• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

    27 กรกฎาคม 2564 | Gold News





ทองลงจากตลาดเตรียมพร้อมรอผลประชุมเฟด

ราคาทองคำปรับตัวลดลง จากกลุ่มนักลงทุนที่มีท่าทีระมัดระวังก่อนทราบผลประชุมเฟด จึงบดบังปัจจัยบวกจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนตัว


ขณะที่กองทุนทองคำ SPDR ทำการเทขายออกต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ที่ระดับ 1.74 ตัน รวมขายสองวันรวม 2.91 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,025.64 ตัน




ส่งผลให้ภาพรวมเดือนก.ค. นี้ ขายออกแล้วรวม 20.14 ตัน และนับตั้งแต่ต้นปี - 26 ก.ค. รวมกองทุน SPDR ขายทองสุทธิ 145.1 ตัน


· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.2% ที่ 1,798.41 เหรียญ


· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -0.1% ที่ 1,799.20 เหรียญ
ซึ่งสัญญาส่งมอบเดือนส.ค.ในตลาด COMEX จะหมดอายุลง 29 ก.ค.นี้



· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -2.5 เหรียญ ที่ระดับ 1,803.4 เหรียญ


· ธนาคารกลางสหรัฐฯเปิดฉากประชุม 2 วันทำการในวันนี้วันแรก




· นักวิเคราะห์จาก ED&F Man Capital Markets กล่าวว่า ในการประชุมเฟดเราอาจไม่ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับการกล่าวย้ำถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด แต่ค่อนข้างแน่ชัดว่าอาจเห็นเฟดกล่าวถึงการปรับลดการเข้าซื้อพันธบัตร เพื่อปรับ Balance Sheet ในเวลานี้ และการดำเนินการดังกล่าวจะตามมาด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีแนวโน้มว่าการประชุมเฟดจะเป็นตัวกดดันให้ทองคำปรับตัวลดลงอย่างยั่งยืน เพราะตลาดยังมีแรงหนุนจากการที่ผลประชุมอีซีบียังคงเป็นไปในเชิงผ่อนคลายทางการเงิน และมองเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง

ภาพรวมทั้ง อีซีบี และเฟด น่าจะยังบ่งชี้ถึงการคงนโยบายผ่อนคลายไว้ก่อน ในทิศทางเดียวกัน


· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดจาก Exinity Group กล่าวว่า หากการประชุมเฟดมีรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับแผนการลด QE ก็อาจกดดันให้ทองคำกลับลงทดสอบต่ำสุดเมื่อช่วงเดือนมิ.ย. บริเวณ 1,750 – 1,770 เหรียญได้


· ซิลเวอร์ปิด +0.2% ที่ระดับ 25.22 เหรียญ


· นักกลยุทธ์จาก Blue Line Futures กล่าวว่า ซิลเวอร์รอการ Breakout ท่ามกลางตลาดที่ค่อนข้างรับข่าวโครงสร้างพื้นฐานและภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ที่อาจกระทบต่อภาคเทคโนโลยี และการสั่งซื้อซิลเวอร์ได้ด


· สถานการณ์น้ำท่วมในจีน เพิ่มความกังวลอย่างมากว่าอาจสร้างความเสียหายต่อแผนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศจีน


· แพลทินัมปิด +0.8% ที่ 1,070.11 เหรียญ


· พลาเดียมปิดปรับขึ้นเล็กน้อย บริเวณ 2,672.98 เหรียญ


· ดอลลาร์อ่อนค่า - ตลาดรอเฟด ขณะที่ Crypto รีบาวน์

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง -0.261% ที่ 92.654 จุด ภายใต้แรงกดดันจากค่าเงินยูโรและเยน ประกอบกับนักลงทุนรอคอยผลประชุมเฟด ท่ามกลางค่าเงิน Cryptocurrency ที่รีบาวน์ ทำสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น +0.27% ที่ 1.1800 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่สถาบัน Ifo เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีออกมาลดลงจากความกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับภาวะห่วงโซ่อุปทาน และการระบาดที่เพิ่มขึ้น

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้น +0.4% ที่ 110.11 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางปอนด์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโรแม้จะมีการระบาดในอังกฤษมากขึ้นก็ตาม

ภาพรวมดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นมาได้แล้วเกือบ 4% ตั้งแต่ 25 พ.ค. จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับแรงหนุนจากโอกาสเฟดที่น่าจะเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธบัตรได้โดยเร็วที่สุดภายในปีนี้


· Bitcoin ทะยานแตะ $40,000 ครั้งแรกนับตั้งแต่มิ.ย. จากการฟื้นตัวของ Crypto หลังเผชิญแรงเทขายก่อนหน้า

