• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2564

    8 กรกฎาคม 2564 | Gold News


ราคาทองคำทรงตัวเหนือ 1,800 เหรียญ หลังทราบรายงานเฟด – U.S. Yield ดิ่ง

ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเหนือ 1,800 เหรียญวานนี้ อันเป็นผลมาจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีทำต่ำสุดรอบกว่า 4 เดือน หลังจากทราบรายงานประชุมเฟด ซึ่งสมาชิกเฟดส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงการรอเป้าหมายทางเศรษฐกิจ “ให้เกิดความคืบหน้าอย่างยั่งยืน”  

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด ปรับขึ้น +0.4% ที่ 1,804.16 เหรียญ
หลังจากที่ทำสูงสุด1,814.78 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 17 มิ.ย. ไปเมื่อวันอังคาร

 

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด +0.4% ที่ 1,802.10 เหรียญ

  

·         กองทุนทองคำ SPDR ขายทองคำออกต่อเนื่องอีกเป็นครั้งที่ 4 ในเดือนก.ค. นี้ โดยล่าสุดขาย 1.75 ตัน ปัจจุบันลดการถือครองมาที่ 1,040.48 ตัน

ส่งผลให้ภาพเดือนก.ค. ขายออกเพิ่มมาที่ 5.30 ตัน รวมตลอดทั้งปีตั้งแต่ม.ค. - ปัจจุบัน SPDR มีสถานะขายสุทธิ 130.26 ตัน


 

·         นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered ระบุว่า การที่ทองคำปรับขึ้นเหนือ 1,800 เหรียญได้มาจากการที่เฟดส่งสัญญาณเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ มากกว่าจะสร้างเซอร์ไพร์สในเรื่องการคุมเข้มทางการเงิน  และดูจะยังไม่เห็นถึงการปรับลดการเข้าซื้อพันธบัตร ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นที่ยังถูกมองว่าเป็นเพียงชั่วคราว  ขณะที่การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯดูจะสนับสนุนทิศทางทองขาขึ้น

 

อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปเฟดต้องการเห็นเป้าหมายมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนเสียก่อน

 

·         การประชุมเดือนมิ.ย. ทีเฟดสร้างเซอร์ไพร์สตลาดด้วยท่าทีคุมเข้มทางการเงิน ดูจะกดดันให้ทองคำปรับลงมาแล้วกว่า 7%

 

·         นักวิเคราะห์จาก ANZ กล่าวว่า ความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงิน และเงินเฟ้อ ดูจะสร้างความเสี่ยงให้ตลาดหุ้นผันผวน และหนุนความต้องการทองคำในฐานะ Safe-Have  

 

ขณะที่การเข้าซื้อทองคำของบรรดาธนาคารกลางต่างๆในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วยชดเชยกับอุปสงค์ทองแท่งที่ลดลงในช่วง Q2/2021

 

·         ซิลเวอร์ปิดทรงตัวที่ 26.14 เหรียญ

·         แพลทินัมปิด -0.5% ที่ 1,086.32 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด +2.6% ที่ 2,865.27 เหรียญ

 

·         ดอลลาร์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากรายงานประชุมเฟดที่ยังคงสะท้อนว่าเฟดมีความเป็นกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางการเงิน แต่ “ไม่สร้าง Surprises” ครั้งใหญ่ใดๆให้แก่ตลาด

 

ดัชนีดอลลาร์ปิด +0.13% ที่ 92.664 จุด ภาพรวมเคลื่อนไหวสะสมพลังและเข้าใกล้สูงสุดรอบ 3 เดือน แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะอ่อนตัวทำต่ำสุดตั้งแต่ก.พ.

ยูโรทำต่ำสุดรอบ 3 เดือน หลังจากทราบข้อมูลทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่ดูจะเพิ่มความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยยูโรทรงตัวบริเวณ 1.8035 ดอลลาร์/ยูโร หลังทำต่ำสุดรอบ 3 เดือนบริเวณ 1.17815 ดอลลาร์/ยูโร

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลงต่อเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความกังวลครั้งใหม่เรื่องการระบาดของ Delta Covid-19


·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ดิ่งลงแรงทำต่ำสุดตั้งแต่ 18 ก.พ. บริเวณ 1.285% ก่อนจะทรงตัวที่ 1.305%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 30 ปี ปรับลงทำต่ำสุดตั้งแต่ 10 ก.พ. บริเวณ 1.922%

 

·         ภาวะ “Reflation” กำลังกลับมาสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดพันธบัตร

ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวกลับมาได้จากวิกฤต  Covid-19 พร้อมๆกับการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ ดูจะส่งผลต่อตลาดพันธบัตรอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวลงรายวันครั้งใหญ่ที่สุดรอบที่ 2 ของปีนี้ ก่อนจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วแต่ก็ยังปิดต่ำกว่า 1.3ใกล้ต่ำสุดรอบ 4 เดือน


ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษปรับลงทำต่ำสุดเช่นกั


ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีร่วงลง -0.3% หลังกลับมาทรงตัวเหนือ 0เมื่อเดือนพ.ค.


ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากนักลงทุนไม่มั่นใจและกังวลเรื่องข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าคาด และความกังวลเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่ของ Covid-19




 

·         “ไบเดน” เดินหน้าโปรโมทแผนขึ้นภาษีบริษัทในรัฐอิลินอยส์ แต่ถูกภาคธุรกิจเห็นต่าง

 

·         สรุปรายงานประชุมเฟดประจำเดือนมิ.ย. 2021

สมาชิกเฟดยังคงท่าที “อดทน” ต่อการคุมเข้มทางการเงิน และมี “ความพร้อมที่ดี” ในการรับมือกับเงินเฟ้อและความเสี่ยงอื่นๆ


สามาชิก 2-3 รายที่ให้การสนับสนุนเร่งดำเนินการดังกล่าว และระบุว่า “เฟดควรเริ่มหารือเรื่องการลดการเข้าซื้อพันธบัตร” เนื่องจาก ทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าเร็วกว่าที่คาดการณ์ ควบคู่กับการขึ้นเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของเฟดยังคงเป็นไปลักษณะ “ไม่เร่งรีบ” และ “ตลาดจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่จะเกิดขึ้นด้วย” ซึ่งก็เป็นจุดที่สมาชิกเฟดส่วนใหญ่เห็นพ้องกัน โดยสมาชิกส่วนใหญ่มองว่าต้องเห็น “ความคืบหน้าเป็นไปอย่างยั่งยืน” เฟดจึงค่อยเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบาย  และสมาชิกเฟดยังพร้อมที่จะเตรียมดำเนินการใดๆหากเป็นผลจากเงินเฟ้อหรือความเสี่ยงอื่นๆด้วย



 

·         Summer 2021 Economic Forecast: การเปิดทำการเศรษฐกิจกระตุ้นการฟื้นตัวของยูโรโซน




 

·         “นายราฟาเอล บอสติก” ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า กล่าวว่า ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ Delta ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอการฟื้นตัวได้

 

·         CORONAVIRUS UPDATES:

 

ยอดติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกใกล้แตะ 186 ล้านรายในเร็วๆนี้ โดยที่ยอดติดเชื้อสะสมรวมทั่วโลกเพิ่มมา 453,819 ราย สู่ระดับสะสม 185.82 ล้านราย

ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสะสมที่ 4.017 ล้านราย

 


 

·         ข้อมูลจาก CDC สะท้อนว่าการระบาดของสายพันธุ์ Delta กำลังการมาเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯ

·         CDC เผยข้อมูลการประเมินการระบาดอขงสายพันธุ์ Delta ในสหรัฐฯ พบว่า ช่วง 2 สัปดาห์ก่อนมีผู้ติดเชื้อใหม่กว่า 51.7% ที่ติดสายพันธุ์ดังกล่าว ขณะที่สายพันธุ์ Alpha หรือที่พบในอังกฤษลดจำนวนลงมา โดยมีอัตราการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ลดลงมาที่ 28.7%

 

·         REC เผย การจ้างงานในอังกฤษเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังผ่านพ้น Lockdown

 

·         WHO เรียกร้องให้เกิดการระมัดระวังขั้นสุด สำหรับการยกเลิกมาตรการด้านสาธารณสุขโดยสมบูรณ์


·         ไทยขยับอันดับพบผู้ติดเชื้อใหม่สูงสุดที่ 17 ของโลก โดยวานนี้พบติดเชื้อใหม่เพิ่ม 6,519 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 54 ราย

รวมสะสมในประเทศ 301,172 ราย และเสียชีวิตสะสม 2,387 ราย

ภาพรวมโควิดกทม. กระจาย 40 จังหวัด ป่วยสีแดงเพิ่ม 5% เป็น 10% ใส่ท่อช่วยหายใจ 10 ราย เสียชีวิต 1-2 ราย 'เดลต้าแพร่เร็ว จำนวนผู้ติดเชื้อ 2 เท่า ภายใน 2 สัปดาห์ หวั่นติดเชื้อ 10,000 รายต่อวันในสัปดาห์หน้า

 

·         สำนักข่าว Nikkei Asia เผย ไทยอาการหนัก รั้งท้ายดัชนีฟื้นตัวจากโควิด

โดยชี้ว่าประเทศไทยเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการควบคุมโควิด-19 ในปีที่แล้ว แต่มาตรการล็อคดาวน์สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อเศรษฐกิจไทย โดยจีดีพีหดตัว 6.1% ในปี 2563 ตามรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

·         ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด‘อ่อนค่า’ ที่32.36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.28 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.30-32.40 บาท/ดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า จาก
- การแข็งค่าของเงินดอลลาร์
- ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกและในไทย

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

 

- รายงานคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวดน้มฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึงมากขึ้น จากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสาม รวมทั้งยังมีความเสี่ยงในระยะข้างหน้าจากการระบาดระลอกใหม่ โดยมองว่ามาตรการการคลัง มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่นโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง

 

- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 ลง โดยคาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 0-1.5% จากเดิมคาด 0.5-2% ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเยียวยาของภาครัฐ พร้อมกับปรับเพิ่มประมาณการส่งออกปีนี้เป็น 8-10% จากเดิม 5-7% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีกว่าที่คาดไว้

 

- ศปก.ศบค. พร้อมรับพิจารณาข้อเสนอการกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศอีกครั้ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เนื่องจากปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ต่อวันยังอยู่ในระดับสูง


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com