ส่งผลให้เริ่มต้นเดือนก.ค.กลับมาเป็นสถานะขายสุทธิที่ 2.62 ตัน หลังจากที่สิ้นสุดเดือนมิ.ย.มีสถานะซื้อสุทธิ 2.57 ตัน
ขณะที่ตั้งแต่ม.ค. ถึง ปัจจุบัน SPDR มีสถานะขายสุทธิ 127.58 ตัน
· บรรดานักลงทุนหลายรายยังเข้าถือครองทองคำในฐานะ Safe-Haven จากไวรัส Delta Covid-19 ที่ล่าสุดส่งผลให้ฝรั่งเศสเลื่อนการผ่อนคลายการมาตรการในภูมิภาค “แลนเดส” ของประเทศ
· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco กล่าวว่า ทองคำยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง และภาพรวมทางเทคนิคทั้งหมดสะท้อนภาวะขาลง แม้ว่าวานนี้จะมีแรงหนุนจากนักลงทุนที่ช้อนซื้อช่วงราคาลงทำต่ำสุดรอบ 2 เดือนในวันพุธ จึงทำให้เริ่มมีสัญญาณวกตัวกลับของทองคำ จึงอาจเห็นการกลับมาปิดเหนือ 1,800 เหรียญได้
· นักกลยุทธ์อาวุโสจาก RJO Futures มองทองคำจะได้รับอานิสงส์ หากตลาดหุ้นเผชิญแรงเทขายครั้งใหญ่
· ซิลเวอร์ปิด -0.5% ที่ 25.98 เหรียญ
· พลาเดียมปิด -0.5% ที่ 2,764.66 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +0.8% ที่ 1,081.30 เหรียญ
· ดอลลาร์แข็ง – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้นในระยะสั้น ก่อนทราบข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเฟดจะลดการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วกว่คาดหรือไม่
ดัชนีดอลลาร์เมื่อคืนนี้ทำสูงสุดตั้งแต่เม.ย. ที่ผ่านมา บริเวณ 92.602 จุด ก่อนปิด +0.2% ที่ 92.572 จุด
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับขึ้นมาแตะ 1.47%
ค่าเงินเยนอ่อนค่ามากสุดรอบ 15 เดือน ที่ 111.640 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาด +0.4% ที่ 111.560 เยน/ดอลลาร์
· Bitcoin ปรับตัวลดลงกว่า 5.17% บริเวณ 33,226.36 เหรียญ - Ether ร่วงลงกว่า 7.28% ที่ระดับ 2,110.53 เหรียญ
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่มี.ค. ปี 2020 นับตั้งแต่ที่เกิดการ Lockdown
สัปดาห์ที่แล้วจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงมา 51,000 ราย แตะ 364,000 ราย ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 14 มี.ค. 2020 หรือในช่วงที่สหรัฐฯมีการประกาศ Shutdown เศรษฐกิจ เพื่อสู้กับการระบาดของไวรัส
· นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดการณ์ข้อมูลสำคัญสหรัฐฯคืนนี้:
ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯเดือนมิ.ย. จะขยายตัวได้ราว 706,000 ตำแหน่ง
ข้อมูลอัตราว่างงานคาดการณ์ว่าจะออกมาลดลงจาก 5.8% สู่ระดับ 5.6%
สำหรับค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง ถูกคาดว่าจะปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค. แต่ภาพรายปีคาดว่าจะเห็นค่าแรงเพิ่มขึ้นได้ราว 3.6% หลังจากที่ขยายตัวขึ้น 1.9% ในเดือนพ.ค.
· ไอเอ็มเอฟ ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2021 คาดขยายตัวได้แตะ 7% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เร็วที่สุดตั้งแต่ปี 1984 เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้าช่วงเดือนเม.ย.ที่ 4.6% หากแผนค่าใช้จ่ายของไบเดนผ่านสภา
· สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ “ผ่าน” แพ็คเกจโครงสร้างพื้นฐานสำหรับถนนและสะพานด้วยวงเงิน 7.15 แสนล้านเหรีญญ ขณะที่ส.ว.สหรัฐฯจาก 2 พรรค ยังคงเจรจากับไบเดน เรื่องแผนค่าใช้จ่ายที่รวมมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญ
อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาล่างดังกล่าว อาจเป็นตัวแปรที่นำไปสู่แผนฉบับเต็มกว่าล้านล้านเหรียญของนายไบเดนได้
· สำนักงานกำกับดูแลด้านงบประมาณสหรัฐฯ หรือ CBO คาดอาจะเห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มเป็นเท่าตัวแตะ 7.4% และยอดขาดดุลของรัฐบาลมีแนวโน้มจะค่อยๆลดลง
· ปี 2021 นี้ สหรัฐฯมียอดขาดดุลโดยรวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็นการปรับขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้ากว่า 33%
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวได้รับผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐบาลสหรัฐฯในการต่อสู้กับวิกฤตการระบาด
อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่าระดับหนี้สินรัฐบาลในปัจจุบันดูจะปรับขึ้นแตะ 103% ภายในช่วงสิ้นปีงบประมาณปัจจุบัน
ภาพรวม CBO คาดเฉลี่ยยอดขาดดุลสหรัฐฯจะแตะ 1.2 ล้านล้านเหรียญไปจนถึงปี 2031
· ผลการศึกษาของ Wharton School ระบุว่ แผนโครงสร้างพื้นฐานของนายไบเดนอาจเป็นตัวช่วย “ลดหนี้สหรัฐฯ” และค่อยๆหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
พร้อมคาดว่าแผนโครงสร้างพื้นฐานฉบับใหม่ที่มีวงเงินเพิ่ม 5.79 แสนล้านเหรียญ อาจหนุนให้ผลผลิตในประเทศเพ่มขึ้นราว 0.1% และช่วยลดระดับหนี้สหรัฐฯลง 0.9% ภายในปี 2050
· 130 ประเทศ เห็นพ้องสนับสนุนแผนการเก็บภาษีข้ามชาติขั้นต่ำตามข้อเสนอของทางสหรัฐฯ
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ชี้ ถ้อยแถลงของนายสี จิ้นผิง ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อวานนี้ถือเป็นเรื่อง “ไร้สาระ” และสหรัฐฯจะเดินหน้าผลักดันการเข้าถึงตลาดจีนต่อไป