Bitcoin ปรับตัวขึ้นเหนือ 40,000 เหรียญได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดที่กลับมาเป็น “ขาขึ้น” หลังเผชิญแรงขายไปเมื่อไม่นานมานี้


· ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯปรับลงทำต่ำสุดรอบ 14 เดือน จากภาวะอุปทานชะงักงัน ล่าสุดภาพรายปีในเดือนมิ.ย. ปรับร่วงลง 6.6% แตะ 676,000 ยูนิต ถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่เม.ย. ปี 2020

ขณะที่ข้อมูลในเดือนพ.ค. ถูกปรับลดลงมาแตะ 724,000 ยูนิต จากรายงานก่อนหน้าที่อยู่ที่ 769,000 ยูนิต


· ความขัดแย้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้การเจรจายืดเยื้อ

เมื่อวานนี้การเจรจารอบใหม่ระหว่างตัวแทนพรรครีพับลิกันและเดโมแครตเกี่ยวกับแผนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านเหรียญที่นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯยื่นเสนอ ก็ดูจะเกิดความไม่แน่นอนอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ก่อให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาเจรจากันอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อใด

นายชัค ชูมเมอร์ส ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวว่า สภาสูงกำลังดำเนินการร่วมกันและอาจใช้เวลาจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงวันหยุดพักพ่อนของสภาคองเกรสในเดือนส.ค. และหากจำเป็นต้องร่างข้อตกลงทางสภาก็น่าจะไม่ทำการหยุดใดๆ


· ทางการจีนชี้ความสัมพันธ์ “สหรัฐฯ-จีน” ยังไม่สู้ดี

การพบกันของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางสหรัฐฯและจีนจบลงที่ต่างฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์กัน ซึ่งก่อนการเจรจาจะยุติลงรองรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ “กำลังเผชิญทางตันและค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบาก”


· สภาวะเงินเฟ้อและความเสี่ยงจาก Delta ดูจะกำลังส่งผลให้เกิด “จุดหักสำคัญ” (‘inflection point’) ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดการกล่าวเตือนถึงภาวะขาขึ้นที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน


· นายจิม เครเมอร์ นักจัดรายการชื่อดังของ CNBC กล่าวว่า การกลับมาเปิดทำการครั้งที่สองจะส่งผลให้การซื้อขายในตลาดหุ้นฟื้นตัว


· หุ้นสหรัฐฯทำ All Time High – นักลงทุนตอบรับผลประกอบการบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่


· น้ำมันดิบทรงตัวจากตลาดมองอุปทานครึ่งปีหลังยังตึงตัว แต่ภาวะ Delta ระบาด ยังสร้างความกังวล หวั่นอาจกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันได้

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 5 เซนต์ ที่ 72.12 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 18 เซนต์ ที่ 74.28 เหรียญ/บาร์เรล

ภาพรวมน้ำมันดิบสองชนิดลงไปกว่ 1 เหรียญ/บาร์เรลในช่วงต้นตลาดซื้อขาย


· ยอดติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกรวมสะสม 195.34 ล้านราย และเสียชีวิตสะสม 4.18 ล้านราย


· ขณะที่ยอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไทย ส่งผลให้ครองอันดับติดเชื้อใหม่เพิ่มมากที่สุดลำดับที่ 10 ของโลก

รายงานจาก ศบค. วันนี้ พบเสียชีวิต 118 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 14,150 ราย




· นักบริหารเงิน คาดว่าต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยสัปดาห์หน้ามีปัจจัยที่ ต้องติดตาม คือการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เพื่อแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 28 ก.ค.


· อ้างอิงจาก Posttoday

ธนาคารมิซูโฮ (Mizuho Bank) ระบุว่า เงินบาทซึ่งเคยเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในเอเชียก่อนเกิดโรคระบาด ได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในปี 2564 และเป็นสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในปีนี้ในภูมิภาค โดยชี้ว่า “ผลงานที่ด้อยประสิทธิภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อนของสกุลเงินบาททำให้เป็นผลงานที่แย่ที่สุดในปี 2564”

ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบเป็นรายปี ณ เช้าวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม 2564 ตามข้อมูลของ Refinitiv Eikon

ตามรายงานของ Refinitiv สกุลเงินของไทยมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดในปีนี้ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เงินเยนของญี่ปุ่นลดลงเกือบ 7% ริงกิตมาเลเซียลดลง 5% ในขณะที่เงินดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง 4.43% เมื่อเทียบเป็นรายปี


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com