนไวรัสระบาด
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด มีแนวโน้มจะกล่าวย้ำว่า การปรับขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียง "สภาวะชั่วคราว" เท่านั้น และจะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินฉบับพิเศษต่อไป แม้ว่าข้อมูลเศ่รษฐกิจต่างๆจะเพิ่มความกังวลเรื่องดัชนีราคาและอาจบังคับให้เฟดถอนการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นักเศรษฐศาสตร์ที่ร่วมตอบแบบสอบถามของ Reuters กว่า 60% มองโอกาสเฟดจะประกาศเรื่องการปรับลด QE ในไตรมาสหน้า
Bitcoin ยังคงทรงตัวเหนือ 40,000 เหรียญ และยืนได้ดีเหนือเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วัน โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากการให้การสนับสนุนด้านการลงทุนรอบใหม่จาก MicroStrategy และนายอีลอน มัสก์ ที่จะกลับมาใช้เหรียญดังกล่าวทำธุรกรรม หากมีการใช้พลังงานสะอาดในการทำเหมือง Bitcoin
Ether ปรับขึ้นเล็กน้อย โดย Breakout เหนือเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 20 วันที่ระดับ 2,593.40 เหรียญ
· หยวนอ่อนค่า แม้ดอลลาร์จะชะลอตัวรอประชุมเฟด
หยวนอ่อนค่ามากสุดเมื่อเทียบดอลลาร์ในรอบกว่า 1 สัปดาห์ แม้ดอลลาร์จะเคลื่อนไหวต่ำกว่าสูงสุดรอบ 1 เดือน เมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ โดยตลาดให้ความสำคัญกับการประชุมเฟด
ค่าเงินหยวนเปิดอ่อนค่ามาที่ 6.4050 หยวน/ดอลลาร์ จากระดับ 6.4045 หยวน/ดอลลาร์ในคืนวันศุกร์ ขณะที่หยวนฝั่ง Offshore แข็งค่าเล็กน้อยมาที่ 6.4038 หยวน/ดอลลาร์
อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของหยวนเป็นไปอย่างจำกัด และตลามีการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นลักษณะ Wait-an-See โดยตลาดมีคาดการณ์ว่าเฟดน่าจะหารือเรื่องการลด QE วงเงิน 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน ที่จะค่อยๆเริ่มต้นขึ้นอย่างระมัดระวัง
· ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าจากระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 11 เดือน ตลาดจับตาประชุม "ไบเดน-ปูติน"
ค่าเงินรูเบิลทรงตัวใกล้ระดับอ่อนค่าช่วงกลางเดือนเม.ย. โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก
- การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
- การใช้นโยบายคุมเข้ม (Hawkish) ของธนาคารกลางรัสเซีย
แต่ประเด็น "ตึงเครียดทางการเมือง" จากการจะพบกันในวันพรุ่งนี้ระหว่าง "นายวลาดิเมียร์ ปูติน" ประธานาธิบดีรัสเซีย และ "นายโจ ไบเดน" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็เป็นปัจจัยที่เข้ากดดันค่าเงินอยู่
ทั้งนี้ ค่าเงินรูเบิลในสัปดาห์ที่แล้วทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ก.ค. ปี 2020 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ก่อนที่จะอ่อนค่าหลุด 72 ดอลลาร์/รูเบิล มาทำต่ำสุดของวันที่ 71.5 ดอลลาร์/รูเบิล แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะทำสูงสุดรอ 26 เดือน และเงินเฟ้อขงประเทศรัสเซียสูงขึ้นในเดือนพ.ค. เพิ่มกระแสคาดการณ์ธนาคารกลางรัสเซียอาจ "ขึ้นดอกเบี้ย"
อย่างไรก็ดี ในเช้าวันนี้รูเบิลมีระดับการซื้อขายแถว71.97 ดอลลาร์/รูเบิล ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรัสเซียสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นสวนทางกับการอ่อนตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ปัญหา "การคว่ำบาตร" ของชาติตะวันตกก็เป็นอีกปัจจัยที่ *กดดันค่าเงินรูเบิล* และการพบกันระหว่างนายไบเดนและนายปูติน ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในวันพรุ่งนี้ ก็เป็นการพบกันเพื่อหารือถึง "กลยุทธ์เสถียรภาพด้านนิวเคลียร์" และ "ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่" ระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตก
· อัตราเงินเฟ้อซาอุอิอาระเบียปรับตัวสูงขึ้น 2 เดือนติด โดยล่าสุดในเดือนพ.ค. แตะระดับ 5.7% จากเดิมที่ 5.3% ในเดือนเม.ย.
· ค่าเงินเปโซฟิลลิปปินส์อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่เม.ย. จากการขยายมาตรการจำกัดการระบาดของไวรัสนานขึ้นในกรุงมะนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.
ค่าเงินเปโซวันนี้อ่อนค่าไปมากถึง 0.4% ทำต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ และเป็นการปิดรายวันที่แย่ที่สุดตั้งแต่ 7 เม.ย. ขณะที่หุ้นในประเทศอ่อนตัวลง 0.2% แต่ภาพเดือนมิ.ย. ปรับขึ้นได้กว่า 4%
ที่มา: Reuters, CNBC