• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2564

    23 กรกฎาคม 2564 | Gold News




ทองปรับขึ้นจากความต้องการสินทรัยพ์เสี่ยงลด – U.S. 10 Yield อ่อนตัว

ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จาก

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นได้เพียงเล็กน้อย จากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลง
- ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯออกมาแย่กว่าคาด เพิ่มขึ้นมากสุดรอบ 2 เดือน
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อยแตะ 1.28%
- อีซีบีคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ – กังวล Delta กระทบเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี ความต้องการดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ยังเป็นปัจจัยที่จำกัดการปรับตัวขึ้นของทองคำอยู่บ้าง โดยดัชนีดอลลาร์ปิด +0.1% ที่ 92.87 จุด


ด้านยูโรแข็งค่าขึ้นรับผลประชุมอีซีบี ก่อนจะปิดอ่อนค่าลง -0.2% ที่ 1.1763 ดอลลาร์/ยูโร จากการแข็งค่าของดอลลาร์ อันเป็นผลจากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น จึงหนุนนักลงทุนซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ กดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง


· ทองคำตลาดโลกปิด +0.1% ที่ ระดับ 1,804.45 เหรียญ

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด +0.1% ที่ระดับ 1,805.40 เหรียญ


· หัวหน้าเทรดเดอร์จาก U.S. Global Investors กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ยังอยู่ในแดนลบ ควบคู่กับเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นร้อนแรง น่าจะยังไม่ทำให้เฟดเปลี่ยนใจดำเนินการเรื่องดอกเบี้ยในระยะสั้น จึงจะกลายเป็นผลดีต่อราคาทองคำ


· นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า ทั้งเฟดและอีซีบีถือเป็นธนาคารกลางรายใหญ๋ และค่อนข้างจะเห็นถึงการย้ำใช้อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปเป็นเวลานาน

ดังนั้น จึงน่าจะหนุนการปรับขึ้นของราคาทองคำในระยะยาวได้


· ประชุมเฟดจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า และถ้อยแถลงของประธานเฟดเมื่อไม่นานมานี้ก็ยังดูจะเป็นไปในแนวทางผ่อนคลายทางการเงิน แม้เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูง


· นักวิเคราะห์จาก TD Securities มองว่า ทองคำตอบรับกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับอ่อนตัวลง อันเป็นผลจากความผันผวนทางโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษบกิจและความไม่แน่นนอในการฟื้นตัว


· กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมต่อเนื่องมา 5 วันทำการ โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,028.55 ตัน


· ซิลเวอร์ปิด +0.3% ที่ 25.29 เหรียญ

· พลาเดียมปิด +1.9% ที่ระดับ 2,704.01 เหรียญ

· แพลทินัมปิด +0.8% ที่ระดับ 1,088.43 เหรียญ


· อีซีบีจะไม่ทำการขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็นเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงระดับเป้าหมาย 2% ขณะที่การระบาดของ Delta Covid สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยูโรโซน



ประชุมอีซีบีเมื่อคืนที่ผ่านมายังคงมีมติตรึงอัตาราดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ โดยคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0% ขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ -0.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 0.25%


นอกจากนี้ อีซีบีจะยังเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนวงเงิน 1.85 ล้านล้านยูโร (2.2 ล้านล้านเหรียญ) ต่อไปจนถึง มี.ค. ปี 2022 ภายใต้โครงการ PEPP


· ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯแย่กว่าคาด – ยอดขายบ้านมือสองพุ่งขึ้นเดือนมิ.ย.




· “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้บรรดาภาคธนาคารต่างๆระดมเม็ดเงินเพื่อไว้ต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ


· วงจรการระบาดของ Covid-19 ครั้งใหม่ ดูจะสร้างความท้าทายต่อ “เฟด” และ “การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”

Reuters รายงานว่า ช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา การลดจำนวนลงของการระบาดในสหรัฐฯดูจะช่วยลดแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่กากรลับมาเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อครั้งใหม่ ดูจะสร้างความท้าทายแก่เฟด ประกอบกับความไม่มั่นใจต่อทิศทางการฟื้นตัวต่อเศรษฐกิจโลก จึงอาจบังคับให้ธนาคารกลางต่างๆต้องกลับมาพิจารณาการใช้เครื่องมือต่างๆในการดำเนินนโยบายการเงินอีกครั้ง


ยอดติดเชื้อรายวันในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวนับตั้งแต่ที่จบการประชุมเฟดเมื่อ 16 มิ.ย. จาก Delta Covid ที่กำลังระบาดมากขึ้น และเห็นได้ถึงผู้เข้ารักษาตัวตามสถานพยาบาลและการเสียชีวิตที่ยังดำเนินต่อไป


อย่างไรก็ดี สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่ถือว่า “เลวร้าย” มากนัก แต่ก็อาจทำให้เฟดต้องนำมาตัดสินใจและใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในการประชุมสัปดาห์หน้า 27-28 ก.ค.นี้


