ทองปิดเดือนมิ.ย. แย่สุดรอบกว่า 4 ปี จากท่าทีเฟดคุมเข้มทางการเงิน
ทองคำปิดปรับขึ้นในวันศุกร์ แต่ภาพรวมปิดต่ำสุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2016 ขณะที่นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังการลงทุนก่อนทราบผลการจ้างงานสหรัฐฯ ที่อาจจุดประกายความกังวลเพิ่มเกี่ยวกับการลดการเข้าซื้อพันธบัตรของเฟด
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.4% ที่ 1,768.78 เหรียญ
ขณะที่วันอังคารที่ผ่านมาทำต่ำสุดตั้งแต่ 15 เม.ย. บริเวณ 1,749.20 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด +0.5% ที่ 1,771.60 เหรียญ
· หัวหน้าเทรดเดอร์จา U.S. Global Investors กล่าวว่า ทองคำมีการปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อยจากนักลงทุนที่เข้าซื้อทองคำในช่วงที่ราคาปรับลง ประกอบกับตลาดมีภาวะ “Oversold” หลังจากที่ราคาทองคำปรับตัวลดลงมากกว่า 8.6% จากระดับสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.
นอกจากนี้ ราคาทองคำยังถูกกดดันจากท่าทีของเฟดที่เปลี่ยนมาคุมเข้มมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงมีความต้องการทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ แม้ว่าจะเห็นท่าทีเฟดเป็น Hawkish มากขึ้น
· หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดจาก Blue Line Futures กล่าวว่า การแข็งค่าดอลลาร์ และการทำ New Record Highs ในดัชนี S&P500 ก็ดูจะกดดันราคาทองคำอยู่ แต่การที่เฟดมีท่าทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปี 2023 ควบคู่กับการจะเริ่มถอนมาตรการซื้อพันธับตร ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งผลลบต่อการลงทุน
· นักลงทุนกำลังรอข้อมูล Non-Farm Payrolls คืนวันศุกร์นี้ ที่ถูกคาดว่าจะสะท้อนถึงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นได้ราว 690,000 ตำแหน่งของภาครัฐบาล ซึ่งข้อมูลนี้ดูจะเป็นปัจจัยที่เฟดจะนำมาเริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ในปีนี้
· กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,045.78 ตัน
· ซิลเวอร์ปิด +1.2% ที่ 26.06 เหรียญ
· พลาเดียมปิด +3.8% ที่ 2,780.45 เหรียญ
แต่ภาพรวมปิดลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
· แพลทินัมปิด +0.6% ที่ 1,072.91 เหรียญ ปิดรายเดือนได้ดีที่สุด แต่ปิดไตรมาสแย่ลงนับตั้งแต่มี.ค. 2020
· ราคาไม้ปรับร่วงลงกว่า 40% ในเดือนมิ.ย. เป็นภาพรายเดืนอร่วงลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ จ่อภาวะ “ฟองสบู่” ในตลาดไม้ ปี 2021 เริ่มขึ้นแล้ว
หลังจากที่ราคาไม้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและไปทำ All-Time High เมื่อ 7 พ.ค. ที่ 1,670.5 เหรียญ รวมทั้งราคาที่ปรับขึ้นได้กว่า 6 ครั้ง จากที่ทำต่ำสุดตั้งแต่เม.ย. ปี 2020 แต่การกลับมาอ่อนตัวลงของราคาเกิดขึ้นจากการที่ราคาไม้สูงขึ้นในช่วงที่อุปทานที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้อุปสงค์ด้านการก่อสร้างชะลอตัวลง และกดดันสัญญาไม้ปรับขึ้นได้กว่า 40% เพียงเดือนเดียวในเดือนมิ.ย. ถือเป็นเดือนที่แย่ที่สุดนับบตั้งแต่ปี 1978
ภาพรวมสินค้าโภคภัณฑ์ในด้านการก่อสร้างปรับตัวลดลงราว 18% ในปี 2021 และเป็นครึ่งปีแรกที่ปรับลงมากสุดตั้งแต่ปี 2018
