• ค่าเงินบาททรุดหนักที่สุดในเอเชีย ฝันร้ายจากเศรษฐกิจย่ำแย่

    29 กรกฎาคม 2564 | Economic News
  



·         อ้างอิงจาก Brand Inside

ค่าเงินบาททรุดหนักที่สุดในเอเชีย ฝันร้ายจากเศรษฐกิจย่ำแย่ นักท่องเที่ยวเหลือไม่ถึง 1%


Mizuho Bank รายงาน เงินบาทเป็นสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2021 และมูลค่าตกตลอดทั้งปี สวนทางก่อนโควิดระบาด ที่เงินบาทเคยเป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชีย


สถิติจาก Refinitiv Eikon ระบุว่ามูลค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐร่วงลงมามากกว่า 10% แล้วในปี 2021 ซึ่งทาง Mizuho Bank อธิบายว่า เกิดจาก “เศรษฐกิจไทยที่ย่ำแย่ผิดปกติ”


Vishnu Varathan หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและกลยุทธ์ของธนาคารมิซูโฮ อธิบายว่า “สถานการณ์ดังกล่าวขัดแย้งกับดุลการค้าที่เป็นบวกและอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำในไทย”


นักท่องเที่ยวที่หายไปมีผลต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลกระทบจากไวรัสโควิดโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเทียบประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันที่มีสถานการณ์ “ที่น่าหดหู่” มากกว่าจากโควิดสายพันธุ์เดลต้า


การหายไปของนักท่องเที่ยวส่งผลระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก ด้วยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่สูงถึง 11% ของ GDP ของไทยในปี 2019 ความต้องการแลกเงินบาทที่ลดลงเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ทำให้มูลค่าสกุลเงินบาทตกลงอีกด้วย


Euben Paracuelles หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจอาเซียนของ Nomura อธิบายว่า การพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวที่มากไปของไทยจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นฟูยาก ด้วยยอดโควิดในประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการทดลองเปิดสถานที่ท่องเที่ยวที่ล้มเหลว เช่น การทดลอง “แซนด์บ็อกซ์” ในภูเก็ตที่นักท่องเที่ยวไม่ต้องกักตัว ซึ่งพบว่ามีผู้ติดเชื้อถึง 27 รายหลังเปิดไปได้เพียง สัปดาห์


Euben มองว่า เป้าหมายในการเปิดประเทศในเดือนตุลาคมนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ด้วยรายได้มหาศาลจากการท่องเที่ยวที่รออยู่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะพยายามและฟื้นฟูได้ก่อนเช่นเดียวกัน


ผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่หายไปทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน นี่อาจจะเป็นข้อดีที่ทำให้การส่งออกของประเทศไทยฟื้นตัวเร็วขึ้นก็เป็นได้

 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ

- "เศรษฐกิจไทย" รั้งท้าย เชื่อมั่นตก กว่าจะฟื้นเท่าก่อนโควิด ใช้เวลา 5 ปี


พร้อมคาดการณ์ว่า ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2564 อาจจะต้องเตรียมพร้อมรับมือจำนวนยอดติดเชื้อไวรัส Covid-19 ที่อาจเพิ่มเป็น 2 เท่า หลังมีการประเมินว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ณ เวลานี้ อาจไม่ใช่ "ตัวเลขจริง!"


ส่วนมาตรการ (กึ่ง) "ล็อกดาวน์" ที่ประกาศใช้กับ 13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จะใช้ได้ผลหรือไม่นั้น "ผลลัพธ์" คงต้องติดตามดูในช่วงต่อสัปดาห์ต่อจากนี้


ขณะที่ประมาณการความเป็นไปได้ว่า ตลอดปี 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะยัง "ต่ำ" อย่างมีนัยสำคัญ


รศ.ดร.สมชาย มองว่า หากอยากให้ "สัญญาณฟื้นตัว" ของเศรษฐกิจไทยเด่นชัด คงจะต้องพึ่งพากระบวนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการสนับสนุนทางการคลังที่มีประสิทธิผล และการหวนกลับคืนมาของภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

 

·         อ้างอิงจาก PPTV 36

โควิดพ่นพิษ! เศรษฐกิจไทย มิ.ย.64 ความเชื่อมั่นผู้บริโภควูบ เอกชนชะลอลงทุน แต่ส่งออกสินค้าเกษตรโต

ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีสัญญาณชะลอลง



 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

คลัง ชี้เศรษฐกิจไทยยังโดนโควิดกระทบ สะท้อนจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มชะลอลง อยู่ระดับ 5% ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงเหลือ 43.1% ส่วนการส่งออกขยายตัว 43.8% สูงสุดในรอบ 11 ปี

