• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2564

    12 กรกฎาคม 2564 | Gold News



อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่ง-หุ้นสหรัฐฯทำ New High-ดอลลาร์อ่อน-ทองขึ้น-น้ำมันบวก

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้นได้ต่อ ขณะที่ 3 ดัชนีหลักในตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดทำ Record Highs และตลาดคลายผ่อนคลายกังวลเล็กน้อยเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจาก Covid-19

สัญญาณความเสี่ยงที่เกิดขึ้นดูจะเป็นเพียงชั่วคราว แต่ก็ยังช่วยหนุนให้ตลาดทองคำปิดปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3

อย่างไรก็ดี ช่วงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลเกี่ยวกับ Delta Covid-19 ส่งผลให้

- เกิดการลดความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง

- เกิดความต้องการถือครองสินทรัพย์ Safe-Haven อาทิ ตลาดพันธบัตร, ทอง และกระแสเงินเยน

- กระแส Reflation Trade


· ราคาทองคำคืนวันศุกร์ปิดบวก และปิดสัปดาห์ดีสุดในรอบ 7 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจาก

1. การอ่อนค่าของดอลลาร์ลง 0.25% แตะ 92.131 จุด

2. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ Delta Covid-19 ที่อาจกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.5% ที่ 1,810.99 เหรียญ ปิดสัปดาห์ +1.4%

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด +0.6% ที่ 1,810.6 เหรียญ


· นักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities กล่าวว่า ตลาดยังคงตอบรับกับสายพันธุ์ Delta ที่กำลังระบาดต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ด้วยดี ชะลอตัว ไม่เพียงแต่ประเทศสหรัฐฯ แต่ยังรวมถึงประเทศต่างๆทั่วโลก


บรรดานักลงทุนได้รับความชัดเจนว่า เฟดจะยังรแให้เป้าหมายจ้างงานโตได้เต็มที่ รวมทั้งยังมีความวิตกเกียวกับเงินเฟ้อที่อาจเคลื่อนตัวสูงกว่าระดับเป้าหมาย ทั้งหมดนี้จึงอาจทำให้ทองไปเหนือ 1,850 เหรียญได้จนถึงสิ้นปี


· ทองคำ ถูกใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ, การเมือง และการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ และยิ่งดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อได้ดีจากการที่สายพันธุ์ใหม่ระบาดหนัก หนุนการกลับมาใช้มาตรการเข้มงวด โดยเฉพาะในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


· SPDR ถือครองทองคำเท่าเดิม 1,040.19


· ปัจจัยจำกัดทองคำ

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นจากต่ำสุดรอบ 4 เดือนครึ่ง โดยวันศุกร์ปิด 1.365%

- ความต้องการทองคำแท่งในจลาดอินเดีย และจีนชะลอตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการขึ้นภาษีในประเทศ

- กลุ่มผู้กำหนดนโยบายอังกฤษ ชี้การ Clearing การซื้อขายทองคำของธนาคารต่างๆในศูนย์กลางที่กรุงลอนดอน อาจได้รับการยกเว้นจากมาตรการด้านเงินทุนที่เข้มงวดตั้งแต่ม.ค.ทำให้ถูกมองว่าการถอนมาตรการบางส่วนอาจคุกคามเงื่อนไขของตลาดได้


· ซิลเวอร์ปิด +0.9% ที่ 26.15 เหรียญ แต่ปิดสัปดาห์ลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นก่อนหน้าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

· แพลทินัมปิด +2.5% ที่ 1,102.53 เหรียญ

· พลาเดียมปิด +0.2% ที่ 2,811.90 เหรียญ

ทั้งพลาเดียมและแพลทินัมปิดสัปดาห์แดนบวก


· ค่าเงินเยนปิดอ่อนค่าเล็กน้อยที่ 0.3% บริเวณ 110.14 เยน/ดอลลาร์


· ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.24% ที่ 1.1871 ดอลลาร์/ยูโร


· หุ้นทั่วโลกฟื้นตัวจากหุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆที่ฟื้นตัวกลับหลังเผชิญแรงเทขายทำกำไรในช่วงต้นสัปดาห์จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ


· ดาวโจนส์ทะยานขึ้นกว่า 440 จุด ทำสูงสุดประวัติการณ์ โดยรีบาวน์ได้จากที่ปรับลงในช่วง 1 วัน


· กลุ่มนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงจากการประเมินการประมูลผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ วงเงิน 3.8 หมื่นล้านเหรียญในวันนี้ และการประมูลผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีในวันพรุ่งนี้ มูลค่า 2.4 หมื่นล้านเหรียญ


· นักวิเคราะห์บางราย ระบุว่า หากอุปสงค์ความต้องการประมูลพันธบัตรเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีไปถึง 1.45% ได้อย่างรวดเร็ว แต่หากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างมากก็อาจเห็นการกลับมาเทขายในตลาดพันธบัตรของกลุ่มนักลงทุน


· ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเริ่มมากขึ้นว่าอาจไม่เพียงพอต่อสู้กับสถานการณ์ไวรัสเวลานี้เพื่อให้เศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติ ประกอบกับตลาดกังวลเรื่องการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆ แต่ก็อาจเห็นนแนวทางเพิ่มเติมหากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น


· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นกว่า 2% รับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลง

ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นต่อเนื่อง 2 วันทำการ โดยตลาดยังตอบรับกับข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ และสัญญาณความแข็งแกร่งของอุปสงค์ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย จึงเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจที่สำคัญ

น้ำมันดิบ WTI ปิด +1.62 เหรียญ หรือ +2.2% ที่ 74.56 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent ปิด +1.43 เหรียญ หรือ +1.93% ที่ระดับ 75.55 เหรียญ/บาร์เรล


· เฟด ชี้ การขาดแคลนวัตถุดิบและการจ้างงานเป็นปัญหาต่อ “การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid และช่วงเปลี่ยนผ่านของเงินเฟ้อ


· “แรนดัล ควอลัส” รองประธานฝ่ายกำกับดูแลภาคธนาคารของเฟด ระบุว่า กลุ่มผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกจำเป็นต้องหาวิธีร่วมมือกันในการพยายามจัดการกับปัญหาภูมิอากาศที่จะสร้างความเสี่ยงทางการเงิน และต้องดำเนินการไปข้างหน้าให้ “รุดหน้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้”


· มุมมองนักวิเคราะห์จาก Charles Schwab ระบุว่า นักลงทุนมีความวิตกกังวลในเรื่อง Delta Covid-19 มากกว่าแผนการถอนนโยบายของเฟด โดยจะเห็นได้จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงหลังจากที่ปรับขึ้นมาตลอดตั้งแต่ช่วงสิ้นปีที่แล้


· การประชุมยอดดุลบัญชีอีซีบี สะท้อนถึง อีซีบีเริ่มมีการหารือลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวาระประชุมเดือนมิ.ย. แม้ว่าภาพรวมของมติที่ประชุมส่วนใหญ่จะยังเห็นพ้องใช้นโยบายสนับสนุนต่อไป


· สมาชิกอีซีบี ชี้ “เร็วเกินไปที่จะถอนนโยบายซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการฉุกเฉิน”

ผู้ว่าการธนาคารกลางอิตาลี หนึ่งในสมาชิกของอีซีบี กล่าวว่า แม้ว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะเห็นการกลับมาเปิดการเดินทางด้านการท่องเที่ยวในหลายๆประเทศในแถบยูโรโซน แต่นี่ก็ยังไม่ใช่เวลาแห่งการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินในตอนนี้ เพราะยังต้องรับมือกับผลกระทบของการระบาดต่อ


· สมาชิกบอร์ดบริหารอีซีบี ไม่คิดว่าจะเห็นเงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งสูงเกินไป และการปรับขึ้นน่าจะเกิดเพียงชั่วคราว


· “ไบเดน-แมร์เคล” จะร่วมหารือกันในวันที่ 15 ก.ค.นี้ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องอัฟกานิสถาน, ความมั่นคงทางไซเบอร์ และท่อส่งน้ำมัน Nord Stream


· ประธานที่ประชุม G20 แนะหลีกเลี่ยงการกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดต่อ Covid-19 รอบใหม่ แม้ว่าสายพันธุ์ใหม่จะเป็นความกังวลหลักของเศรษฐกิจโลก


· ประชุม G20 เตือน การระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่กำลังเป็นภัยที่เข้าคุกคามการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก

ตั้งแต่การเข้าถึงวัคซีนที่ล่าช้าของประเทศที่กำลังพัฒนาที่กำลังถือเป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจโลก


· ประชุม G-20 เห็นพ้องเดินหน้าแผนต่อไปต่อการปราบปรามภาษีข้ามชาติ

บรรดาผู้นำ G20 กล่าวว่า การมาของข้อตกลงดังกล่าวจะเข้าสู่เสต็ปต่อไปสำหรับการ “สร้างเสถียรภาพมากขึ้นและโครงสร้างความเท่าเทียมของภาษีข้ามชาติ”

อย่างไรก็ดี กลุ่ม G20 จะมีเป้าหมายในการอนุมัติแผนภาษีดังกล่าวเป็นลำดับต่อไปในการประชุม G20 เดือนต.ค.


· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี เล็งเห็น ข้อตกลงการปฏิรูปภาษีข้ามชาติครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นในวาระการประชุมเดือนต.ค.


