ทองทรงตัวใกล้ระดับสำคัญ 1,800 เหรียญ แม้ดอลลาร์จะอ่อนแต่ตลาดยังสนใจเฟด
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.2% ที่ระดับ1,800.46 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ทรงตัวบริเวณ 1,799.8 เหรียญ
· ราคาทองคำยังคงปิดค่อนข้างทรงตัวแถวระดับสำคัญบริเวณ 1,800 เหรียญ ท่ามกลางนักลงทุนที่มีท่าทีระมัดระวังรอผลประชุมเฟด ที่อาจให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลดแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงจำกัดการปรับขึ้นของราคาทองคำที่ได้รับอานิสงส์จาก
1) ดอลลาร์อ่อนค่ารอเฟด โดยดัชนีดอลลาร์ปิด -0.26% ที่ระดับ 92.362 จุด
ด้านยูโรแข็งค่า 0.26% ที่ระดับ 1.1833 ดอลลาร์/ยูโร
เงินปอนด์แข็งค่าอีก 0.55% ที่ระดับ 1.38925 ดอลลาร์/ปอนด์ ตลาดเริ่มลดความสนใจต่อข่าวยอดติดเชื้อในอังกฤษที่เพิ่มขึ้นหลังถอน Lockdown
2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนตัวลง ตลาดสนใจเฟด
อัตราผลตอบแทนปรับลงท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลด และตลาดมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อในระดับสูง ควบคู่กับการระบาดของ Delta ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีปรับลงมาที่ 1.239% จาก 1.276% ในวันจันทร์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 30 ปี ปรับลงมาที่ 1.891% จาก 1.925%
· ภาพรวมราคาทองคำยังค่อนข้างทรงตัว หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วไม่สามารถผ่าน 1,830 เหรียญไปได้
· หัวหน้านักกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์จาก TD Securities กล่าวว่า เม็ดเงินลงทุนยังไหลออกจากตลาดทองคำ อันเนื่องจากความแข็งแกร่งของตลาดหุ้น แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะอ่อนตัว ดังนั้น ทองคำจึงมีปัจจัยลบอยู่ และต้องติดตามว่าข้อมูลเศรษฐกิจจะอ่อนตัวลงต่อหรือไม่ เพราะจะเป็นตัวผลักดันให้ราคาทองปรับขึ้นได้อีกครั้ง
· นักลงทุนยังคงรอประชุมเฟด ว่าจะรับมือกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างไร ในสภาวะที่ Delta Covid กำลังระบาดหนัก
· นักวิเคราะห์จาก FXTM มองว่า ทองคำจะยังเคลื่อนไหวในกรอบจนกว่าจะทราบผลประชุมเฟด
ซึ่งหากเฟดยังคงผ่อนคลายทางการเงินต่อไป อาจหนุนให้ทองคำมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก
· ซิลเวอร์ปิด -1.8% ที่ 24.71 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -1.1% ที่ 1,052.96 เหรียญ
· พลาเดียมปิด -1.8% ที่ $2,609.14 เหรียญ
· ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯทำสูงสุดรอบ 17 เดือน บริเวณ 129.1 จุดในเดือนก.ค. สูงสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 ท่ามกลางค่าใช้จ่ายในภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีความกังวลเงินเฟ้ออยู่บ้าง แต่ภาพรวมก็ยังคงสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งช่วงต้นไตรมาสที่ 3
· S&P/Case-Shiller เผย ราคาบ้าน 20 เขตในเดือนพ.ค. ปรับตัวขึ้นเร็วสุดในรอบเกือบ 17 ปี โดยดัชนีล่าสุดปรับขึ้นเกินคาด 17% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ส.ค. ปี 2004
อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายเดือนจะพบว่าดัชนีราคาบ้าน 20 เขต ปรับเพิ่มขึ้นเกินคาดเช่นกันมาที่ระดับ 1.8% เมื่อเทียบจากเดือนเม.ย.
· เฟดอาจแสดงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับไวรัส และลดท่าทีคุมเข้มนโยบายทางการเงิน
สำหรับคืนนี้ เวลาประมาณตี 1 จะมีการแถลงผลประชุมตลอดช่วง 2 วันนี้ และนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด จะกล่าวให้สัมภาษณ์สื่อเวลาตี 1 ครึ่งโดยประมาณ ตามเวลาไทย
เฟดถูกคาดการณ์เป็นวงกว้างว่าจะเริ่มต้นหารืออย่างจริงจังในเรื่องการลดการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงปลายเดือนส.ค. ณ การประชุมธนาคารกลางที่เมืองแจ็กสัน โฮล หรือ ในการประชุมเฟดเดือนก.ย.
