• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2564

    26 กรกฎาคม 2564 | Gold News



ดอลลาร์แข็ง-อัตราผลตอบแทนขึ้น กดดัน ทองคำ” - SPDR ขาย

 

·         ราคาทองคำปิดปรับลงในคืนวันศุกร์ โดยราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.3% ที่ 1,800.72 เหรียญ

·         ขณะที่สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -0.2% ที่ 1,801.8 เหรียญ

 

·         ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองคำปรับลง -0.7% หลังสัปดาห์ก่อนหน้าทำสูงสุดรอบ 1 เดือน

 

·         ปัจจัยลบต่อตลาดทอง

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า +0.1% ที่ 92.894 จุด ยังเคลื่อนไหวใกล้สูงสุดรอบ 3 ปีครึ่ง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปิดแตะ 1.288% บางช่วงขึ้นไปแตะ 1.3%

ตลาดหุ้นสหรัฐฯทำ New Records High

ความต้องการ Safe Haven ลดลง

กองทุนทองคำ SPDR ทำการเทขายออก 1.17 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,027.38 ตัน


 

ส่งผลให้ภาพรวมเดือนก.ค. นี้ ขายออกแล้วรวม 18.4 ตัน และนับตั้งแต่ต้นปี - 23 ก.ค. รวมกองทุน SPDR ขายทองสุทธิ 143.36 ตัน

 

·         นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco กล่าวว่า ตลาดทองคำกำลังหาปัจจัยใหม่ขับเคลื่อนราคา และทำให้ราคายังไม่ขึ้นได้จริงๆในเวลานี้ และจะเห็นได้ว่า ถึงแม้อัตราติดเชื้อ Covid-19 เพิ่มขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะลดลง ก็ไม่อาจดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้

 

ภาพทางเทคนิค สะท้อนถึงภาวะทองคำแดนลบในระยะสั้น จากการปราศจากปัจจัยต่างๆ จึงทำให้นักลงทุนที่ชื่นชอบการทำ Short เข้าสู่ตลาดทอง

 

·         ตลาดสนใจ ประชุมเฟด 27-28 ก.ค. หลังประชุมอีซีบีที่ผ่านมาคงดอกเบี้ยระดับต่ำประวัติการณ์ต่อ




·         นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered ระบุว่า ราคาทองคำปรับลงสู่แนวรับ จากความต้องการทองแท่งเป็นขาลง ขณะที่ภาวะขาขึ้นชะลอตัวลง

 

·         ซิลเวอร์ปิด -1.2% ที่ 25.16 เหรียญ และปิดแดนลบต่อเนื่อง 3 สัปดาห์

·         แพลทินัมปิด -3% ที่ระดับ 1,059.76 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด -1.7% ที่ 2,672.76 เหรียญ

 

·         เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เตือน คองเกรสจำกัดหนี้สินหรือภาวะหนี้ที่เพิ่มขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

เพราะหาก Congress ไม่สามารถดำเนินการได้ก่อน 2 ส.ค. นี้ ทางกระทรวงการคลังจำเป็นต้องใช้ มาตรการพิเศษ” เพื่อขัดขวางการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ

จดหมายของนางเยลเลน ที่ส่งตรงถึง นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีใจความว่า 1 ต.ค. จะถือเป็นวันทำการแรกของปีงบประมาณปีถัดไป ซึ่งจะเป็นตัวชี้ความสามารถชำระหนี้จองรัฐฯ โดยปราศจากกฎหมายจำกัดหนี้สิน หลังรัฐบาลมีการใช้ค่าฝช้จ่ายสูงขึ้น

ดังนั้น นางเยลเลน จึงแนะนำให้ผู้นำสภาคองเกรสทั้ง 2 พรรคทำการจำกัดระดับหนี้ให้ได้ภายในวันที่ 1 ส.ค. ก่อนที่ปีงบประมาณช่วง 2 ปีจะหมดอายุลง

 

·         ดิจิทัลหยวนอาจสร้างความท้าทายต่อ ดอลลาร์สหรัฐฯ

รายงานจาก CNBC ระบุว่า จีนกำลังต่อกรกับสหรัฐฯด้วยนวัตกรรมทางการเงินออนไลน์ ถือว่ากำลังท้าทายบทบาทของค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารกลางเกือบ 80 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีนและสหรัฐฯ กำลังก้าวสู่กระบวนการพัฒนาธนาคารเพื่อค่าเงินดิจิทัล (CBDC)

