• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2564

    14 กรกฎาคม 2564 | SET News


หุ้นเอเชีย-แปซิฟิกส่วนใหญ่ปรับลง หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯร้อนแรง


หุ้นเอเชีย-แปซิฟิกส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงหลังจากที่ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯออกมาร้อนแรงกว่าที่คาดการณ์

ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปิด -0.28%.

ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ -0.35%.

ดัชนี S&P/ASX 200 ปิด +0.12%

ดัชนี STI ของสิงคโปร์ปรับลง -0.18%

เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวได้ 14.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 สูงกว่าที่คาดการณ์ ขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสก่อนหน้าหดตัวไป -2%


·         หุ้นจีน-ฮ่องกงปิดลบ จากตลาดลดกระแสรับข่าวการลดดอกเบี้ย RRR ของธนาคารกลางจีน

 

หุ้นจีนปรับตัวลดลง หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง วันทำการ โดยตลาดลดความร้อนแรงเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยเงินสดกันสำรอง (RRR) ของทางธนาคารกลางจีน ขณะที่นักลงทุนกลับมาให้ความสนใจกับความตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ดัชนี CSI300 ปิด -0.9% ที่ระดับ 5,095.67 จุด

ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.8% ที่ระดับ 3,537.26 จุด

ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับลงท่ามกลางหุ้นในตลาดเอเชียปรับลง ท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 13ปี สูงกว่าที่คาดการณ์ จุดประกายความกังวล “เฟดอาจถอนนโยบายการเงินเร็วกว่าที่คาด”

ดัชนี HSI ปิด -0.6%.

ตลาดหุ้นจีนช่วงต้นสัปดาห์ปรับขึ้นได้จากการที่ธนาคารกลางจีน (PBoC) สร้างเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการปรับลดดอกเบี้ยเงินสดกันสำรองของภาคธนาคาร (RRR) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางจีนกล่าวว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าว “ไม่ได้เป็นทางเลือก” สำหรับบ่งชี้ถึงท่าทีในการใช้นโยบายทางการเงินใดๆ

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Nomura อัตราดอกเบี้ย RRR ถูกปรับลดลงมาอีก 0.5% และมีการใช้นโยบายสนับสนุนทางการเงินเพิ่ม โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจกลับมาเผชิญขาลงจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังชะลอตัว


·         รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า การลงทุนต่างประเทศโดยตรงของจีนมีการปรับตัวสูงขึ้น 28.7%

 

·         หุ้นญี่ปุ่นปิดปรับลงท่ามกลางการระมัดระวังก่อนถ้อยแถลงของประธานเฟด

หุ้นจีนปิดร่วงหลังจากที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สัปดาห์ จากนักลงทุนที่ปรับการถือครองก่อนทราบถ้อยแถลงของ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ต่อสภาคองเกรสในคืนนี้และพรุ่งนี้

ดัชนี Nikkei ปิด -0.38% ที่ระดับ 28,608.49 จุด

ดัชนี Topix ปิด -0.23% ที่ระดับ 1,963.16 จุด

สำหรับสัปดาห์นี้
ดัชนี Nikkei ปรับขึ้นได้แล้ว +2.4%
ดัชนี Topix ปรับขึ้น +2.7%

 

·         ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับลงหลังจากทราบรายงานข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ


ดัชนี Stoxx 600 เปิด -0.3% ในช่วงต้นตลาด

หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและการท่องเที่ยวเปิด -0.9%
หุ้นกลุ่มยานยนต์ปรับขึ้น +0.9%

 

·         ปอนด์แข็งค่า กดดันดัชนี FTSE100 ท่ามกลางเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

ดัชนี FTSE 100 ถูกดดันจากปอนด์ที่แข็งค่า แล้วไปกดดันกลุ่มผู้ค้าปลีกที่มีการส่งออกสินค้า ขณะที่ข้อมูลเงินเฟ้ออังกฤษทะยานสูงเหนือเป้าหมายที่บีโออีกำหนดต่อเนื่อง 2 เดือน ท่ามกลางอังกฤษที่มีกำหนดคลาย Lockdown ในเดือนนี้

ดัชนี Blue-chip อย่าง FTSE 100 ปรับลง -0.5%
หุ้นกลุ่มเดินทาง -1.2%
หุ้นกลุ่มค้าปลีกอย่าง Unilever, GlaxoSmithKline และ Diageo ปรับลงจากปอนด์แข็งค่าเช่นกัน

เงินเฟ้ออังกฤษปรับขึ้นมาแตะ 2.5% ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าระดับ 2.1% ในเดือนพ.ค. อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาอาหาร, พลังงาน, รถยนต์มือสอง, เสื้อผ้า และรองเท้าที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

·         ดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯปรับลง หลังจากที่หุ้นหลักส่วนใหญ่อ่อนตัวจากสูงสุดประวัติการณ์  ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวล “เงินเฟ้อ”

ดัชนี Dow Jones Futures ปรับลง –89 จุด
ดัชนี 
S&P 500 Futures และ Nasdaq 100 Futures ปรับตัวลงเล็กน้อย


·       อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบ 7.33 จุด ตามภูมิภาค กังวลเงินเฟ้อสหรัฐฯสูง-ผู้ติดเชื้อโควิดในปท.พุ่ง

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,563.66 จุด ลดลง 7.33 จุด (-0.47%) มูลค่าการซื้อขายราว 37,920 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ โดยทำระดับสูงสุด 1,571.81 จุด และระดับต่ำสุด 1,561.00 จุด

 

- รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า ตนได้ประมาณความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงระลอกล่าสุด ไม่น้อยกว่า 11.038 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 65.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี เทียบจากฐานปี 62 ที่มีมูลค่าจีดีพีประมาณ 16.879 ล้านล้านบาทเนื่องจากกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างสาหัส โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการการท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจในห่วงโซ่ท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้าย่อย แผงลอย ก่อสร้าง ทรุดตัวทั้งหมด และกำลังซื้อคนไทยอ่อนแออย่างมาก

 

- วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า การระบาดโควิดสายพันธุ์เดลตาในไทย ทำให้สถานการณ์เป็นที่น่ากังวลแม้รัฐบาลจะประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นกับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด แต่ความเชื่อมั่นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจะต้องเจอความเสี่ยงขาลงมากขึ้น และกระทบต่อประมาณการเศรษฐกิจในไทยปีนี้ที่คาดไว้ที่ 2%เนื่องจากสถานการณ์การระบาดได้เข้าสู่กรณีเลวร้ายสุดของวิจัยกรุงศรีมีจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันใกล้ 10,000 ราย


·       อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

- กรุงไทย หั่นจีดีพีปีนี้เหลือ 0.5-1.3% รับโควิดรุนแรง-ลากยาวกว่าคาด

ธนาคารกรุงไทย ปรับประมาณการจีดีพีปี 64 เหลือ 0.5-1.3% จากเดิมอยู่ที่ 0.8-1.6% รับสถานการณ์โควิด-19 รุนแรงและลากยาวกว่าคาด กิจกรรมทางเศรษฐกิจ-เดินทางหยุดชะงัก กระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเลื่อนไปในเดือน ต.ค. แนะมาตรการภาครัฐกระตุ้นใช้จ่ายประชาชนควรทำไตรมาส 4 เป็นจังหวะที่ดี ลั่นหนี้สาธารณะแตะกรอบเพดาน 60% ไม่น่ากังวล แต่ต้องสื่อสารให้นักลงทุนชัดเจน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com