• Summer 2021 Economic Forecast: การเปิดทำการเศรษฐกิจกระตุ้นการฟื้นตัวของยูโรโซน

    8 กรกฎาคม 2564 | Economic News
  


Summer 2021 Economic Forecast: การเปิดทำการเศรษฐกิจกระตุ้นการฟื้นตัวของยูโรโซน

เศรษฐกิจยูโรโซนถูกคาดการณ์ว่าจะรีบาวน์กลับได้อย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ท่ามกลางกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปีที่ออกมาดีกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับสถานการณ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น จึงสามารถช่วยผ่อนปรนมาตรการควบคุมต่างๆในไตรมาสที่ 2/2021 ได้  จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจของยุโรปกลับมาได้

 

แนวโน้มระยะสั้น: สดใสมากขึ้น

สำหรับสภาวะหดตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาสแรกดูจะลดน้อยลง และคาดว่าประสิทธิภาของกลยุทธ์ในการดำเนินการต่างๆและความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน สะท้อนผลลัพธ์ที่ชัดจากจำนวนยอดติดเชื้อใหม่และการรักษาในโรงพยาบาลที่ลดน้อยลง ส่งผลเชิงบวกดังนี้
1. เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยุโรปกลับมาเปิดทำการได้
2. เอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจการบริการเป็นอย่างดี 
3. ผลสำรวจผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างๆ เป็นไปในเชิงบวก และสะท้อนถึง “การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภค” อย่างแข็งแกร่งในเดือนต่อๆไป
4. พบหลักฐานการเริ่มกลับมาของ “นักท่องเที่ยว” ซึ่งได้ประโยชน์จากแผนใหม่ที่เรียกว่าใบรับรอง
 Covid ดิจิทัล หรือ EU Digital COVID Certificate

สำหรับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การผลิต อันเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นเพียง “ชั่วคราว”  เท่านั้น



ภาพรวมจีดีพียูโรโซนถูกคาดว่า
ปี 2021 จะขยายตัวได้ 4.8
%
ปี 2022 จะขยายตัวได้ 4.5
%


ปริมาณผลผลิตช่วงไตรมาสที่ 4/2021 จะกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนไวรัสระบาด (ไตรมาสที่ 4/2019) ซึ่งเป็นคาดการณ์ที่ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า

กิจกรรมทางเศรษฐกิจช่วงไตรมาสที่ 4/2022 คาดจะยังทรงตัวที่ 1% ลดลงกว่าที่เคยคาดไว้ช่วงก่อนการระบาดของไวรัส



ความรวดเร็วของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ: ค่อนข้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก

บางประเทศถูกคาดว่าจะเห็นผลผลิตทางเศรษฐกิจกลับมาได้เทียบเท่าช่วงก่อนการระบาดของไวรัสประมาณไตรมาสที่ 3/2021 แต่บางประเทศอาจใช้เวลานานกว่า

 

คาดการณ์เงินเฟ้อในฝั่งยุโรป

ปี 2021 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2.2%  (+0.3%)
ปี 2022 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.6
%  (+0.1%)

 

คาดการณ์เงินเฟ้อยูโรโซน

ปี 2021 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.9%  (+0.2%)
ปี 2022 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.4
%  (+0.1%)

 

 

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีนี้และปีหน้า อันเป็นผลจาก
- ราคาพลังงานเพิ่มขึ้น
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น
- การผลิตเผชิญภาวะ “คอขวด” จากปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบและวัตถุดิบทางการผลิต
- ความต้องการทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ทั้งหมดนี้จึงน่าจะเป็นตัวเพิ่มแรงกดดันทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2021

สำหรับปี 2022 คาดว่าจะเริ่มเห็นการกแก้ไขปัญหาทางด้านอุปทานอย่งค่อยเป็นค่อยไป และน่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งอุปสงค์ที่เติบโตได้ต่อในระดับปานกลาง

 

แนวโน้มความเสี่ยงและความไม่แน่นอน: ยังอยู่ในระดับสูง แต่ภาพรวมดูจะสมดุลมากขึ้น

ปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่
- การระบาดอย่างรวดเร็วมากขึ้นของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่สร้างความกังวลมากยิ่งขึ้น แม้จะมีการฉีดวัคซีนในประเทศอยู่ในระดับสูงก็ตาม
- การรับมือของภาคครัวเรือนและบริษัทต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงมาตรการเข้มงวด และผลกระทบจาก “การถอนนโยบายสนับสนุน”

อย่างไรก็ดี เงินเฟ้ออาจปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ได้ หากข้อจำกัดด้านอุปทานยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและสร้างแรงกดดันด้านราคามากขึ้น ตลอดจนส่งผลที่รุนแรงขึ้นต่อดัชนีราคาผู้บริโภค

 


ที่มาec.europa.eu


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com