โดยการทยอยลดการเข้าซื้อพันธบัตรบางส่วนอาจเกิดขึ้นได้ก่อนช่วงสิ้นปีนี้
· ไอเอ็มเอฟ เตือน ภาวะเงินเฟ้อสูงอาจทำให้ธนาคารกลางต่างๆจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ
· IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศร่ำรวย – ลดคาดการณ์ประเทศกำลังพัฒนาจากยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้น
คงคาดการณ์จีดีพีโลกปีนี้โตได้ 6% แต่ปี 2022 ปรับเพิ่มคาดการณ์อีก 0.5% สู่ระดับ 4.9% เชื่อแผนค่าใช้จ่ายสหรัฐฯ และคืบหน้าการฉีดวัคซีนจะหนุนการเติบโตปีหน้า
· Fox News รายงานว่า “นายมิทช์ แมคคอนเนล” ผู้นำเสียงข้างน้อยแห่งวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวว่า สมาชิกวุฒิสภาจากรีพับลิกันทุกคนจะทำการโหวต “NO” สำหรับร่างงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานของเดโมแครตมูลค่า 3.5 ล้านล้านเหรียญ
· น้ำมันดิบปิดค่อนข้างทรงตัวจากข่าวไวรัสระบาด – ภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัว
บรรดานักลงทุนในตลาดน้ำมันมีความกังวลต่อภาวะอุปสงค์น้ำมันที่อาจได้รับผลกระทบจากยอดติดเชื้อ Covid-19 ขณะที่ภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดประสบภาวะตึงตัว ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มสูงขึ้น
น้ำมันดิบ WTI ปิด -26 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 71.65 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ Brent ปิด -2 เซนต์ ที่ 74.48 เหรียญ/บาร์เรล ปิดปรับลงครั้งแรกในช่วง 6 วันทำการ
ข้อมูลจาก API เผยสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลง 4.7 ล้านบาร์เรล จึงช่วยพยุงการปรับตกของราคาน้ำมัน ขณะที่สต็อกแก๊สโซลีนปรับลง 6.2 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันดีเซลล์ปรับลง 1.9 ล้านบาร์เรล
สำหรับคืนนี้นักลงทุนรอการประกาศข้อมูลจาก EIA ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ
· CORONAVIRUS UPDATES:
การระบาดของ Delta ส่งผลให้ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 570,726 ราย รวมสะสมสูง 195.93 ล้านราย ในขณะที่เสียชีวิตแตะ 4.19 ล้านราย
· ข้อมูลจาก Our World ระบุว่า ประชาชนทั่วโลกที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามจำนวนโดสมีเพียง 13.81% ขณะที่ผู้ได้รับการฉีดวัคซีน 1 เข็มมีทั้งสิ้น 13.46% และจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
· Centene Corp ชี้ ค่าประกันสุขภาพจาก COVID-19 อาจพุ่งขึ้นในไตรมาสที่ 4 จาก Delta ที่ระบาดหนัก กลายเป็นสายพันธุ์หลักทั่วโลก
· สำหรับสถานการณ์ในไทยตอนนี้ทำ NEW HIGH ใหม่ทะลุ 16,000 รายจากข้อมูลล่าสุดในเช้านี้
ยอด "โควิด-19" วันนี้ ยิ่งน่าวิตกอย่างมาก หลังพบติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 16,533 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตสูงถึง 133 ราย ยิ่งตอกย้ำถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยรวมของประเทศไทยนั้นยังคงวิกฤติ และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
· นักบริหารการเงิน คาดว่าวันพฤหัสบดีเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85 - 33.05 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือผลการประชุมเฟดคืนนี้
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารโลกระบุว่า ไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพียง 34,000 คนเมื่อนับถึงเดือนพ.ค.ปีนี้ เมื่อเทียบกับปี2562 ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 39 ล้านคน โดยไทยพึ่งพาอย่างมากกับรายได้สกุลเงินดอลลาร์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว ซึ่งการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวนั้นคิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- ศูนย์วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า การส่งออกของไทยมีแนวโน้มเติบโตในอัตราเลข 2 หลักช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวดีของเศรษฐกิจโลก นำโดยประเทศแกนหลัก การทยอยเปิดประเทศและการกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อย ไป การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ที่คั่งค้างจากช่วงก่อน ภาคบริการที่เริ่มกลับมาดำเนินการได้ รวมถึงการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเหล่านี้ ตลอดจนการฉีดวัคซีนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในหลายประเทศ
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินโครงการเยียวยา นายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นจำนวน 15,027.686 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,522.99 ล้านบาท จากเดิม 13,504.696 ล้านบาท โดยเพิ่มจากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ 3 จังหวัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติ เรื่อง แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ โดยมีวงเงินปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ150,000 ล้านบาท จากเดิม 1,647,131.74 ล้านบาท เป็น 1,797,131.74 ล้านบาท ให้สอดคล้องกับความต้องการในการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล เพื่อดำเนินแผนงานหรือโครงการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม)
- ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ใช้เป็นแนวทางในการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าผู้ใช้บริการ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้มีความปลอดภัยและความเชื่อมั่นแก่ประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงินในโลกการเงินยุคดิจิทัลในอนาคต