ทั้งนี้ ราคาไม้ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เกิดขึ้นควบคู่กับการฉีดวัคซีนในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น และคนต้องการปรับปรุงการก่อสร้างบ้านและอาคารส่งผลให้หลายๆฝ่ายกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่การปรับลงของราคาก็ยังเผชิญกับอุปสงค์ที่ชะงักงัน
· “นายโรเบิร์ต เคพแลนด์” ประธานเฟดสาขาดัลลัส แสดงความต้องการ “เริ่มลด QE ในเร็วๆนี้” หรือก่อนช่วงสิ้นปีนี้
พร้อมกันนี้ ยังกล่าวในรายการของ Bloomberg TV อีกว่า การเริ่มต้นลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ควรเกิดขึ้น “อย่างค่อยเป็นค่อยไป” และความสมดุลทางด้านอุปสงค์ในตลาดแรงงานยังมีแนวโน้มจะแข็งแกร่ง แม้จะยังไม่มีแนวโน้มจะเห็นการจ้างงานเต็มที่ แต่ก็คาดว่าจะเห็น “การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง” ในตลาดแรงงาน
· จ้างงานเอกชนสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง – ยอดอนุมัติรอขายบ้านเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อคืนนี้ ADP เปิดเผย ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯในเดือนมิ.ย. ที่ออกมาสูงขึ้นเกินคาดแตะ 692,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ขณะที่เดือนพ.ค. ปรับทบทวนโดยปรับลดจาก 978,000 ตำแหน่ง เหลือเพียง 886,000 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ ข้อมูลจ้างงานภาคเอกชนปรับตัวขึ้นเกินคาด เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มการผลิตและการบริการ ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาเปิดทำการมากขึ้น แม้ว่าจะมีการขาดแคลนแรงงานบางส่วนที่ยังคงกระทบต่อการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน
นอกจากนี้ ภาพรวมประชาชนในสหรัฐฯราว 150 ล้านคนได้รับการฉีดวัคซีน Covid-19 ครบโดสแล้ว จึงก่อให้เกิดการถอนมาตรการเข้มงวดต่อภาคธุรกิจและการสวมใส่หน้าการอนามัยสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
· ข้อมูลยอดขายบ้านที่รออนุมัติปิดการขายปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. +8% ที่ 114.7 ยูนิต ทำสูงสุดตั้งแต่ปี 2005 และเมื่อเทียบปีก่อนปรับขึ้นได้ราว +13.1%
· ทำเนียบขาว เรียกร้องจีนและภาคเอกชนร่วมมือกันผ่อนปรนระดับหนี้ทั่วโลก หรือชะลอการชำระหนี้ในกลุ่มประเทศยากจน ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 เพราะจะเห็นได้ว่ามีเพียง 22 ประเทศ จาก 72 ประเทศที่ดูจะเผชิญกับความเสี่ยงสูงของระดับหนี้สิน
· CNBC เผย นักลงทุนส่วนใหญ่ดูจะไม่ต้องการสินค้าในบริษัทกลุ่มร้านชำของจีน ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกขึ้นบัญชีดำในสหรัฐฯ
· อดีตนักการทูต ชี้ “ไต้หวัน” ถือเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดที่จะจุดชนวนด้านความสัมพันธ์ระห่างสหรัฐฯ-จีน
· “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีน เผยในงานเฉลิมฉลองพรรคคอมมิวนิสต์ 100 ปี ในวันนี้ว่าร จีนจะไม่ยอมรับ “คำเทศนาที่เหมือนว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง” จากประเทศอื่นๆ
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ ชี้ อังกฤษให้คำมั่นว่าจะอัดฉีดพันธบัตรเพื่อสร้างภาคการเงินที่ “ก้าวหน้าที่สุด” ของโลก หลังจากที่ Brexit ทำลายย่านการเงินในกรุงลอนดอน ที่เป็นจุดค้าส่งรายใหญ่ของประเทศ
· สหรัฐฯ – แคนาดา พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์จากเหตุเพลิงไหม้ไฟป่าที่เลวร้ายที่สุด
· สถานการณ์ขาดแคลนชิปล่าสุด ดูจะส่งผลให้ Ford ต้องทำการลดกำลังการผลิตรถยนต์ในหลายๆโรงงานเดือนก.ค.