· สหรัฐฯเรียกร้องจีนสนับสนุนการลดความเสี่ยงด้านการแข่งขันทางอาวุธร หลังจีนมีการการเพิ่มศักยภาพด้านนิวเคลียร์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ว่าเป็นเรื่อง “น่ากังวล” ในเวลานี้
· เกาหลีใต้เผชิญเงินเฟ้อทะยานสูงสุดรอบเกือบ 9 ปี พุ่งเหนือ 2% แตะ 2.4% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายปี ชี้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น
· รัสเซีย ชี้ การเจรจานิวเคลียร์อิหร่านต้องใช้เวลามากกว่านี้ ก่อนจะกำหนดการประชุมครั้งต่อไป
· น้ำมันดิบเคลื่อนไหว Sideways ก่อนประชุม OPEC+
· CORONAVIRUS UPDATES:
ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 183.39 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแม้จะมีอัตราชะลอตัวลงแต่ก็ใกล้ทะลุ 4 ล้านราย ล่าสุดสะสมรวม 3.97 ล้านราย
· ทำเนียบขาวเตรียมส่งทีมรับมือทั่วสหรัฐฯในการต่อสู้กับการระบาดของสายพันธุ์ Delta- Covid ที่เพิ่มมากขึ้น
· WHO เผย New Covid Wave ที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปคือสายพันธุ์ Delta
· รัฐมนตรีออสเตรเลียจัดประชุมด่วน จากความไม่แน่นอนเรื่องวัคซีน Covid-19
· รัฐมนตรีสาธารณสุขอินเดีย เผย หลายๆจังหวัดในอินโดนีเซียกำลังเผชิญการขาดแคลนโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยจากสายพันธุ์ Delta ที่กำลังระบาดหนัก
· ล่าสุดวันนี้โควิดในไทยหนักขึ้นทุกวัน! พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 61 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 2,141 ราย
ขณะที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6,087 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 270,921 ราย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด’อ่อนค่าที่32.09บาทต่อดอลลาร์
เงินบาทมีโอกาสผันผวนตามเงินดอลลาร์แข็งค่าหลังสหรัฐที่ตัวเลขเศรษฐกิจดีเกินคาด แต่สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในไทยยังวิกฤติ หวั่นนักลงทุนต่างชาติยังทยอยขายหุ้นไทยกดบาทอ่อนค่าได้อีก คาดวันนี้เงินบาทที่ระดับ 32.00-32.15บาทต่อดอลลาร์
นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.09 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.05 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.00-32.15 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าและ มีโอกาสผันผวนตามเงินดอลลาร์ เนื่องจากตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเรามองว่า หาก ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ออกมาดีเกินคาด อาจช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้ (ยิ่งดีกว่าคาดมากเท่าไหร่ ก็อาจยิ่งทำให้แข็งค่ามากขึ้นตาม) แต่ถ้า ข้อมูลดังกล่าว ออกมาแย่กว่าคาดไปมาก เช่น เพิ่มขึ้น เพียง 4 แสนราย เงินดอลลาร์มีโอกาสเผชิญแรงขายและอ่อนค่าลง
อย่างไรก็ดี ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกและในไทย ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางค่าเงินบาท โดยสถานการณ์การระบาดทั่วโลกที่เลวร้ายลง จะกดดันภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอื่นๆ ยกเว้นสหรัฐฯ ทำให้ ตลาดถือครองเงินดอลลาร์มากขึ้น หนุนให้ โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในระยะสั้นอยู่
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- แบงก์ชาติชี้แนวโน้ม 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมอง 3 ธุรกิจแย่ลง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าระดับ 50
วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นจาก 43.0 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ 46.5 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบและเกือบทุกธุรกิจ ทั้งในภาคการผลิตและภาคที่ไม่ใช่การผลิต ยกเว้น กลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และ กลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ดัชนีฯ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ ประกอบกับราคาเหล็กที่ยังอยู่ในระดับสูงและปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่คลี่คลาย กดดันให้ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนของธุรกิจในภาคการผลิตอยู่ในระดับต่ำ
- ปั๊มยอดส่งออกครึ่งปีหลังสู่เป้า 4%
แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ยังคงอยู่ แต่จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิของประเทศต่าง ๆ รวมถึงการเร่งรัดฉีดวัคซีนจึงทำให้เห็นสัญญาณบวกของตัวเลขส่งออกของไทย ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีมูลค่า 23,057.91 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 714,885.27 ล้านบาท ขยายตัว 41.59% ถือเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี
และแม้ว่าจะหักตัวเลขส่งออกน้ำมัน ทองคำ ยุทธปัจจัยออก ก็ยังคงบวกถึง 45.87% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 22,261.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 63.54% ทำให้ไทยเกินดุลการค้า 795.95 ล้านเหรียญสหรัฐ