• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2564

    19 กรกฎาคม 2564 | SET News


หุ้นเอเชียปิดปรับลงต่อ จากความกังวล "ไวรัสสายพันธุ์ใหม่" และ "เงินเฟ้อ" 

ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเริ่มสะท้อนถึงสัญญาณ "เปราะบาง" มากยิ่งขึ้น ขณะที่หลายๆประเทศในแถบเอเชีย เผชิญกับมาตรการเข้มงวดจาก "ยอดติดเชื้อไวัรสโคโรนาสายพันธุ์ Delta" ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บางประเทศกลับสู่สภาวะ Lockdown 

ขณะที่ความกังวลเรื่อง "เงินเฟ้อ" ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สั่นคลอนคลาด และทำให้นักลงทุนรู้สึกเป็นกังวล 

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ Bank of America ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯลงสู่ระดับ 6.5% ในปีนี้ เดิมคาดการณ์ที่ 7% ขณะที่ปีหน้าคาดเศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวได้ 5.5% คงเดิม


·         ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงไปกว่า 7% จากราคาน้ำมันที่ปรับลง หลัง OPEC+ บรรลุข้อตกลงกำลังการผลิต 

ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ปิด -1% ที่ 3,244.04 จุด

ดัชนี S&P/ASX200 ปิด -0.85% ที่ 7,286 จุด

ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปิด -1.32%


·         หุ้นการเงินกดดันตลาดหุ้นจีน - หุ้นเทคโนโลยีร่วงกดดันดัชนีฮั่งเส็ง (HSI)

ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันอันเป็นผลจากหุ้นกลุ่มการเงินที่ปรับลงไปราว -0.97%, หุ้นกลุ่มของใช้ทั่วไปของผู้บริโภคปรับลง -0.36%  และดัชนีกลุ่ม  Real Estate ปรับลง -2.21%

ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.31% ที่ 3,528.16 จุด 
ดัชนี Shenzhen Component ปิด +0.138% ที่ 14,992.90 จุด
ดัชนี CSI300 ปิด -0.19% 

ดัชนี HSI ของฮ่องกงปิด -1.59% ที่ 27,558.42 จุด
ดัชนี 
Chinese H-shares listed ในฮ่องกงปิด -1.66% ที่ 9,984.08 จุด

 

·         หุ้นญี่ปุ่นร่วงจากกังวล "Delta Covid-19" และการจัดแข่งขันกีฬา Olympic กรุงโตเกียว

ดัชนี Nikkei ปิด -1.25% ที่ 27,652.74 จุด ปิดแดนลบต่อเนื่ง 4 วันทำการ โดยได้รับแรงกดดันจาก

- การติดเชื้อไวรัส Delta Covid-19 ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
- การแข่งขันกีฬา 
Tokyo 2020 Olympics อาจเผชิญภาวะสาธารณสุขวิกฤตร้ายแรง

ดัชนี Nikkei เคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับสำคัญบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วันที่ 27,672 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่แล้ว

นักกลยุทธ์อาวุโสจาก Mizuho Securities มองว่า บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วัน ถือเป็นระดับสำคัญในทางเทคนิค และการร่วงลงต่ำกว่าระดับดังกล่าว มีโอกาสเห็นดัชนี Nikkei ร่วงลงต่ำกว่า 25,500 จุดได้ 

 

·         หุ้นยุโรปเปิดร่วง -1% ท่ามกลางนักลงทุนจับตาสถานการณ์ไวรัสระบาด - OPEC+ บรรลุข้อตกลง




หุ้นยุโรปเปิดร่วงลง โดยดัชนี Stoxx 600 เปิด -1.2% ขณะที่หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการเดินทางเปิด -2.5% กดดันหุ้นกลุ่มหลักๆเคลื่อนไหวแดนลบตาม

ทั้งนี้ ตลาดที่ตอบรับข่าวเชิงลบ ได้แก่ 


1) OPEC+ บรรลุข้อตกลงการผลิตน้ำมัน

และจะยกเลิกการจำกัดการผลิตน้ำมันที่ 5.8 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนก.ย.ปีหน้า 
่คาดว่าจะเริ่มประกาศการเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมเดือนส.ค. นี้ 

ความคืบหน้าดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่น้ำมันดิบ Brent ทะยานขึ้นกว่า 40% ในปี 2021 นี้ ขณะที่อุปสงค์น้ำมันก็กำลังเพิ่มสูงขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


2) ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ


3) ความกังวลเกี่ยวกับจำนวนยอดติดเชื้อใหม่ของ Covid-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น 


·         ดัชนี Dow Futures ร่วงกว่า 100 จุด หลังจากที่หุ้นหลักในสหรัฐฯปิดสัปดาห์แดนลบครั้งแรกรอบ 4 สัปดาห์ 

ดัชนี S&P 500  Futures และ Nasdaq 100 Futures ต่างก็เคลื่อนไหวแดนลบเช่นกัน 


·       ·       ดัชนี FTSE100 ทำต่ำสุดรอบ 2 เดือนจากวิกฤตไวรัส - ความกังวลเศรษฐกิจฟื้นตัว

ดัชนี FTSE 100 ร่วง -1.2%

ดัชนี Mid-Cap FTSE 250 ปรับลง -2.5%

ดัชนี FTSE100 ปรับลงทำต่ำสุดรอบ 2 เดือน จากความกังวลเรื่องยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่อาจกลายมาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันตลาดก็กังวลต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้ทั่วโลกยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วมากยิ่งขึ้น

ด้านนายกฯอังกฤษ เตือนให้ประชาชนไม่ประมาทต่อการยกเลิกมาตรการ Lockdown ท่ามกลางยอดติดเชื้อใหม่ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น


·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ตลาดหุ้นไทยปิดเช้าร่วง 15.50 จุด รับแรงกดดันราคาน้ำมันถอยลง-รัฐฯยกระดับมาตรการคุม

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,558.87 จุด ลดลง 15.50 จุด (-0.98%) มูลค่าการซื้อขายราว 35,368 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดช่วงเช้า โดยทำระดับสูงสุด 1,563.88 จุด และระดับต่ำสุด 1,553.75 จุด


·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 32.70-33.10 ติดตามยกระดับล็อกดาวน์-ส่งออกไทย

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 32.75 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 32.53-32.80 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างสัปดาห์เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือนครั้งใหม่ เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ยกเว้นเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดเพิ่มความระมัดระวังในการเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงหลังสหรัฐฯรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนสูงเกินคาด โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบเป็นรายปีเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 13 ปี ที่ 5.4%

อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวลดลงขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงต่อสภาคองเกรสว่ายังไม่ใกล้ถึงเวลาสำหรับการลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเน้นย้ำว่าการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราว ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นหลังธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศจะยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายตามคาด ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยมูลค่า 2,400 ล้านบาท และ 19,145 ล้านบาท ตามลำดับ


·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

- หอการค้า 5 ภาค ชี้เศรษฐกิจทรุดหนัก จี้รัฐพักหนี้-ผ่อนเกณฑ์ซอฟต์โลน

ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทยด้วยตัวเลขการติดเชื้อรวมเฉียดหมื่นคน ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ การค้า การดำรงชีวิตของผู้ประกอบการ ประชาชนทุกหย่อมหญ้า

 

ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจผลกระทบภาวะเศรษฐกิจในแต่ละภาคสะท้อนผ่านหอการค้า 5 ภาค


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com