ทองคำโลกปิดร่วง 2%, พลาเดียม -10% เหตุจากเฟดส่งสัญญาณเร่ง Hawkish
ราคาทองคำตลาดโลกปิดร่วงกว่า 2% ที่ระดับ 1,776.1 เหรียญ
ช่วงต้นตลาดทำ Low ที่ 1,766.29 เหรียญ (ต่ำสุดตั้งแต่ 3 พ.ค.)
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -4.7% ที่ 1,774.80 เหรียญ
ราคาทองคำถูกกดดันจาก
- ดอลลาร์แข็งค่ารับกลยุทธ์ใหม่ของเฟด ปิดตลาด +0.53% ที่ระดับ 91.892 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่กลางเดือนเม.ย.
- เฟดส่งสัญญาณปรับกลยุทธ์ “คุมเข้มทางการเงิน” ทั้งโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2023 แม้จะยังคงแนวทางปัจจุบันต่อไปเพื่อหนุนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน
- ทองคำผันผวนมากขึ้นหลังเฟด เผยถึงแนวทางที่จะหารือต่อไปว่าจะตัดสินใจลดการเข้าซื้อพันธบัตรในทุกๆการประชุมต่อจากนี้หรือไม่
- กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ทำการเทขายทองออกมา 3.79 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,041.99 ตัน
ส่งผลให้ภาพรวมเดือนมิ.ย. กลับมาเป็นสถานะขายสุทธิที่ 1.22 ตัน
ขณะที่ตั้งแต่ม.ค. ถึง ปัจจุบัน SPDR มีสถานะขายสุทธิ 128.75 ตัน
- แรงเทขายทำกำไรทั่วทุกสินค้าโลหะมีค่า โดยเฉพาะ พลาเดียมปิดรายวันที่แย่ที่สุดของปี
· พลาเดียมเผชิญแรงเทขายทรุดตัวลง -10% ปิดที่ 2,517.18 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -6.6% ที่ 1,048.44 เหรียญ
· ซิลเวอร์ร่วง -4.3% ที่ 25.81 เหรียญ/บาร์เรล
· นักวิเคราะห์จาก CPM Group มองว่า แรงเทขายในทองคำยังถูกกดดันจากภาพทางเทคนิคที่เป็น “ขาลง” จึงยิ่งกดดันและทำให้ราคา Gold Futures สะท้อนถึงภาวการณ์เคลื่อนไหวตามความเป็นจริง จากปริมาณการซื้อขายในตลาดและภาพทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในตลาด Futures จึงทำให้เห็นราคาทอง Gold Futures ปรับตัวลดลงมากกว่า Gold Spot
ขณะที่พลาเดียมดูจะเคลื่อนไหวในทิศทางการปรับฐาน และภาวะขาขึ้นนั้นดูจะอยู่ในลักษณะ Overdone
· นักกลยุทธ์สินค้าอนุพันธ์จาก TD Securities กล่าวว่า เฟดดูจะสร้างความชัดเจนมากขึ้น ต่อแนวทางการเปลี่ยนแปลงใน Dot Plot พร้อมมีสัญญาณบ่งชี้ถึงย้ำถึงการเปลี่ยนผ่านของสภาวะเงินเฟ้อ พร้อมประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยหนุนในการตัดสินใจปรับท่าที “คุมเข้มทางการเงิน”
อย่างไรก็ดี ความอ่อนแอของอุปสงค์และการชะลอเม็ดเงินลงทุนในทองคำเกิดขึ้นก่อนที่จะเข้าสู่การประชุมเฟด ดังนั้น จึงอาจทำให้เราเห็นการอ่อนตัวต่อได้
· ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆตั้งแต่ “ทองแดง” จนถึง “ข้าวโพด” ดิ่งลงจากจีนเผยแผนปราบปรามการขุดและการเทรดในประเทศ ประกอบกับการแข็งค่าของดอลลาร์
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยได้รับแรงกดันจากดอลลาร์แข็งค่า รวมทั้งหน่วยงานกำกับดูแลของจีน Financial Stability and Development Committee (FSDC) ในประเทศจีนนั้นกำลังมีแผนการปราบปรามการขุดและการเทรดในประเทศ โดยมุ่งเน้นไปยังการลด ความเสี่ยงในด้านเครดิต, ปฏิรูปสถาบันการเงินขนาดกลาง, และลงโทษกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมายอย่างรุนแรง
ราคาสินค้าร่วงแรง
- สัญญาพลาเดียมรับข่าวทรุดกว่า -11%
- สัญญาแพลทินัมรับข่าวลงกว่า -7%
- สัญญา Corn Futures ปรับลงกว่า 6%
- สัญญาทองแดง ปรับลงราว -4.8%
- สัญญาน้ำมันดิบก็ปรับลงประมาณ -1%
· นักวิเคราะห์จากสินค้าโภคภัณฑ์จาก Kpler ระบุว่า ทองแดงอาจเผชิญภาวะขาดแคลนอุปทาน ท่ามกลางอุปสงค์ความต้องการส่วนประกอบสำหรับการสร้างพลังงานสีเขียวที่เพิ่มมากขึ้น
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน Surprise ตลาด ปรับตัวสูงขึ้นรอบ 1 เดือน
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นแม้ว่าจะเห็นทิศทางการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยข้อมูลสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นแตะ 412,000 ราย สูงสุดตั้งแต่ 15 พ.ค.
