· หุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานท่ามกลางหุ้นน้ำมันที่เพิ่มขึ้น - RBA ยังคงดอกเบี้ย
หุ้นเอเชียยังคงชะลอการไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยนักลงทุนบางส่วนค่อนข้างตอบรับกับการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จึงทำให้ดัชนี S&P/ASX200 ปิด -0.73% ที่ระดับ 7,261.80 จุด
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิด +0.1%
· Nikkei ปิดบวกจากหุ้นบริษัท SoftBank, Uniqlo รีบาวน์
ดัชนี Nikkei ปิดแดนบวกขานรับหุ้นบริษัท SoftBank และ Fast Retailing รีบาวน์ แม้ว่าตลาดจะมีปัจจัยกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นของยอดติดเชื้อไวรัส Covid-19 ช่วงการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จึงจำกัดการปรับขึ้นของดัชนี
ดัชนี Nikkei ปิด +0.16% ที่ 28,643.21 จุด ปรับขึ้นน้อยกว่าช่วงเปิดตลาดที่ดีดขึ้นมา +0.5%
ดัชนี Topix ปิด +0.28% ที่ 1,954.5 จุด
หุ้นบริษัท SoftBank Group ปิด +1%
หุ้นบริษัท Uniqlo ภายใต้การจัดการของ Fast Retailing ปิด +0.45%
หุ้นบริษัท Daikin Industries ปิด +2.6%
· หุ้นจีนร่วงตามหุ้นกลุ่มสุขภาพ - ดัชนี HSI ปิดลบ
ตลาดหุ้นจีน นำโดยดัชนีกลุ่ม Blue-Chip ปรับตัวลงใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือน อันเป็นผลจากหุ้นกลุ่มบริษัทด้านสุขภาพปรับตัวลงแรง จากความกังวลเกี่ยวกับมูลค่าที่อยู่ในระดับสูง
ดัชนี CSI300 ปิด -0.6% ที่ 5,055.65 จุด
ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.5% ที่ 3,515.64 จุด
ดัชนี HSI ของฮ่องกงปิด -0.6% ที่ 27,980.23 จุด
ดัชนี Hong Kong China Enterprises Index ปิด -0.4% ที่ 10,232.91 จุด
· บริษัทซัมซุง อิเล็คทรอนิกส์ คาดผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2021 จะปรับตัวสูงขึ้นได้กว่า 38% จากราคาชิปที่แข็งแกร่ง
· หุ้นอินเดียปรับขึ้นจากหุ้นกลุ่มยานยนต์-สายการบินปรับขึ้น และยอดติดเชื้อ Covid-19 ลดลง
หุ้นอินเดียปิดบวก นำโดยดัชนี Blue-Chip อย่าง NSE Nifty 50 ปิด +0.22% ที่ระดับ 15,868.80 จุด และดัชนีหลักอย่าง S&P BSE Sensex ปิด +0.22% บริเวณ 52,952.10 จุด
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นอินเดียได้รับอานิสงส์จากหุ้นกลุ่มยานยนต์และสายการบินที่ปรับขึ้น โดยเฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น 65% ไปจนถึงสิ้นเดือนก.ค. นี้ จากเดิมที่ 50% ขณะที่ยอดติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศอินเดียลดน้อยลง จึงช่วยบดบังผลลบจากการปรับลงของหุ้นบริษัท Reliance Industries
· ค่าเงินเปโสอ่อนหนักรอบ 11 เดือน กดดัน "หุ้นร่วง" ท่ามกลางเงินเฟ้อเพิ่ม ตลาดกังวลเรื่องการเติบโตในระดั
หุ้นฟิลิปปินส์ปิด -0.4% ขณะที่ค่าเงินเปโสอ่อนค่าอีก 0.3% แตะ 49.48 เปโส/ดอลลาร์ หลังข้อมูลดัชนี CPI เดือนพ.ค. ออกมาเพิ่มขึ้นแตะ 4.1% และในช่วง 6 เดือนมีค่าเฉลี่ย 4.4% สูงกว่ากรอบที่ธนาคารกลางฟิลลิ
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลเรื่
- เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็
- ภาวะถดถอยเศรษฐกิจ
· หุ้นยุโรปเปิดทรงตัวหลังจากที่เปิดบวก 3 วันทำการ