 

ขณะที่ “ภาคการส่งออก” ถือเป็นเครื่องยนต์สุดท้ายแบกเศรษฐกิจไทย ปี 2564

 

ศบศ.เดินหน้าดึงนักลงทุนต่างชาติ แก้กฎ-ลดภาษี ฟื้นเศรษฐกิจไทย

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้สินเชื่อ-เงินฝาก Q2/64 ชะลอตัว ย้ำสัญญาณเปราะบางทางเศรษฐกิจไทย


-  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในวันนี้จะประกาศตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 64-65 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.3% จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย แต่ยังไม่เห็นสัญญาณว่าจะเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบในปีนี้


พร้อมทั้ง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิ.ย 64 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคชะลอตัวลงจากเดือนก่อนในหลายภูมิภาค อันเป็นผลจากการบริโภคอุปโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑลยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนพ.ค.ผ่านมา

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- ‘ทีดีอาร์ไอ’ชี้เศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตต่ำ แนะเร่งอีอีซี - โปรเจ็กต์ยักษ์ภาคใต้


ระดับการลงทุนของประเทศไทยเมื่อเทียบกับจีดีพีมีสัดส่วนที่ลดลงมาตลอดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งทำให้ธุรกิจจำนวนมากยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่เรียกว่า Old Economy ซึ่งหากจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ต้องเพิ่มการลงทุน และเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่




 

'หมอศุภโชคแพทย์รพ.รามาธิบดี เผย 'ยอดโควิด 19' วันนี้ 16,000 ราย ไม่ใช่ยอดที่แท้จริง เหตุไทยรายงานเฉพาะเคสยืนยัน PCR testing หากรวมยอดจริงทั้งหมด คาดพบ 'ผู้ติดเชื้อ'สูงถึง แสนรายต่อวัน

ทั้งนี้ ถ้านับเคสที่ positive จาก Antigen test kit ที่ active finding case ด้วย (ซึ่งเป็น probable covid-19 cases) คิดว่ายอดจะขึ้นสูงไปมากกว่านี้

นอกจากนี้ มีคนทำ Simulation model ไว้ว่ายอดจริงๆอาจะมากกว่านี้ 8-9 เท่าเลย แปลว่าที่ positive ต่อวันถ้าตรวจได้มากแบบไม่จำกัด ยอดอาจจะสูงถึง 100000 คน/วันได้

ดังนั้น ถ้าจะรายงานเคสก็รายงาน definite case/ probable case แยกกันก็ได้จะได้ทราบ magnitude ของปัญหาที่แท้จริง

 

·         อ้างอิงจากสยามรัฐ

- น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุถึง การพบผู้ติดเชื้อโควิดในกรุง “ไม่แสดงอาการ” 4-5 แสนราย เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและควบคุมโรคได้ยาก


จากความรู้ทางด้านไวรัส ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดนั้น พบว่าเมื่อตอนต้นปี 2563 นักวิชาการคาดคะเนว่า ในผู้ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการมากถึง 80% และติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ 20% แต่เมื่อเวลาผ่านมาหนึ่งปีเศษ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจริงและการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ก็ประมาณการว่า ผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการมีเพียง 20% หรือหนึ่งในห้า และมีการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการมากถึง 80% หรือสี่ในห้าส่วน


โดยที่ศักยภาพการตรวจมาตรฐานเพื่อหาไวรัสหรือ RT-PCR มีข้อจำกัดทั้งเรื่องการเก็บตัวอย่างที่ยุ่งยาก ต้องใช้บุคลากรทางสาธารณสุข ต้องจัดหาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนและราคาแพง ตลอดจนน้ำยาชุดตรวจก็มีค่าใช้จ่ายสูง การรอผลการตรวจก็กินเวลามาก


จึงคาดได้ว่า ยังมีประชากรที่ติดเชื้อแล้ว แต่ยังไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยมาก จึงยังไม่ได้รับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCT เป็นจำนวนมาก และประชากรส่วนนี้ อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การเกิดการแพร่ระบาดและควบคุมโรคได้ยาก เพราะเจ้าตัวเอง ก็ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ จึงไม่ได้ระมัดระวัง


การเร่งตรวจเชิงรุก เพื่อหาผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงเป็นมาตรการสำคัญยิ่ง เพื่อที่จะสกัดหรือทำการควบคุมการระบาดของ โควิด-19



อ่านต่อhttps://siamrath.co.th/n/266019


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com