• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2564

    30 มิถุนายน 2564 | Gold News


ภาพรวมรายเดือนทองคำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016

 

·         ราคาทองคำเคลื่อนไหวทรงตัว ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ระมัดระวังการลงทุนก่อนหน้าการประกาศข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ แต่ภาพรวมรายเดือนราคาทำระดับที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปี 2016 ที่ผ่านมา หลังจากทีเฟดแสดงท่าทีคุมเข้มทางนโยบายการเงิน

 

·         ราคาทองคำตลาดโลกทรงตัวบริเวณ 1,761.80 เหรียญ

·         สัญญาทองคำปรับตัวลดลง 0.1% ที่ระดับ 1,761.80 เหรียญ

 

·         ภาพรวมรายเดือนราคาร่วงลง 7.6% ขณะที่ภาพรายไตรมาสเพิ่มขึ้น 3.2%

 

·         นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ "มีมุมมองในเชิงบวกอย่างมาก" เกี่ยวกับเศรษฐกิจ พร้อมทั้งระบุว่าควรพิจารณาอย่างจริงจังเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022

 

·         ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯในเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง เนื่องจากมุมมองเชิงบวกของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการกลับมาเปิดทำการของเศรษฐกิจ จึงช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

 

·         โพลล์สำรวจจาก Reuters เผยว่า ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 690,000 ตำแหน่ง โดยสูงกว่าในเดือนพ.ค.ที่เพิ่มขึ้นเพียง 559,000 ตำแหน่ง

 

 

·         นักยุทธศาสตร์ด้านสกุลเงินของ DailyFX กล่าวว่า ราคาทองคำเคลื่อนไหวลักษณะสะสมพลังใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของเฟด และขณะนี้กำลังรอคอยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อหาสัญญาณเพิ่มเติม

 

 

·         ราคาซิลเวอร์ +0.2% ที่ระดับ 1,068.96 เหรียญ

·         ราคาพลาเดียม +0.4% ที่ระดับ 2,686.81 เหรียญ

·         ราคาแพลตินัม +0.2% ที่ระดับ 1,068.96 เหรียญ ซึ่งเป็นรายไตรมาสและรายเดือนที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่มี.ค.เมื่อปีที่แล้ว

 

 

·         วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักธุรกิจและนักลงทุนกล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาเป็น "สิ่งที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างยิ่ง" โดยที่ธุรกิจขนาดเล็กหลายแสนหรือหลายล้านรายได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมทั้งไม่อาจคาดเดาจุดสิ้นสุดของการระบาดดังกล่าว

 

·         ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 117.9 จุด จากเดิม 114.5 ในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในผลสำรวจจาก Reuters ที่ 116.5 โดยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 21 ปี เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา ซึ่งนำไปสู่การเปิดดำเนินการอีกครั้งทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการค้าปลีกและบริการ

 

·         เจ้าหน้าที่ขยายมาตรการล็อกดาวน์ในออสเตรเลีย ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

เจ้าหน้าที่ของออสเตรเลียขยายมาตรการล็อกดาวน์ และเว้นระยะห่างทางสังคมมากขึ้นภายในประเทศ โดยที่ 4 เมืองหลักในประเทศยังเผชิญกับภาวะ Lockdown ที่เข้มงวด ท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มมากขึ่นของสายพันธุ์ Delta

 

·         รัฐบาลญี่ปุ่น เผย ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 37.4 เมื่อเทียบกับ 34.1 ในเดือนพ.ค.  หลังจากการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในโตเกียวและพื้นที่อื่น ๆ ได้รับการผ่อนคลายเมื่อต้นเดือนนี้

 

·         คิม จอง อึน” ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ตำหนิเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ล้มเหลวในการควบคุมการระบาด ที่นำไปสู่ วิกฤตขนาดใหญ่” ที่ไม่อาจเจาะจงได้ รวมถึงสร้างความเสี่ยงให้กับประชาชนในประเทศ

 

·         ธนาคารกลางสิงคโปร์มั่นใจเศรษฐกิจขยายตัวเกินคาดปีนี้ จากอุปสงค์ทั่วโลกแข็งแกร่ง

ผู้ว่าการธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เชื่อมั่นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2564 จะสูงกว่ากรอบคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4-6% โดยได้แรงหนุนจากความแข็งแกร่งของอุปสงค์ทั่วโลก และความคืบหน้าของโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสิงคโปร์

 

 

·         กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ (MOH) เปิดเผยในวันนี้ว่า สิงคโปร์จะอนุญาตให้นักเดินทางจากมณฑลกวางตุ้งของจีนสามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวตามมาตรการ Stay-Home Notice (SHN) หากผลการทดสอบเพื่อหาเชื้อไวรัสโคโรนาออกมาเป็นลบ

 

·         G20 ให้คำมั่นผนึกกำลังสู้โควิด รับมือวิกฤตขาดแคลนอาหารทั่วโลก

ในแถลงการณ์ที่ออกหลังจากการประชุม ณ เมืองมาเทรา ทางตอนใต้ของอิตาลี รัฐมนตรีกลุ่ม G20 ได้ให้คำมั่นที่จะรักษาทำการค้าด้านอาหารที่โปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO)


ที่มา: CNBC, Reuters, Xinhuanet


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com