ตลาดหุ้นยุโรปชะลอการเปิดแดนบวก ตามทิศทางการซื้อขายที่ไม่สดใสในตลาดหุ้นเอเชีย รวมทั้งข้อมูลคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ออกมาไม่สดใส จึงบดบังการปรับตัวสูงขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
ดัชนี Stoxx 600 เปิด -0.1% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ปรับตัวลงเช่นกัน
ข้อมูลยอดคำสั่งซื้อสินค้าของเยอรานีชะลอตัวเร็วสุดในเดือนพ.ค. นับตัง้แต่ช่วงประกาศ Lockdown ครั้งแรกเมื่อปี 2020 โดยได้รับแรงกดดันหลักๆมาจาก "อุปสงค์ในต่างประเทศ (นอกยูโรโซน) อ่อนแอ"
· ดัชนี FTSE 100 เปิดปรับขึ้นขานรับหุ้นกลุ่มพลังงาน และ Ocado ปรับขึ้น
ดัชนี FTSE 100 เปิด +0.1% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมืองที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยหุ้นกลุ่มพลังงานนำโดยบริษัท B P และ Royal Dutch Shell ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองอย่าง BHP Group ปรับขึ้นนำ
ขณะเดียวกัน หุ้นบริษัท Ocado ปรับขึ้นกว่า 1.1% หนุนหุ้น Blue-Chip ปรับขึ้นจากข้อตกลงใหม่เรื่องซอร์ฟแวร์ในภาคธุรกิจ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ตลาดหุ้นไทยปิดเช้าพุ่ง 13.31 จุด มีแรงซื้อกลับจากหุ้นบิ๊กแคป-กลุ่มพลังงานขึ้นนำตลาด
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,592.59 จุด เพิ่มขึ้น 13.31 จุด (+0.84%) มูลค่าการซื้อขายราว 35,126 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดช่วงเช้า โดยทำระดับสูงสุด 1,594.04 จุด และระดับต่ำสุด 1,585.34 จุด
- นายกรัฐมนตรีพอใจ Fitch Ratings สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจัดอันดับไทยที่ BBB+ อยู่ในระดับมีเสถียรภาพสะท้อนภาพความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลก และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยที่กำลังฟื้นตัวจากภาคส่งออกลงทุนรัฐ และท่องเที่ยวประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor ConfidenceIndex) ผลสำรวจในเดือนมิ.ย.64 พบว่า"ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.05 ปรับตัวลดลง 16.1%จากเกณฑ์ร้อนแรงเดือนก่อน มาอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนักลงทุนคาดหวังแผนการฉีดวัคซีนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ Covid-19 เป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการไหลเข้าของเงินทุน และการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่สถานการณ์ระบาดของCovid-19 ระลอกปัจจุบันที่ยืดเยื้อ รองลงมาคือความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ประเมินว่ามาตรการควบคุมและเข้มงวดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในส่วนของธุรกิจร้านอาหาร ที่ให้งดนั่งรับประทานในร้านเป็นเวลา 30 วัน ทำให้มูลค่ารวมของธุรกิจร้านอาหารในกรณีพื้นฐาน ในปีนี้สูญหายไป 55,000 ล้านบาท หรือเหลือเพียง 350,000 ล้านบาท ขณะที่ในกรณีเลวร้าย ห้ามนั่งรับประทานในร้านนานเกินกว่า 30 วัน มูลค่าของธุรกิจร้านอาหารจะหายไป 70,000 ล้านบาท หรือเหลือเพียง 335,000 ล้านบาท
ที่มา: CNBC, Reuters