· ฮ่องกงปิดร่วงนำ - หุ้นเทคโนโลยีจีนร่วง จากความกังวลเรื่องข้อกำหนดจีน
หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดร่วง จากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนในตลาดฮ่องกงทรุดภายใต้แรงกดดันจากความกังวลเรื่องการกลับมาเผชิญกับข้อกำหนดจากทางการจีน ที่ประกาศจะดำเนินการกับบริษัทจีนที่มีรายชื่ออยู่ในกระดานซื้อขายของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยี
ทั้งนี้ การประกาศดังกล่าว มีขึ้นให้หลังจากที่บริษัท Didi หนึ่งในยักษ์ใหญ่ของจีน และบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ เผชิญกับการปราบปราม ดังกล่าว จึงยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลต่อแนวโน้มของข้อกำหนดต่างๆ
หุ้นบริษัท Tencent ร่วง -4.19%
หุ้นบริษัท Alibaba ดิ่ง -3.79%
หุ้นบริษัท Meituan ทรุด -6.57%
ดัชนี Hang Seng Tech Index ปิดทรุดตัว -3.75%
ดัชนี HSI ซึ่งเป็ฯดัชนีหลักของฮ่องกงปรับตัวลงฉุดหุ้นภูมิภาค โดยปิด -2.83%
ดัชนี Shanghai Composite ของจีน ปิด -0.79% ที่ระดับ 3,525.50 จุด
ดัชนี Shenzhen Component ปิด -0.382% ที่ 14,882.90 จุด
ดัชนี S&P/ASX200 ปิด +0.2% ที่ 7,341.40 จุด
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปิด -1.55%
· หุ้นญี่ปุ่นปิดร่วง หลังมีการประกาศภาวะฉุกเฉินกรุงโตเกียวรอบ 4 จากการระบาดที่เพิ่มจำนวน จุดประกายความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว
ดัชนี Nikkei ปิด -0.88% ที่ 28,118.03 จุด ปิดต่ำสุดในรอบ 2สัปดาห์
ดัชนี Topix ปิด -0.9% ที่ 1,920.32 จุด
· หุ้นฮ่องกงร่วงทำต่ำสุดรอบ 6 เดือนจากหุ้นเทคโนโลยีดิ่งแรง
· หุ้นมาเลเซียปิด -1% ขณะที่ค่าเงินริงกิตในประเทศอ่อนค่าจากภาวะความวุ่นวายทางการเมือง หลังมีการเรียกร้องให้ "นายกฯมาเลเซีย" ลาออกจากตำแหน่ง และวิกฤต Lockdown จาก Covid-19 ในประเทศยังดำเนินอยู่
· หุ้นยุโรปเปิดร่วงแรงจากความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก - Team Viewer เปิด -13%
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดแดนลบ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกกลับมามีท่าทีระมัดระวังมากยิ่งขึ้น แม้ว่าดัชนี S&P500 และ Nasdaq จะยังปิดทำ Record High ได้เมื่อคืนที่ผ่านมา
ดัชนี Stoxx 600 เปิด -1.2%
หุ้นกลุ่มทรัพยากรพื้นฐานเปิด -2.7%
อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นสหรัฐฯในตลาดเมื่อเช้านี้ก็เปิดเคลื่อนไหวในแดนลบ
· หุ้นอนุพันธ์สหรัฐฯปรับตัวลง แม้ S&P500 และ Nasdaq จะทำ New Records
ดัชนีหุ้นสหรัฐฯยังคงปิดปรับตัวลดลงต่อ
ดัชนี Dow Futures ปรับลง 262 จุด
ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวแดนลบ
ดัชนี Nasdaq แกว่งตัวแดนลบเช่นกัน
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ดิ่งลง อาจส่งสัญญาณการยุติกระแส "Reflation" ในตลาดหุ้น
นักลงทุนในตลาดหุ้นกำลังจับตาการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของตลาดพันธบัตร ที่จะเป็นหนึ่งในนัยยะสำคัญต่อความสำเร็จด้านการลงทุนในปีนี้ ขณะที่สภาวะการซื้อขายที่เรียกว่า Reflation Trade ได้ช่วยให้หุ้นของบริษัทที่ค่อนข้างอ่อนไหวทางเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นอย่างมากมาแล้ว หลังจากที่ไม่สดใสมาในรอบกว่า 10 ปี
อย่างไรก็ดี ณ เวลานี้ นักลงทุนมีการเข้าซื้อหุ้นของกลุ่มผู้ผลิตพลังงาน, ธนาคาร และบริษัทอื่นๆ จากคาดการณ์ที่ว่าจะได้รับประโยชน์ จากการรีบาวน์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงต้นปี จึงมีผลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในทิศทางที่สูงขึ้น
แต่การซื้อขายล่าสุดในเวลานี้ ดูจะเป็นผลจาก "ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว" จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯร่วงลงทำต่ำสุดรอบกว่า 4 เดือน