· นักวิเคราะห์ คาด ราคาน้ำมันอาจพุ่งขึ้นได้ หาก OPEC+ ล้มเหลวในการตกลงการทยอยปรับเพิ่มอุปทานน้ำมัน ในการประชุมวันนี้
· CORONAVIRUS UPDATES:
ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบทะลุ 183 ล้านราย โดยล่าสุดมียอดรวมติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 182.95 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแม้จะมีอัตราชะลอตัวลงแต่ก็ใกล้ทะลุ 4 ล้านราย ล่าสุดสะสมรวม 3.96 ล้านราย
· บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ ยุโรปต้องการยุติ Delta-Covid แต่การดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นการสายเกินไปแล้ว
· ล่าสุดวันนี้ไทยพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทำ New High ที่ 5,533 ราย โดยทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมรวมอยู่ที่ 235,971 ราย
ขณะที่เสียชีวิตเพิ่มอีก 57 รายและทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 2,080 รายแล้ว
· นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ ไว้ที่ระหว่าง 31.90-32.05 บาท/ดอลลาร์
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท โดยปัญหาการระบาดของโควิดทั่วโลกและในไทย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางค่าเงินบาท และสถานการณ์การระบาดทั่วโลกที่เลวร้ายลง จะกดดันภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอื่นๆ ยกเว้น สหรัฐฯทำให้ตลาดถือครองเงินดอลลาร์มากขึ้น จึงช่วยหนุนเงินดอลลาร์ยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้
นอกจากนี้ สถานการณ์การระบาดในไทยยังวิกฤติอยู่ จากยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่อยู่ในระดับสูงและยังไม่มีทีท่าจะลดลง (ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่ายอดรายงาน จากข้อจำกัดด้านการตรวจหาผู้ติดเชื้อ)
ขณะเดียวกัน การแจกจ่ายวัคซีนก็ดูจะล่าช้าและแผนการแจกจ่ายวัคซีนอาจไม่สามารถรับมือกับการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังสามารถทยอยขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้นไทย และกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้
รวมทั้ง Flow ธุรกรรมจากบริษัท MNC ต่างชาติ โดยเฉพาะ MNC ญี่ปุ่นอาจทยอยกลับเข้ามาแลกสกุลเงินต่างชาติ หรือ เงินเยน อีกครั้ง หลัง เงินเยนอ่อนค่าลงหนัก เมื่อเทียบกับเงินบาทหนุนให้เงินบาทโดยรวมยังทรงตัวในระดับสูงอยู่
· อ้างอิงเดลินิวส์
- ประกาศล็อกดาวน์'กทม.-ปริมณฑล-4 จังหวัดภาคใต้'เริ่ม28มิ.ย.
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศล็อกดาวน์กรุงเทพ-ปริมณฑล 4 จังหวัดชายแดนใต้ ปิดแคมป์ก่อสร้าง ล็อกดาวน์ร้านอาหาร 30 วัน ห้ามนั่งกินในร้าน ซื้อกลับบ้านเท่านั้น
สาระสำคัญคือการล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา)
· อ้างอิงจากสำนักข่าว MGR Online
- มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่คุมโควิด ฉุดเศรษฐกิจ กดตลาดหุ้นซึม คาดไตรมาส 3 มีโอกาสติดลบ ขณะประเมินหุ้น 4 กลุ่มหลัก ร้านอาหาร ค้าปลีก รับเหมาฯ อสังหาฯ รับผลกระทบ และรับเหมาก่อสร้าง เสี่ยงถูกหั่นกำไรปีนี้ สวนทางแพกเกจจิ้งรับผลบวกจากการสั่งอาหารกลับบ้านและเดลิเวอรี่
· อ้างอิงจากสำนักข่าวฐานเศรษฐกิจ
- ธปท.เผยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น แม้ภาครัฐ-การส่งออกยังช่วยพยุง แต่ความเชื่อมั่นธุรกิจ 3เดือนข้างหน้าต่ำกว่าระดับ 50 เกือบทุกธุรกิจ พร้อมทั้งห่วงตลาดแรงงาน จับตาสถานการณ์โควิด มาตรการควบคุม และความต่อเนื่องในการจัดหาความเร็วในการกระจายฉีดวัคซีน