“โพเวลล์” ชี้ สถานการณ์เวลานี้ไม่มีแนวโน้มอย่างมากที่จะเห็นสหรัฐฯเผชิญรูปแบบเงินเฟ้ออย่างในปี 1970
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวว่า แรงกดดันเงินเฟ้อบางส่วนที่แข็งแกร่งและดันให้เงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดนั้น จะไม่ส่งผลให้สถานการณ์เลวร้ายลงเหมือนในอดีตที่สหรัฐฯเคยเผชิญ
ภายใต้ข้อซักถามของอนุกรรมการพิเศษแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ประธานเฟดยังคงระบุว่า อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นล่าสุด ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ โดยจะเห็นได้ว่า ราคาตั๋วเครื่องบิน ราคาที่พักของโรงแรมและราคาไม้ โดยทั่วไปปรับตัวขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน และปัจจัยเหล่านี้จะถูกแก้ไขด้วยตัวมันเองภายในเดือนต่อๆไป เพราะข้อมูลทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญภาวะตึงตัว” หรือเป็นสิ่งที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตลอดเวลา
นอกจากนี้ นายโพเวลล์ยังกล่าวถึงการปรับมุมมองทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมถึงเครื่องมือในช่วงการระบาดต่อสภาคองเกรสด้วยว่า ผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 ใหญ่กว่าที่พวกเราคาดการณ์ไว้ และอาจส่งผลต่อเนื่องได้มากกว่าที่คิด แต่ “ข้อมูลหลายๆอย่าง” ก็ดูจะสอดคล้องกับมุมมองของเฟดที่ว่าปัจจัยเหล่านี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป รวมทั้ง “เงินเฟ้อ” ก็มีแนวโน้มจะลดลงกลับสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ ซึ่งเฟดจะจับตาดูประเด็นนี้ด้วยความระมัดระวัง
.png)
เฟดจะไม่ “ขึ้นดอกเบี้ย” จากปัญหาเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว
นายโพเวลล์ กล่าวยืนยันอีกครั้งว่า เฟดต้องการที่สนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน "ในวงกว้างและทั่วถึง" โดยจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปโดยอ้างอิงจากปัจจัยเพียงอย่างเดียว เกี่ยวกับความกังวลเรื่อง “เงินเฟ้อ” ที่จะเกิดขึ้น
ประธานเฟดกับคำมั่น “เสถียรภาพด้านราคา”
คณะกรรมาธิการตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ถามย้ำถึงมุมมองเศรษฐกิจที่ดูจะเคลื่อนไหวในลักษณะ Hyperinflation (สภาวะเงินเฟ้อรุนแรง) เหมือนในปี 1970 และช่วงยุค 1980 ที่เห็นเงินเฟ้อไป 10% ซึ่งนายโพเวลล์ ระบุว่า “ไม่มีแนวโน้มจะเป็นลักษณะเดียวกันอย่างมาก”
สิ่งที่เราเห็น ณ ขณะนี้ เชื่อว่า สถานการณ์เงินเฟ้อโดยเฉพาะในหมวดของสินค้าและบริการบางประเภทได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์จาก Covid-19 ที่ไม่เหมือนเหตุการณ์ใดที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เนื่องจาก สถานการณ์ในปัจจุบันเกิดจาก
- ความต้องการที่แข็งแกร่งในภาคแรงงาน, สินค้า และภาคบริการ
- อุปทานเผชิญกับปัญหาบางประการ
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นสิ่งที่เฟดให้ความ “ระมัดระวัง”
ทั้งนี้ เฟดถือเป็นธนาคารกลางที่มุ่งเน้นเรื่องการ “รักษาเสถียรภาพด้านราคา” , มีการกำหนดว่าเสถียรภาพด้านราคาคืออะไร และพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับเป้าหมาย 2% และทั้งหมดนี้สะท้อนว่า ไม่มีสภาวะไหนจะกลับไปเหมือนกับภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงเหมือนในปี 1970 ได้
อย่างไรก็ดี สมาชิกภาครีพับลิกันหลายรายในคณะกรรมาธิการชุดนี้ ก็ยังมุ่งเน้นไปยังประเด็นการผลักดันเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย และตำหนิการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของทีมบริหารไบเดน ที่เป็นตัวการเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ จึงอาจทำให้เฟดต้องใช้วิธีการ “ขึ้นดอกเบี้ย” ได้ เนื่องจากหากมองไปยังเป้าหมาย 2 สิ่งที่เฟดหวังไว้คือ
1) การจ้างงานเต็มที่
2) เสถียรภาพด้านราคา (เงินเฟ้อ)
จะเห็นได้ว่าทั้งหมดไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นได้ ก็เพราะการตัดสินใจดำเนินนโยบายของทีมบริหารไบเดน
แต่ตัวแทนสมาชิกของพรรคเดโมแครต กล่าวว่า สิ่งที่ควรกังวลมากขึ้นในเวลานี้เกี่ยวกับท่าทีของเฟดต่อเงินเฟ้อ คืออาจเป็นเรื่องที่ล่าช้าไป แต่เธอไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ แต่สิ่งที่กังวลจริงๆ คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า
ที่มา: CNBC, Reuters