ขณะที่ตลาดหุ้นยังคงทรงตัว โดยดัชนี S&P500 ยังทรงตัวใกล้ Record Highs หลังตลาดหุ้นเริ่มมีการ Rotation อย่างรวดเร็วเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางนักลงทุนที่ก้าวออกจากหุ้นบริษัทที่อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ และกลับมาเล่นในหุ้นเทคโนโลยีรายใหญ่ รวมไปถึง Growth Stocks นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมตลาดหุ้นในกลุ่มนี้จึงมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด
· ตลาด IPO สหรัฐฯ เข้าสู่ "ภาวะอันตราย" จากการที่บริษัทจีนต่างๆ เผชิญการปราบปรามของรัฐบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีการเพิ่มมาตรการการลงโทษสำหรับบริษัทจีนในต่างแดน รวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Didi Global Inc ด้วยเมื่อไม่นานนี้ หลังจากที่บริษัทดังกล่าวทำการเปิดตัวในตลาดนิวยอร์กก็ต้องพบกับแนวโน้มไม่สดใสทันที
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ตลาดหุ้นไทยปิดเช้าร่วง 24.35 จุด หลังโควิดระบาดหนัก-เล็งใช้มาตรการคุมเข้ม-หวั่นกระทบ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,552.25 จุด ลดลง 24.35 จุด (-1.54%) มูลค่าการซื้อขายราว 60,241 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงเช้า โดยทำระดับสูงสุด 1,567.33 จุด และระดับต่ำสุด 1,550.93 จุด
- ม.หอการค้า เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.ปรับลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาที่ 43.1 จากระดับ 44.7 โดยมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 272 เดือนหรือ 22 ปี 8 เดือนนับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค.41 เป็นต้นมา
- ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้เสนอผลการศึกษาข้อดี ข้อเสีย ข้อห่วงใย และการปรับตัวของไทยกรณีที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) ซึ่งศึกษาเพิ่มเติมจากข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกซีพีทีพีพีให้ ครม.พิจารณาแล้วขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณากลั่นกรอง และจะบรรจุในวาระการประชุม ครม.อีก 2-3 สัปดาห์
- รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปี 64 ว่า ขณะนี้ที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงแผนฯ เป็นครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว โดยได้ปรับวงเงินการก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอีก 107,298 ล้านบาท และปรับวงเงินในแผนบริหาร
หนี้เดิมเพิ่มขึ้นอีก 122,583 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เตือนว่า กระทรวงการคลังควรให้ความสำคัญกับการบริหารเงินคงคลังและบริหารเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลอย่างเหมาะสม และรัดกุมด้วย เพราะตอนนี้สถานการณ์โควิด-19 มีความรุนแรงและมีแนวโน้มกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมากขึ้น
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การันตีการส่งออกของประเทศไทย ครึ่งหลังของปีนี้ มีแนวโน้มสดใส หลังเศรษฐกิจโลก-คู่ค้าฟื้น และยังได้ผลดีจากการที่ไทยใช้ดิจิทัลดันยอดการค้า เชื่อมูลค่าขยายตัวโตเกินเป้าหมายเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- แบงก์ชาติไม่ถอย “ลดดอกเบี้ย” ทุบสินเชื่อบุคคล-จำนำทะเบียน
แบงก์ชาติไม่ถอยลดดอกเบี้ย สั่งแบงก์-น็อนแบงก์รายงานต้นทุนยิบ คาดประกาศลดเพดานดอกเบี้ย 2-3% แบบชั่วคราวปีครึ่ง ลุ้นเริ่ม ก.ย. 64 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี เปิดข้อมูลลดดอกเบี้ย “สินเชื่อบุคคล-จำนำทะเบียน” ช่วยลดภาระประชาชนปีละเกือบ 2 หมื่นล้าน วงในเผยกระตุ้นการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- กระแส 'ล็อกดาวน์' ฉุด 'บาทอ่อน' ทุบสถิติรอบ 14 เดือนอีกครั้ง
เงินบาทช่วงเช้าวันนี้ อ่อนค่าแตะรับ 32.47 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติใหม่สูงสุดในรอบ 14 เดือน จากช่วงปิดตลาดที่ระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์ เงินบาทเผชิญแรงขายตามสกุลเงินในภูมิภาค ท่ามกลางความเสี่ยงโควิด-19แรงขึ้นและการยกระดับมาตรการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด
ที่มา: CNBC, Reuters