ขณะที่ภาพโดยรวมข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่ยังเพิ่มขึ้นรวมกันแล้วราว 1.5 ล้านราย จากภาคธุรกิจหลายแห่งที่ยังปิดทำการเวลานี้
ขณะที่นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดเคยระบุถึงกรณีตลาดแรงงานว่า “เป็นเรื่องยาก” ที่จะให้ประชาชนกลับมามีเข้าทำงานท่ามกลางตำแหน่งงานที่สูงสุดประวัติการณ์ 9.3 ล้านตำแหน่ง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการในรายงานล่าสุด 29 พ.ค. พบว่า มีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงไปแล้วมากถึง 14.83 ล้านราย ทำให้หลายๆรัฐจึงตัดสินใจลดการแจกสวัสดิการ
· “นายเทสเตอร์” หนึ่งในส.ว.พรรคเดโมแครต ตัวแทนเจรจา เผยสัญญาณบวกว่าอาจประนีประนอมแผนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับพรรครีพับลิกันได้ที่ 1 ล้านล้านเหรียญ และอาจเผยรายละเอียดได้วันจันทร์นี้
· ผลสำรวจ Reuters Poll ชี้ ธนาคารกลางอังกฤษจะประเมินการขึ้นของเงินเฟ้อในประเทศเป็นเพียง “ภาวะชั่วคราว”
· ถ้อยแถลงสมาชิกอีซีบีเสียงแตก โดยบางรายมองว่าอาจมีการหารือเรื่องการสิ้นสุดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรฉุกเฉิน หรือโครงการ PEPP ในเร็วๆนี้
· ขณะที่บางราย ต้องการให้มีการเข้าซื้อพันธบัตรต่อ
· ประชุมบีโอเจที่จะสิ้นสุดในวันนี้คาดจะขยายมาตรการผ่อนคลายช่วงระบาด และคงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
· ดัชนี Core CPI ของญี่ปุ่นปรับขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี จากราคาพลังงานที่ปรับขึ้น และสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของ ควบคู่กับข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอ
ทั้งนี้ ภาพรวมจีดีพี Q1/2021 ของญี่ปุ่นหดตัวไปมากถึง -3.9% และมีแนวโน้มจะเป็นพเยงภาวะชั่วคราว ขณะที่ไตรมาสปัจจุบันเผชิญกับวิกฤตทางด้านสาธารณสุขที่กดดันการอุปโภคบริโภค
· CORONAVIRUS UPDATES:
ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ 178.18 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแม้จะมีอัตราชะลอตัวลงแต่ก็ใกล้ทะลุ 4 ล้านราย ล่าสุดสะสมรวม 3.85 ล้านราย
ยอด 'โควิด-19' ในไทยวานนี้
พบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 3,129 ราย โดยมียอดผู้ป่วยสะสม 178,861 ราย
ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 30 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1,555 ราย
· นักบริหารเงินประเมินกรอบไว้ที่ 31.30-31.50 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก หลังเฟดส่งสัญญาณว่าจะปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นมาเป็นปี 2023 พร้อมกับปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเดิม 2.4% ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงาน Phuket Sandbox ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 ก.ค. 64 นี้ว่า เป็นต้นแบบการส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคม และเป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เห็นชอบ
- KKP Research ปรับการประมาณการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 64 จากการเติบโตที่ 2.2% เหลือ 1.5% และยังมีความเสี่ยงโตต่ำกว่านี้หากการระบาดของโควิด-19 ไม่สามารถควบคุมได้ หรือมีการระบาดเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นการฟื้นตัวที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่หดตัวไป 6.1% ในปีก่อน
โดยประเมินว่า สถานการณ์การจัดหาและกระจายวัคซีนที่ล่าช้า และการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด ส่งผลให้การ บริโภคและการลงทุนของไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ น่าจะหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และการเปิดประเทศอาจทำได้ล่าช้า ส่งผลให้นัก ท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามาได้เพียง 160,000 คนเท่านั้นในปี 64
- ประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดหากเปิด Phuket Sandbox ได้ตามแผนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ รวมถึงแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่จะเปิดประเทศได้ราวไตรมาส 4/64 นั้น คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ถึง 1 ล้านคนหรือมากกว่านี้ ทำให้จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาราว 50,000-100,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ได้เพิ่มขึ้น 1% และช่วยดัน GDP ในปีนี้ให้เพิ่มขึ้นได้อีก 0.3% จากเป้าหมายเดิม