ประชุมเฟดอาจเป็นบททดสอบจุดต่ำสุดของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
เม็ดเงินในตลาดพันธบัตรกว่า 22 ล้านล้านเหรียญ อาจได้รับผลสะท้อนจากการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ โดยจะเห็นได้ว่าคาดการณ์ที่น้อยลงเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยได้หนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปีนี้ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่รีบาวน์ได้จากการระบาดของ Covid-19
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลดลง นับตั้งแต่ที่การประชุมเฟดดูจะมีสัญญาณการสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินแบบ Hawkish ในเดือนที่แล้ว ประกอบกับโอกาสการขึ้นดอกเบี้ย และการหารือเรื่องการยุติการซื้อพันธบัตรของเฟด ที่ดูจะเกิดขึ้นท่ามกลางปรับขึ้นของเงินเฟ้อ
โดยจะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่เคยทำสูงสุดบริเวณ 1.776% ในช่วงปลายเดือนมี.ค. ปรับตัวลดลงแตะต่ำสุดตั้งแต่ก.พ. เมื่อวันอังคารที่แล้วบริเวณ 1.128% ควบคู่กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว 30 ปี ที่เคลื่อนไหวปรับลงเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า ภาวะ Yield Curve เริ่มมีการทรงตัวในแนวราบมากขึ้นตั้งแต่นั้นมา และทำให้ Gap ระห่าง อัตราผลตอบแทนระยะสั้น 2 ปี และ 10 ปี หดตัวลงมาแคบมากที่สุดตั้งแต่ก.พ. ที่ผ่านมา
ภาพรวมจะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเดือนมิ.ย. ค่อนข้างตอบรับกับการประชุมเฟด ควบคู่กับผลจากปัจจัยทางเทคนิค จึงทำให้อัตราผลตอบแทนมีการปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากตลาดกังวลต่อสถานการณ์ Delta Covid ระบาด และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
มุมมองนักวิเคราะห์กับกำหนดการประชุมเฟดจะเริ่มต้นขึ้นระหว่างวันนี้และวันพรุ่งนี้
หัวหน้าฝ่ายนักกลยุทธ์จาก MUFG กล่าวว่า เฟดจำเป็นต้องหนุนตลาดการเงินด้วยแนวโน้มเชิงบวกที่สะท้อนว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯเดินต่อไปข้างหน้าอย่างเหมาะสม” พร้อมคาดว่า เฟดจะยังเดินหน้าหนุนการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนวงเงิน 1.2 แสนล้านเหรียญต่อไป
หากเฟดมีมุมมองเช่นนี้ อาจช่วยบรรเทาการอ่อนตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และเห็นการปรับขึ้นต่อได้
นักกลยุทธ์จาก Morgan Stanley ยังเชื่อว่า การประชุมเฟดวาระนี้ อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่หนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ การประเมินทิศทางเศรษบกิจของเฟด และการหารือเรื่องลด QE จะเพิ่มความมั่นใจต่อตลาดเกี่ยวกับแนวทางการคุมเข้มทางการเงิน
นักวิเคราะห์จาก Jefferies กล่าวว่า ประชุมเฟดในเดือนมิ.ย. ดูจะมีนัยยะสำคัญต่อการประกาศชัยชนะในเรื่องการจัดการกับ “COVID-19”
แต่การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง Delta และอัตราการฉีดวัคซีนที่ชะลอตัวลดลง อาจส่งผลให้ “เฟดปลี่ยนท่าทีจากการประชุมเดือนก่อน”
แต่หากเฟดมีท่าที Dovish มากขึ้น ก็อาจจุดประกายความกังวลเรื่อง “เศรษฐกิจ” ได้
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์การเงินจาก Oxford Economics กล่าวว่า ข้อมูลเศรษฐกิจดูจะเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนตลาด ซึ่งอาจเปลี่ยนจากการคาดหวังการเติบโตมากเกินไปจนกลายเป็นเชิงลบมากเกินไปในตอนนี้
หาก “ประธานเฟด” มีมุมมองเชิงบวกสำหรับช่วง 6 เดือนข้างหน้า จากการตระหนักถึงเงินเฟ้อเป็นเพียงชั่วคราว อาจทำให้เราตระหนักได้ถึงมุมมองครึ่งปีหลังของปีนี้ได้มากขึ้น ประกอบกับทิศทางการขยายตัวที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ที่มา: Reuters