ทั้งนี้ จีนจะปล่อยค่าเงินหยวนดิจิทัลให้ประชาชนในประเทศกว่าล้านราย ขณะที่สหรัฐฯยังคงมุ่งเน้นไปยังงานศึกษาวิจัย

 

·         น้ำมันดิบปิดค่อนข้างทรงตัวจากคาดการณ์ภาวะอุปทานที่น่าจะยังตึงตัวต่อในปีนี้

น้ำมันดิบ WTI ปิด -16 เซนต์ หรือ -0.2% ที่ 72.07 เหรียญ/บาร์เรล หลังวันพฤหัสบดีปิด +2.3%

น้ำมันดิบ Brent ปิด -31 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 74.10 เหรียญ/บาร์เรล หลังวันก่อนหน้าปิด +2.2%

ภาพรายสัปดาห์พบว่า WTI ขยับลดลงจากช่วงสองสัปดาห์ก่อน แต่ Brent สัปดาห์นี้ปรับขึ้นต่อ +0.4%

 

·         CORONAVIRUS UPDATES:

ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกใกล้ทะลุ 195 ล้านราย โดยวานนี้ติดเชื้อใหม่เพิ่มสูง 415,297 ราย รวมสะสม 194.79 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสูงขึ้นแตะ 4.17 ล้านราย

 


·         สถานการณ์ระบาดในไทยยังทำ New High ล่าสุดวันอาทิตย์ทะยานเหนือ 15,000 รายเป็นครั้งแรก

โดยยอดติดเชื้อใหม่ไทยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเพิ่มสูง 15,335 คน เสียชีวิตอีก 129 คน

รวมติดเชื้อสะสมในประเทศใกล้ทะลุ 500,000 ราย โดยล่าสุดสะสม 497,302 ราย และเสียชีวิตสะสมในประเทศ 4,059 ราย


ขยับมาอยู่อันดับ 9 สำหรับผู้ติดเชื้อใหม่รายวันของโลก

 


เสียชีวิตใหม่มากสุดเป็นลำดับที่ 13 ของโลก

 

ทางด้านเอเชีย

ไทยติดอันดับ 5 สำหรับยอดติดเชื้อใหม่รายวันที่เพิ่มขึ้น

 


ขยับอันดับเสียชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นมากสุดในเอเชียอันดับที่ 6



 

·         อิสราเอล ชี้ Pfizer มีประสิทธิภาพต้าน Delta Covid-19 เพียง 39%

แต่ฉีด 2 เข็มช่วยลดการรักษาในโรงพยาบาลสูง 88% ขณะที่ช่วยลดอาการป่วยรุนแรง 91%

 

·         เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือนครั้งใหม่ ใกล้ทะลุ 33 บาท/ดอลลาร์ จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์นี้

1) ผลประชุมเฟดระหว่าง 27-28 ก.ค.
2) สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศ
3) ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินประจำเดือนมิ.ย.
4) ผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของบจ.

นักบริหารเงินจึงประเมินว่าเงินบาทมีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.20 บาท/ดอลลาร์

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยรัฐ

ล็อกดาวน์” กดเศรษฐกิจไทยลบ 2% ธปท.อ้ำอึ้งลดประมาณการ-แบงก์คาดปีนี้ติดลบ

ธปท.ประเมินภาพความเสียหายจากล็อกดาวน์ กรณีแย่ที่สุด กระทบเศรษฐกิจไทย -2% ยอมรับภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้นล่าช้า จากการจัดหาและกระจายวัคซีนที่ล่าช้าเตือนมาตรการการเงิน-การคลังต้องเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด ขณะที่แบงก์กสิกรไทยและไทยพาณิชย์ มองกรณีเลวร้ายเศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ

ธปท.ประเมินภาพความเสียหายจากการล็อกดาวน์ และความไม่แน่นอนที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้นในอนาคต ใน 3 กรณีคือ

