· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางตลาดกังวลเกี่ยวกับการระบาดมากขึ้นของ Delta Covid-19 ที่หนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยก่อนทราบข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ
· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้น 0.4% ที่ 1,776.4 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งขยับขึ้น 0.4% ที่ 1,776.5 เหรียญ
· นักวิเคราะห์จาก SPI Asset Management ระบุว่า ตลาดค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นได้จากข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลาง Delta Covid ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกช่วยสนับสนุนราคาทองคำในเวลานี้
· การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Delta ได้ส่งผลให้ฝรั่งเศสชะลอการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มทางการเงิน ขณะที่สายพันธุ์นี้กำลังระบาดทั่วเอเชีย
· นักลงทุนกำลังรอคอยข้อมูลจ้างงานภาครัฐบาลสหรัฐฯในวันพรุ่งนี้
· กรรมการ ABC Bullion กล่าวว่า เฟดมีการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานจะแกร่งขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ข้อมูล ADP ดีขึ้นเกินคาด และหากข้อมูล NFP เป็นข้อมูลท่ลูกค้าให้ความสำคัญในสัปดาห์นี้ ที่อาจหนุนให้เฟดมีท่าที "ถอน" นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น และทองคำก็ยังทรงตัวได้ดีในระดับดังกล่าว แต่อาจจะมีการ Breakout ออกจากกรอบสะสมพลังในตอนนี้
· นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เขาอาจเห็นเฟดเริ่มต้นลดการสนับสนุนทางเศรษฐกิจก่อนช่วงสิ้นปีนี้ได้ และปัจจัยนี้กดดันทองคำ
· อย่างไรก็ดี การที่เฟดจะเพิ่มโอกาสการเข้าการขึ้นดอกเบี้ย ก็ดูจะเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ
· ซิลเวอร์ปรับขึ้น 0.4% ที่ 26.22 เหรียญ
· พลาเดียมปรับลง 1% ที่ระดับ 2,751.5 เหรียญ และแพลทินัมปรับขึ้น 0.1% ที่ 1,073.5 เหรียญ
· ที่ปรึกษาด้านสภาพอากาศของทีม "ไบเดน" ชี้ มาตรฐานการสร้าง พลังงานสะอาด จำเป็นต้องอยู่ในร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน หรือแพ็คเกจโครงสร้างพื้นฐานฉบับที่ 2 ที่ต้องผ่านให้ได้ในปีนี้
· ผลการสำรวจของภาคเอกชน เปิดเผยว่า กิจกรรมโรงงานของจีนในเดือนมิ.ย.ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการฟื้นตัวของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในมณฑลกวางตุ้งและปัญหาห่วงโซ่อุปทานได้กดดันการเติบโตของผลผลิตให้ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน
โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อการผลิตของ Caixin/Markit (PMI) ลดลงมาอยู่ที่ 51.3 จากเดิมที่ระดับ 52 ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะชะลอตัวเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 51.8
· ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ Tankan โดยบีโอเจของฝั่งผู้ผลิตขนาดใหญ่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 ซึ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ท่ามกลางสัญญาณอุปสงค์ทั่วโลกที่แข็งแกร่ง จึงช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากภาวะซบเซาของการระบาดไวรัสโคโรน่า
ด้านบริษัทใหญ่ๆ คาดว่ารายจ่ายต้นทุนจะเพิ่มขึ้น 9.6% ในปีงบประมาณปัจจุบันที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค. หลังจากที่ลดลง 8.3% ในปีก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายได้ตั้งคำถามว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากการระบาดได้เร็วแค่ไหน ท่ามกลางยอดการติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้น และการฉีดวัคซีนที่ช้าลง ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มการบริโภคแย่ลง
· ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย.ปรับลดลงมาอยู่ที่ 52.4 จากเดิมที่ 53.0 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมา
· เกาหลีใต้เปิดเผยงบประมาณเพิ่ม 33 ล้านล้านวอน (2.92 หมื่นล้านเหรียญ) ซึ่งทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับการใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกงบประมาณประจำปี เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาแก่ภาคครัวเรือน ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก และการสร้างงาน
· ข้อมูลจากกระทรวงการค้าเปิดเผยว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้นถึง 39.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสามเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 5.480 หมื่นล้านเหรียญ ทางด้านนักวิเคราะห์ผลสำรวจจาก Reuters คาดไว้ว่าจะปรับตัวขึ้น 33.6%