• ผวาโควิด กระทบบาทอ่อนทำ New High ฿32.90 สูงสุดรอบ 15 เดือน

    20 กรกฎาคม 2564 | Economic News
  

ผวาโควิด กระทบบาทอ่อนทำ New High ฿32.90 สูงสุดรอบ 15 เดือน



ติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกพุ่งสูงไม่หยุด รวมติดเชื้อใหม่สะสมเพิ่ม 409,323 ราย ส่งผลให้ยอดรวมสะสมทะลุ 191.67 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตรวมสะสมแตะ 4.112 ล้านราย

 


 ·         สถานการณ์ในไทยยังหนักติดเชื้อใหม่ติดอันดับ 12 ของโลก

ล่าสุดวานนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อรายวันใหม่เพิ่มขึ้นทำ New High  11,784 ราย รวมติดเชื้อสะสม 415,170 ราย ด้านไทยเสียชีวิตเพิ่มวานนี้ 81 ราย รวมสะสม  3,422 ราย





ทางฝั่งเอเชีย

ไทยครองอันดับติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 5 ของฝั่งเอเชีย



- ไทยอยู่อันดับ 7 สำหรับยอดเสียชีวิตรายวันใหม่เพิ่ม


สถานการณ์ในไทย




 ·         อ้างอิงจากไทยพีบีเอส

ศบค.เสนอข้อมูลจากแบบจำลองการระบาดโควิด-19 ของ รศ.นวลจันทร์ สิงห์คราญ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคาดการณ์ว่ากรณีสถานการณ์แย่ที่สุดจะมีผู้ติดเชื้อวันละ 31,997 คน หากควบคุมได้ดีที่สุดจะอยู่ที่วันละ 9,018-12,605 คน

·         กรุงศรีคาดบาทแตะ 33.10 บาท/ดอลลาร์ ห่วงล็อกดาวน์เจ็บแต่อาจไม่จบ

รายงานจากมติชน ระบุถึงมุมมองนักบริหารเงินจากกรุงศรีว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ยกเว้นเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตลาดเพิ่มความระมัดระวังในการเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

ด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น หลังธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศจะยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตร ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายตามคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยมูลค่า 2,400 ล้านบาท และ 19,145 ล้านบาท ตามลำดับ

นอกจากนี้ ตลาดการเงินโลกจะจับตาท่าทีของอีซีบี หลังการประชุมวันที่ 22 ก.ค.นี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการดำเนินนโยบายซึ่งบ่งชี้ถึงความอดทนที่สูงขึ้นต่อภาวะเงินเฟ้อและอาจกดดันค่าเงินยูโรให้อ่อนลง

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้นรวมถึงการยกระดับมาตรการควบคุมโรค และทิศทางเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงยังเป็นประเด็นหลักฉุดรั้งความเชื่อมั่นและค่าเงินบาท นอกจากนี้ นักลงทุนจะติดตามข้อมูลส่งออกนำเข้าเดือนมิถุนายน โดยคาดว่ายังสามารถขยายตัวได้ในอัตราค่อนข้างสูงตามภาวะอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากวิกฤต COVID-19 ในประเทศที่เข้าสู่กรณีเลวร้ายที่สุดส่งผลให้วิจัยกรุงศรีหั่นประมาณการจีดีพีปีนี้เป็นเติบโต 1.2% จากเดิม 2.0%

 

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยโพสต์

อย่าเดินทาง! ศบค.ประกาศบล็อก 13 จังหวัด ข้ามพื้นที่ต้องมีเอกสารรับรอง ลงทะเบียน สแกนไทยชนะ เริ่มวันนี้

ศบค.ปรับระดับพื้นที่ ทั่วประเทศ โดยพื้นที่สีแดงเข้ม ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด พื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดจากเดิม 24 จังหวัดเพิ่มเป็น 53 จังหวัด พื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด และพื้นที่ เฝ้าระวังเหลือเพียง 1 จังหวัด คือ จ.ภูเก็ต

โฆษกศบค.ย้ำว่า จุดประสงค์หลัก มาตรการเคร่งครัดคือ ขอให้ลดการเดินทางมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ล็อกดาวน์พื้นที่ สีแดงเข้ม งดการเดินทางที่ไม่จำเป็น






·         อ้างอิงจากสำนักข่าวคมชัดลึก

"ล็อกดาวน์" กลางวัน ตำรวจ-ทหาร พรึบด่านตรวจ 9 จังหวัดแดงเข้ม สกัดคนเพ่นพ่าน

เน้นย้ำให้งดภารกิจการเดินทางออกนอกเคหสถาน หรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน "ล็อกดาวน์" กลางวัน"

ซึ่งฝ่ายความมั่นคงมีการพูดคุยกันว่า จะมีการตั้งด่านตรวจอย่างเข้มงวด ในเวลากลางวัน และจะทำให้คนที่อยู่พื้นที่สีแดงเข้ม จะได้รับความไม่สะดวก หากออกมาข้างนอก เพราะจะมีการตั้งด่านรอบอยู่ตามชายขอบอย่างเข้มข้น

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวสด

เลขา สมช. ชี้เคอร์ฟิว"ห้าม"ออกจากบ้าน กลางวันให้งด อาจต้องใช้อู่ฮั่นโมเดล

 

·         อ้างอิงจาก Brand Inside

- ประเทศไทยน่าห่วง โดนปรับลด GDP เหลือ 1% เพราะคุมเข้ม-เยียวยาไม่ทั่ว-ผู้ติดเชื้อพุ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการเติบโตเศรษฐกิจไทยเหลือ 1% เพราะสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาในไทยยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ได้ ธุรกิจต่างๆ ไม่สามารถกลับมาเปิดทำการได้เต็มรูปแบบ ส่วนภาคการท่องเที่ยวที่เป็นหัวจักรเศรษฐกิจก็ยังซบเซาต่อไป

