ปริมาณการซื้อขาย Cryptocurrency ทรุด จากความน่าสนใจที่ลดลงหลัง Bitcoin ร่วง
Cryptocurrency มีการปรับตัวลดลงมาในแดนลบต่อเนื่อง 2 เดือนจากข่าวเชิงลบต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขาย หรือ Trading volumes ในตลาดซื้อขายขนาดใหญ่ ได้แก่ Coinbase, Kraken, Binance และ Bitstamp มีการ “ปรับตัวลดลงไปกว่า 40% ในเดือนมิ.ย.” ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวลง และมีความผันผวนขาลงจากปัจจัยต่างๆ
ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา
Bitcoin ทำ Low ที่ 28,908 เหรียญ
ปิดเดือนมิ.ย. -6%
มีปริมาณซื้อขายรายวันสูงสุดเพียง 1.382 แสนล้านเหรียญ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ลดลงกว่า 43% จากสูงสุดที่ทำไว้ในเดือน พ.ค.
รายงานล่าสุดจากจีน พบว่า ความพยายามหลายๆครั้งของจีนตลอดช่วงหลายปีในการปราบปรามภาคอุตสาหกรรม Cryptocurrency ดูจะส่งผลกระทบอย่างมาก
ขณะที่กลุ่มนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญในระบบ Ecosystem ของ Cryptocurrency ยังมีความคาดหวังที่จะเห็นระยะยาวของค่าเงิน Crypto อยู่ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin หรือ Crypto อื่นๆ
ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการดิ่งลง
- ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. จีนมีคำสั่งระงับการเตรียมเปิดตัว “ค่าเงินดิจิทัล” ของตนเองเป็นการชั่วคราว
- จีนมีการสั่งปิดเหมือง Bitcoin ในหลายๆแห่งในหลายจังหวัดของประเทศกว่า 50%-60%
- ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดน้อยลง
อย่างไรก็ดี ปีนี้ ถือว่าเป็นปีแห่งราคา Bitcoin เช่นกันที่ราคาสามารถไต่เหนือ 60,000 เหรียญได้ ในขณะที่ Ether ปรับขึ้นไปทำสูงสุดแถว 4,000 เหรียญ จากความน่าสนใจครั้งใหม่ รวมถึงนักลงทุนหน้าใหม่ให้ก้าวสู่ตลาด Cryptocurrency ในจังหวะที่ค่าเงินกลุ่มนี้ยังไม่ก้าวสู่ตลาดขาลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ Cryptocurrency มีการทำ All-Time High จะเห็นได้ว่านักลงทุนโดยส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนมากขึ้น และมีหน้าใหม่ๆ เข้ามาลงทุนในระดับราคาสูง จึงทำให้เกิดการขาดทุนได้ และส่งผลให้นักลงทุนเกินกว่าครึ่งหายออกจากตลาด
ดังนั้น จึงไม่อาจคาดเดาได้ว่า ปริมาณการซื้อขายของตลาดจะเป็นเช่นไรเมื่อพิจารณาจากนักลงทุนโดยส่วนใหญ่ที่มีการเข้าซื้อเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
ข้อมูลจาก Kaiko ระบุว่า แม้ว่าจะเห็นกระแสการดิ่งลงของปริมาณการซื้อขาย แต่ภาพรวมก็ยังคงมีระดับการซื้อขายสูงกว่าปีที่แล้ว
นอกจากนี้ Trade the Chain ยังคาดว่าจะเห็นทิศทางตลาดเป็นขาขึ้นได้มากกว่าขาลง และมีแนวโน้มที่ Crypto รวมทั้งความผันผวนและปริมาณการซื้อขายจะกลับมาสู่ระดับสูงเหมือนครั้งก่อน
ที่มา: CNBC