· “เจเน็ต เยลเลน” ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงภาษีบริษัทรายใหญ่ต่างๆ อาจยังไม่พร้อมดำเนินการจนถึงปี 2022


· นางเยลเลนยัง “ผลักดัน” ให้ภาคธนาคารต่างๆ มีการพัฒนาระบบเพื่อพยายามรับมือต่อ Climate Financing มากยิ่งขึ้น


· จีนประณามการดำเนินการอย่าง “ไร้เหตุผล” ของสหรัฐฯในการขยายรายชื่อบริษัทจีนเข้าสู่บัญชีดำทางเศรษฐกิจ

เมื่อวานนี้ จีนประกาศกร้าวคัดค้านการเพิ่มรายชื่อบริษัทจีนจำนวน 23 แห่งเข้าสู่บัญชีดำทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทางทหาร


· ผู้นำเกาหลีเหนือ-จีน ประกาศถึงความร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งครั้งยิ่งใหญ่สำหรับความมุ่งร้ายจากต่างประเทศ ในการครบรอบสนธิสัญญาสันธไมตรีระหว่างสองประเทศ


· โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพร้อมที่ปรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่าง “ยืดหยุ่น” และพร้อมจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดเป็นเวลานาน


· อังกฤษส่งออกสินค้าอียูเพิ่ม แม้ว่าข้อตกลงขั้นต้น post-Brexit จะลดลง


· ปอนด์ปิดวันดีสุดรอบ 1 สัปดาห์จากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่ม โดยปอนด์แข็งค่าเพิ่ม 0.3% แตะ 1.3873 ดอลลาร์/ปอนด์


· สถานการณ์ระบาดของ Covid-19

ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกทะลุ 187 ล้านราย โดยล่าสุดแตะ 187.615 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมที่ 4.04 ล้านราย




· รัฐมนตรีกระทรวงวัคซีน Covid-19 มั่นใจ อังกฤษจะเดินหน้าผ่อนคลายประเทศต่อในวันที่ 19 ก.ค. นี้ ตามคาดการณ์


· หญิงชาวเบลเยียมที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2 สายพันธุ์พร้อมกัน ระหว่าง “Alpha” และ “Beta”

Alpha เป็นสายพันธุ์ที่พบในอังกฤษ
Beta เป็นสายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้


· สถานการณ์ระบาดในไทย

วันศุกร์ พบยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นทุบสถิติ 9,276 ราย ตายเพิ่ม 72 คน
วันเสาร์ พบยอดติดเชื้อใหม่ทะยานต่อ 9,326 ราย ตายเพิ่มทำนิวไฮ 91 คน
วันอาทิตย์ พบยอติดเชื้อใหม่ทำสูงสุดใหม่ต่อเนื่องอีก 9,539 ราย เสียชีวิต 86 ราย

รวมตลอดช่วง 3 วัน ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 28,141 ราย เสียชีวิตใหม่ช่วง 3 วันเพิ่ม 249 ราย

ไทขยับอันดับโลกรวมสถานการณ์ติดเชื้อสะสมในประเทศเป็นลำดับที่ 61 โดยมีผู้เสียชีวิตสะสมรวมล่าสุด 336,371 ราย และเสียชีวิตสะสมในประเทศ 2,711 ราย

ส่วนอันดับยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ไทยรั้งอันดับที่ 11 จากประมาณ 19-20 ในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว



อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในไทยยังคงตอกย้ำความวิกฤตด้านการจัดการการระบาด โดยหากเทียบในแถบเอเชียจะพบว่า ไทยมียอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ 5 และมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 ในภูมิภาค



แต่ยอดเสียชีวิตในประเทศอยู่อันดับ 7 ของแถบเอเชีย




· Reuters รายงานว่า บุคลากรทางการแพทย์ของไทยนับร้อยติดเชื้อ Covid-19 แม้จะได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เผยว่า บุคลากรทางการแพทย์กว่า 600 ราย ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดส ได้รับการติดเชื้อ Covid-19 ท่ามกลางแรงกดดันให้เกิดการเพิ่มการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน


· นักบริหารเงิน คาด กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (12-16 ก.ค.) ที่ 32.40-33.00 บาท/ดอลลาร์ฯ

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
1. สถานการณ์และมาตรการสกัดโควิด 19 ในประเทศ
2. ถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด


ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ มีดังนี้
- ผลสำรวจแนวโน้มภาคธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟีย
- ผลสำรวจกิจกรรมภาคการผลิตของนิวยอร์กเดือนก.ค.
- ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค
- ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก
- การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์


นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของบีโอเจ และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิ.ย. ของจีน อาทิ ข้อมูลการส่งออก ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และจีดีพี Q2/2021


· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

- เคอร์ฟิว 10 จังหวัด “สีแดงเข้ม” ห้ามออกนอกบ้าน 3 ทุ่ม-ตี 4 เริ่มแล้ววันนี้

สำหรับพื้นที่ควบคุมพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้มพิเศษ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา ได้กำหนดห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ในระหว่างเวลา 21.00 -04.00 น. ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้บังคับใช้ โดยจะเริ่มใช้มาตรการตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

- คลัง-สภาพัฒน์ ชงเยียวยารอบใหม่ เข้า ครม. สัปดาห์นี้

คลัง-สภาพัฒน์เตรียมเสนอมาตรการเยียวยา จากผลกระทบ “ล็อกดาวน์” รอบใหม่ เข้า ครม.สัปดาห์นี้ คลังเร่งศึกษา พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน เพียงพอรับมือวิกฤตหรือไม่


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com