อย่างไรก็ดี การแพร่กระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างครอบคลุมคือความหวัง

ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูงจาก
การแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่
ประสิทธิภาพของวัคซีน
การเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

ธปท. คาดเศรษฐกิจไทยใช้เวลานาน 6 ปี ฟื้นไข้โควิด

ธปท. เผยภาคการเงินไทยมีความเข้มแข็งรองรับโควิดได้ ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยคาดต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ฟื้นไข้โควิด ชี้ระยะสั้นเงินเฟ้อค่อนข้างสูง-ยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยนั้น มองว่าในระยะสั้น 1-2 ปีนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เป็นการฟื้นตัวรูปตัว ซึ่งจะมีบางกลุ่มที่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และมีบางกลุ่มอาจจะฟื้นตัวได้ช้ ซึ่งภาครัฐเองก็พยายามประครองให้ตัว ฐานรากฟื้นตัวได้ดีขึ้น หรือในระยะสั้น 1-2 ปีนี้ อย่างไรก็ดี ระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย ธปท. คาดการณ์ล่าสุด ปีนี้จะขยายตัว 1.8% และในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 3.9% จากนั้นระยะถัดไปมองว่าโต 5% ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่คาดการณ์ก่อนไม่มีโควิด

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- 3 เดือนชี้ชะตาเศรษฐกิจไทย 'กอบศักดิ์ชง 3 แผนรับมือวิกฤติโควิด

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพเคยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัว 1-2% เพิ่มจากปีก่อนที่ติดลบ 6.1% ต้องปรับประมาณการลงมา โดยมองว่ากรณีแย่สุดเศรษฐกิจปี 2564 อาจไม่ขยายตัวเลย กระทบภาคท่องเที่ยวทรุดยาว จึงหนุนใช้มาตรการ Lockdown แนะ 3 แผน

ฉีดวัคซีน เน้นบุคลากรทางการแพทย์ฉีดวัคซีนเข็ม 3

นำเข้าวัคซีนทางเลือก

ใช้โมเดลไต้หวันรัฐบาล-เอกชนจับมือหาวัคซีน

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าเศรษฐกิจได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 9 แสนล้านบาท โดยการแพร่ระบาดทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายด้านและส่งผลถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นการงดการเดินทาง การลดการท่องเที่ยวของประชาชนรวมถึงการจับจ่ายซื้อสินค้าคงทนลดลง เช่นรถยนต์

 

6 ผู้นำเข้าวัคซีนโควิด19 ในไทย หารือร่วม 20 ก.ค.นี้

 

พาณิชย์มั่นใจเอฟทีไทย-ปากีสถานจบปีนี้แน่ ชี้ดันเศรษฐกิจไทยโต0.18-0.32%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยความคืบหน้าการทำเอฟทีเอ ไทย-ปากีสถาน เจรจายุติแล้ว 12 เรื่อง เหลือแค่ 1 เรื่อง  ที่ต้องหารือต่อ ตั้งเป้าสรุปจบภายในปีนี้ ชีี้ เอฟทีเอดันเศรษฐกิจไทยเพิ่ม 0.18-0.32% มีสินค้าได้ประโยชน์ส่งออกเพียบ

 

- 'คลัง-เวิลด์แบงก์"เปิดแนวทาง ฟื้นเศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤติโควิด

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลจะใช้ 3 แนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะต่อไป

แนวทางแรก คือ มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาภาคธุรกิจและประชาชนระยะสั้น มองว่ายังจำเป็น โดยเฉพาะมาตรการทางการเงินนั้น ได้ดำเนินการพักชำระหนี้ใน 10 จังหวัดล็อกดาวน์ระยะ 2 เดือน แต่คิดว่าเราจะยืดระยะเวลามาตรการนี้ให้ยาวออกไปอีก

แนวทางที่สอง คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจรองรับการฟื้นตัวยั่งยืน แนวทางที่สาม คือ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยจะดำเนินการผ่านการปฏิรูปโครงสร้างรายได้ เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่ยั่งยืนรองรับวิกฤติต่างๆ

อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีนี้ คือ การส่งออก ในเดือนพ.ค.และมิ.ย.ถือว่าส่งออกได้ดี ดีกว่าหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตยังดำรงอยู่ได้

 

นอกจากนี้ ลงทุนเอกชน ดูได้จากการนำเข้าสินค้าทุนของประเทศ มีสัญญาณเป็นบวกมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อีกด้าน คือ เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดูได้จากทุนสำรองที่มั่นคง หนี้สาธารณะยังอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ในเดือนพ.ค.อยู่ที่ 55%

* "เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา" นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า มองเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากการส่งออกและนโยบายการคลังที่ประคองเศรษฐกิจระดับแมคโครและกลุ่มเป้าหมายผู้ยากจน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้นโยบายทางการคลังขนาดใหญ่มาดูแลเศรษฐกิจ งบประมาณที่ใช้ส่วนใหญ่นำไปเยียวยา ส่งผลให้ระดับการขาดดุลมีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะรายได้ลดลง

* "กุลยา ตันติเตมิท"ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลยังมีช่องทางที่จะกู้เงินเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจได้อีก ่หากจำเป็นต้องขยายเพดานการก่อหนี้ ก็สามารถทำได้ โดยดูช่วงเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ในอนาคตก็จำเป็นต้องหารายได้จากภาษี เพื่อให้ฐานะการคลังของประเทศมีความยั่งยืนในระยะยาวได้ด้วย

อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/949675

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com