กรณีที่ดีที่สุด
คาดว่า หากมาตรการล็อกดาวน์ ดำเนินการได้ดี และส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงประมาณ 40% และสามารถควบคุมได้ภายในเดือน ส.ค. โดยไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ เศรษฐกิจไทยจะได้รับความเสียหายจากการล็อกดาวน์ หรือส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลดลง -0.8%

กรณีที่แย่ที่สุด

คือ การระบาดยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสามารถควบคุมให้การระบาดลดลงเพียง 20% แต่ยังสามารถควบคุมได้ภายในช่วงสิ้นปีนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง 2%

 

ส่วนค่ากลางที่ ธปท.คาดว่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดในขณะนี้ การล็อกดาวน์จะกระทบเศรษฐกิจ ให้หดตัวลง 1.2%

อย่างไรก็ตาม ยังนำตัวเลขความเสียหายมาหักลบจากการขยายตัวในขณะนี้ไม่ได้ เพราะยังมีปัจจัยบวกที่จะมาจากมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมของภาครัฐ และการส่งออกที่ดีขึ้น โดย ธปท.จะนำการประเมินความเสียหายนี้ไปรวมในการ ประมาณการเศรษฐกิจครั้งหน้า ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการขยายตัวตามประมาณการเดิมแน่นอน

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

'สแตนชาร์ดเผยต่างชาติมอง 'เศรษฐกิจไทยยังเสี่ยง

สแตนชาร์ดเร่งรัฐบาลอัดวัคซีนคุมโควิด เผยต่างชาติมองเศรษฐกิจไทยยังเสี่ยง ทิศทางบาทอ่อนต่อหนุนส่งออก ชี้การขยายกรอบหนี้จะเพิ่มช่องกู้เอื้อการใช้นโยบายการคลัง เชื่อแบงก์ชาติคงนโยบายดอกเบี้ย 3 ปี แนะธุรกิจรับมือทิศทางดอกเบี้ยโลกปรับขึ้น

นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)แถลงอัพเดทเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2564 โดยกล่าวถึงผลการพบปะนักลงทุนต่างชาติราว 150 คนที่ธนาคารได้จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนและเสี่ยงค่อนข้างมาก มีราว 10% เท่านั้น ที่เห็นว่า เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆฟื้นตัวต่อ

นอกจากนี้ ยังมีคำถามเกี่ยวกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามากสุดในเอเชีย ซึ่งตอนนี้ เทรดที่ 32.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถ้าดูตลอดทั้ง 7 เดือนก็อ่อนค่าที่สุด ฉะนั้น แนวคิดเรา คือ ค่าเงินบาทยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยมีปัจจัยเข้ามากระทบ คือ สถานการณ์โควิด-19 การท่องเที่ยว และ ราคาน้ำมัน

บาทอยู่ในโฟกัสของนักลงฝทุนต่างชาติตลอดระยะ 5 ปี เพราะแข็งค่าต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ เขาโฟกัสว่า ทำไมบาทถึงแข็ง แบงก์ชาติจะทำอะไรบ้าง เมืองไทยมีอะไรดี แต่รอบนี้ที่เจอ นักลงทุนยังสนใจบาทเทียบกับสกุลอื่น แต่คำถาม คือ บาทจะอ่อนไปถึงเท่าไหร่ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับไปแข็งแรงเหมือนในอดีต

 

·         อ้างอิงจากอินโฟเควสท์

อนุสรณ์ เล็งเศรษฐกิจไทยอาจถดถอยเป็นปีที่ 2 หลังการบริโภค-ลงทุนในปท.ทรุดแรง

อันเนื่องจากการล็อกดาวน์และการขยายล็อกดาวน์รอบใหม่และความไม่สามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ จำนวนการติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังทำสถิติสูงสุดรายวัน มาตรการขยายล็อกดาวน์ 13 จังหวัดไม่ได้ผลเท่าไหร่นักและทำให้ 3 จังหวัดซึ่งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมส่งออกได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน จึงอาจจำเป็นต้องขยับเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ 60% และดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมทุกมิติ โดยเสนอให้พักหนี้ให้กับครัวเรือนรายได้น้อยและกิจการขนาดเล็กจนถึงสิ้นปี


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com