บรรดานักวิเคราะห์ยังเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2021 จะฟื้นตัวได้แกร่งที่สุดตั้งแต่ปี 1984 แต่สัญญาณ Delta Covid ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจของประเทศได้


· ไอเอ็มเอฟ ชี้ เฟดมีการดำเนินการที่มี “ประสิทธิภาพสูง” ในการรับมือกับ Covid-19 และหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นเหนือเป้าหมาย 2% ในระยะสั้น

ดังนั้น เฟดจึงควร “ระมัดระวัง” ต่อการสื่อสารถึงแผนการถอนนโยบายการเงิน


· สมาชิกไอเอ็มเอฟ มีมติอนุมัติการปฏิรูปการกู้ยืมทางการเงินให้ดีขึ้นเพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศรายได้น้อย


· นายกฯอังกฤษ เรียกร้องอียูพิจารณาข้อเสนอ Post Brexit อย่างจริงจัง เพื่อเปลี่ยนแปลง แนวทางที่ “ไร้เสถียรภาพ” สำหรับข้อตกลงการค้ากับทางไอร์แลนด์เหนือ


· COVID UPDATES:

สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกติดเชื้อสะสมทะลุ 193 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย โดยล่าสุดยอดติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 193.35 ล้านราย ซึ่งล่าสุดมีผู้ติดเชื้อใหม่รวมสูงกว่า 550,000 รายในวันเดียวทั่วโลก

สำหรับยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแตะ 4.15 ล้านราย



· CDC สหรัฐฯ เผยจะทำการพิจารณาหลักฐานบ่งชี้ว่า การใช้วัคซีนเข็ม 3 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 ให้แก่ประชาชนได้ดี จากการประเมินผลด้านภูมิคุ้มกัน


· บรรดาที่ปรึกษาของ CDC สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนใช้ประโยชน์จากวัคซีน Covid ของบริษัท Johnson & Johnson แม้จะมีรายงานเรื่องผลข้างเคียงทางด้านระบบประสาท


· จีนปฏิเสธแผน WHO ในการศึกษาต้นกำหนด Covid-19


· สถานการณ์โควิด-19 ในไทย

ล่าสุด ศบค. รายงานยอดติดเชื้อ-เสียชีวิต New High
พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 114 ราย ส่งผลให้ยอดรวมเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 3,811 ราย
ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 14,575 ราย และติดเชื้อสะสมที่ 467,707 ราย



ขยับอันดับติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของโลกเป็นลำดับที่ 12



สำหรับยอดติดเชื้อใหม่ในแถบเอเชีย ไทยติดอันดับ 4 ขณะที่เสียชีวิตใหม่ยังอยู่อันดับ 7




· นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.80 - 32.95 บาท/ดอลลาร์ โดยปัขจัยในประเทศที่ต้องติดตามคือ การแถลงตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกเดือน มิ.ย.ของกระทรวงพาณิชย์


· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

- กสิกร ชี้เงินบาทไทยอ่อนค่าลง 8.8% คาดสิ้นปีบาทไทยจะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้เงินบาทไทยอ่อนค่าลง 8.8% คาดสิ้นปีอยู่ที่ 30.50 บาท/ดอลลาร์ พร้อมปรับจีดีพีปีนี้ เหลือโต 1% ด้านนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย แห่ขายหุ้นทิ้ง 9 หมื่นล้านบาท


· อ้างอ้างจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- KBANK ชี้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวดใน 13 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนค่อนข้างมากกับเศรษฐกิจในประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วน 49% ของ GDP ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และยังไม่มีความแน่นอนว่าทางการจะใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดไปยาวนานแค่ไหน และจะมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นออกมาหรือไม่ และขยายวงไปในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่ ทำให้มีแนวโน้มที่จะกดดันเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงไตรมาส 3/64 ค่อนข้างมาก


- ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Media Briefingเรื่อง "ส่องเศรษฐกิจไทยในวิกฤตโควิด"ว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการออกมาควบคุมการแพร่ระบาดนั้น ได้ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยธปท.ประเมินว่าจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในปี 64 นี้ หายไป 0.8-2.0% ของจีดีพี


- KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 อาจมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่หลายฝ่ายประเมิน จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือนกว่าสถานการณ์จะบรรเทาความรุนแรงลง ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการบริโภคและการลงทุนที่จะลดลงในช่วงไตรมาส 3/64 และจะส่งผลให้การเติบโตของการบริโภคทั้งปีติดลบ และกระทบต่อการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 64 จาก 1.5% เหลือเพียง 0.5% แม้ว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นก็ตาม


- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า EIC ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 64 ลงจากเดิม 1.9% มาอยู่ที่ 0.9% เป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคค่อนข้างมาก ทั้งจากมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น (ล็อกดาวน์) ความกังวลของประชาชนในการใช้จ่ายภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น (Fear Factor) และแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น (Scarring) ขณะที่เม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมายังไม่เพียงพอและทั่วถึง จึงช่วยบรรเทาผลกระทบได้เพียงบางส่วนเท่านั้น


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com