ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเฟดส่งสัญญาณว่าจะไม่รีบเร่งปรับลด QE แม้ว่าความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนจะเปราะบาง เนื่องจากนักลงทุนรอดูว่าจีนจะระงับการขายหุ้นจีนและฮ่องกงเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งเกิดจากการปราบปรามในหลายภาคส่วน รวมถึงการศึกษาภาคเอกชนได้หรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีข่าวที่น่ายินดีเกี่ยวกับร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่รอคอยมานาน เนื่องจากวุฒิสภาฯลงมติให้เดินหน้าในข้อตกลงมูลค่า 1.2 ล้านล้านเหรียญ
ดัชนี Kospi เคลื่อนไหวทรงตัว
ดัชนี Blue-chip +1.6% แต่ยังคงลดลง 5% ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัว 1.9% หลังร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค.เมื่อวานนี้
· หุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นจากรายงานผลประกอบการสดใส - ตลาดตอบรับเฟด
ดัชนี Nikkei ปิด +0.36% ที่ 27,677.24 จุด
ดัชนี Topix ปิด +0.17% ที่ 1,922.91 จุด
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนจากหุ้นบริษัท Nissan Motor และบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Semiconductor ที่มีผลประกอบการออกมาอย่างแข็งแกร่งจนน่าประหลาดใจ
ขณะที่เฟดไม่รีบเร่งถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยต้องการรอความคืบหน้าของตลาดแรงงานก่อน
· หุ้นจีน - ฮ่องกง รีบาวน์ต่อเนื่อง จากรัฐบาลบรรเทาความกังวลของตลาดจากภาวะ Panic เกี่ยวกับมาตรการเข้มงวด
ดัชนี CSI300 ปิด +1.2% ที่ 4,818.78 จุด
ดัชนี Shanghai Composite ปิด +1.0% ที่ 3,394.74 จุด
ดัชนี HSI ปิด +1.8% ที่ 25,925.07 จุด
ดัชนี Hang Seng Tech Index ทะยานกว่า 4%
นักลงทุนทั่วโลกคลายกังวลจากมาตรการเข้มงวดที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว จากการแบนกลุ่มบริษัททางการศึกษา จากการต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์ ขณะเดียวกันก็มีมาตรเข้มงวดต่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่
สำนักข่าว Xinhua รายงาน ว่า มาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต อันจะเป็นผลดีต่อความก้าวหน้าในระยะยาวของประเทศ และจีนยังคงเปิดกว้างต่อการเข้าถึงตลาดทุนต่างๆด้วยเช่นกัน
· หุ้นภาคธนาคาร 3 อันดับแรกของสิงคโปร์ปรับตัวขึ้น หลังจากที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศยกเลิกข้อจำกัดการจ่ายเงินปันผล หลังจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยธนาคาร DBS Group Holdings ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% ในการซื้อขายช่วงแรก
ขณะที่ Oversea-Chinese Banking Corp และ United Overseas Bank เพิ่มขึ้นประมาณ 1%
ทั้งนี้ ธนาคารทั้ง 3 แห่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของดัชนี Straits Times Index ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.5%
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการประกาศผลประกอบการภาคบริษัทรอบใหม่และการย้ำจุดยืนเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายของเฟด
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx เพิ่มขึ้น 0.3% โดยหุ้นแก๊สและน้ำมันพุ่งขึ้น 1.7% ขณะที่กลุ่มอาหหารและเครื่องดื่มลดลง 1.2%
· ดัชนี FTSE 100 ลอนดอน ปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการและเงินปันผลที่แข็งแกร่ง จึงช่วยบดบังความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและกรณีของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ด้านดัชนี blue-chip เพิ่มขึ้น 0.4% นำโดยบริษัทน้ำมัน Royal Dutch Shell บริษัทขุดแร่ Anglo American และ Rentokil Initial บริษัทกำจัดแมลง
· สถาบันจัดอันดิบ 'ดาวน์เกรด' บริษัท China Evergrande จากระดับ B สู่ระดับ CCC อันเป็นผลจากความกังวล "พันธบัตรขยะ" เพิ่มมากขึ้น จึงอาจกดดันความเชื่อมั่นนักลงทุนให้อ่อนแอ รวมทั้งกดดันสภาพคล่องของบริษัทด้วย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- หุ้นไทยวันนี้ (29 ก.ค.) ปิดตลาดภาคเช้า +2 จุด ซื้อขาย 39,690 ล้านบาท
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (29 ก.ค.) ดัชนี SET Index ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ระดับ 1,539.80 จุด ปรับขึ้น +2.17 จุด หรือคิดเป็น +0.14% มีมูลค่าซื้อขายรวมทั้งสิ้น 39,690 ล้านบาท เคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,534.26-1,545.08 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ DTAC ADVANC และ KBANK
ขณะที่ดัชนี SET50 ปรับขึ้น +0.94 จุด หรือคิดเป็น +0.10% อยู่ที่ 918.66 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายรวม 18,233 ล้านบาท คิดเป็นราว 45.94% ของมูลค่าซื้อ-ขายในตลาด SET
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- คลัง หั่น GDP ปี 64 เหลือโต 1.3% รับพิษโควิดแม้ส่งออกดี,ปี 65 ฟื้นโต 4-5%
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 64 ลงเหลือขยายตัว 1.3% โดยมีช่วงคาดการณ์ 0.8% ถึง 1.8% เมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน ณ เดือน เม.ย.64 ที่ 2.3% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ซึ่งในช่วง 5เดือนแรกมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูง 14.5% ส่งผลให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยทั้งปี 64 จะขยายตัว 16.6% (ช่วงคาดการณ์ 16.1-17.1%) ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 11%
ส่วนในปี 65 คาดว่า GDP จะเติบโตเร่งตัวขึ้นเป็น 4-5% จากการประเมินว่าสถานการณ์โควิดจะดีขึ้น ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจต่าง ๆ กลับมาทำได้มากขึ้น และการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นหลังจากมีการเดินทางระหว่างประเทศได้
- กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 32.75-33.10 รอผลประชุมเฟด
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า
เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-33.10 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 32.92 บาท/ ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 32.78-32.94 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างสัปดาห์เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 15 เดือน เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งเป็นไปอย่างผันผวน โดยเงินยูโรแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติคงนโยบายแต่ให้คำมั่นว่าจะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นานขึ้น โดยแม้อีซีบีมองว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุล แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของสหรัฐฯแตะจุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ขณะตลาดกังวลกับแรงส่งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯหลายรายการในระยะนี้ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 6,203 ล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรมูลค่า 8,719 ล้านบาท