รายงานจาก Reuters สะท้อนให้เห็นถึงบรรดาตลาดเกิดใหม่มีการประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นในเดือนมิ.ย. ท่ามกลางเฟดที่ส่งสัญญาณ Hawkish ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่ดูจะกระทบต่อประเทศที่กำลังพัฒนา
ทั้งนี้ ธนาคารกลางบางแห่งของประเทศสมาชิก 37 แห่งในตลาดเกิดใหม่ ไม่น้อยกว่า 5 แห่งที่ตัดสินใจประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. หลังจากมีเพียง 1 แห่งที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนพ.ค.
ภาพรวมการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารบางแห่งได้เริ่มต้นในเดือนมิ.ย. ขณะที่อีกหลายๆแห่งก็ดูมีท่าทีเร่งขึ้นดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
- ธนาคารกลางบราซิลมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องครั้งที่ 3 รวมเป็น 0.75% เพื่อเป็นการปรับดอกเบี้ยให้กลับสู่ระดับปกติ และลดแผนสำหรับการแบ่งนโยบายในการกลับสู่ภาวะปกติ
- ธนาคารกลางรัสเซียมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 0.5% ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 5.5% อันเป็นผลจากความจำเป็นในการควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันหลายๆฝ่ายก็รอดูว่า "การประชุมในเดือนก.ค. ธนาคารกลางรัสเซียจะมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นมาถึง 1% หรือไม่"
- ธนาคารกลางเม็กซิโกสร้างเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ปัจจุบันอยู่ที่ 4.25% ซึ่งเป็นการประกาศขึ้นดอกเบี้ยในไม่กี่วันให้หลังจากการที่เฟดมีท่าทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้น
บรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางๆ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการดำเนินการดังกล่าวเพื่อ "หลีกเลี่ยง" ผลกระทบจากคาดการณ์เรื่องเงินเฟ้อ รวมทั้งข้อมูลดัชนีราคาจากสหรัฐฯ
- ธนาคารกลางฮังการี และสาธารณรัฐเช็ค เป็นธนาคารกลางอันดับต้นๆในฝั่งยุโรปที่มีการ "ขึ้นดอกเบี้ย" เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกินคาด
- ธนาคารกลางอมาร์เนีย ก็มีการประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ย
- ธนาคารกลางอูกันดา กลับประกาศหั่นดอกเบี้ยเพิ่ม โดยล่าสุดมีการใช้ดอกเบี้ยในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในการพยายามหนุนสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก รวมทั้งยกระดับภาคธุรกิจในการต่อสู้กับผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ที่มา: Reuters