• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

    30 กรกฎาคม 2564 | Gold News



ภาพรวมรายสัปดาห์ทองคำเพิ่มขึ้นในรอบ 2 เดือน ท่ามกลางท่าทีผ่อนคลายของเฟด


· ราคาทองคำทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยภาพรวมรายเดือนปรับตัวสูงขึ้นในรอบกว่า 2 เดือน ท่ามกลางสัญญาณเชิงผ่อนคลายนโยบายของเฟดและไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้นี้


· ราคาทองคำตลาดโลกทรงตัวแถว 1,827.70 เหรียญ หลังจากปรับตัวสูงขึ้นไปแตะบริเวณ 1,832.40 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ราคาทองคำพุ่งขึ้น 1.5% นับตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา


· ขณะที่สัญญาทองคำลดลง 0.2% ที่ระดับ 1,827.70 เหรียญ


· ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนในช่วงก่อนหน้า หลังจากที่เฟดกล่าวว่า ยังไม่บรรลุเป้าหมายความคืบหน้าที่ยั่งยืน ทั้งในเรื่อง “เงินเฟ้อ” และ “การจ้างงาน” ก่อนที่เฟดจะตัดสินใจใช้นโยบายคุมเข้มได้


· ข้อมูลในวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่สอง แต่ยังไม่ถึงความคาดหมายของเหล่านักวิเคราะห์


· ด้านกองทุน SPDR เพิ่มการถือครองทองคำ 0.6% ที่ระดับ 1,031.46 ตัน


· โพลล์สำรวจจาก Reuters ระบุว่า ราคาทองคำอาจจะเคลื่อนไหวเหนือระดับราคาปัจจุบันที่ระดับ 1,830 เหรียญเล็กน้อยในช่วงที่เหลือของปี 2021 ก่อนที่จะปรับลดลงในปีหน้า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการที่ธนาคารกลางเริ่มเข้มงวดทางนโยบายการเงิน


· สัปดาห์นี้ "ทองคำ" ปรับขึ้นครั้งใหญ่ หลังเฟดมีท่าทีระมัดระวัง

ราคาทองคำในเช้านี้แกว่งตัวในฐานะ Safe-Haven และมีการซื้อขายเข้าใกล้สูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยมีแนวโน้มจะปิดสัปดาห์ได้แกร่งที่สุดในรอบกว่า 2 เดือน จากการที่เฟดมีท่าทีระมัดระวังในการประชุมครั้งล่าสุด ขณะที่ทองคำเคลื่อนไหวแถว 1,827 เหรียญ




Reuters Poll เผยคาดการณ์ราคาทองคำที่น่าจะทรงตัวได้เหนือ 1,830 เหรียญไปตลอดสิ้นปีนี้ และอาจจะเริ่มต้นอ่อนตัวลงในปี 2022 ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะมาสร้างแรงกดดันมากขึ้น ควบคู่กับสมาชิกเฟดหลายรายที่มีแนวโน้มเปลี่ยนท่าทีจาก Dovish และเริ่มที่จะทำการคุมเข้มทางการเงินอีกครั้ง

· Reuters Polls แสดงให้เห็นว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์พลาเดียม จากปัญหาการขาดแคลนโลหะที่ใช้เพื่อลดการปล่อยเครื่องยนต์ที่เป็นอันตราย ซึ่งคาดว่าจะรักษาราคาให้ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

· ราคาซิลเวอร์ -0.3% ที่ระดับ 25.46 เหรียญ

· ราคาพลาเดียม +0.4% ที่ระดับ 2,655.21 เหรียญ

· ราคาแพลตินัม -0.7% ที่ระดับ 1,053.47 เหรียญ


· "ริชาร์ด ฟิชเชอร์ อดีตประธานเฟดสาขาดัลลัส" กล่าวว่า เฟดอาจไม่ส่งสัญญาณถึงการลด QE ใดๆ จนกว่าจะถึงการประชุมในเดือนก.ย. และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ "เฟดจะเผยกรอบเวลาการลดQE" ก่อนจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย


· เจ้าหน้าที่จากสถาบัน Independent Institute และอดีตผู้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด มองว่า "นายเจอโรม โพเวลล์ " จะได้เป็นประธานเฟดอีกสมัย


· มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ - การฉีดวัคซีน มีแนวโน้มจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วง Q2/2021


· ธนาคารฝรั่งเศส BNP Paribas รายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 26.6% ในไตรมาสที่สอง โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคธนาคารเพื่อรายย่อยของฝรั่งเศส และการสำรองหนี้เสียที่ลดลงกลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา


· จีนรายงานยอดติดเชื้อใหม่เพิ่ม 64 ราย จากการระบาดของ Delta ในเมืองหนานจิง


· โพลล์สำรวจจาก Reuter เผยว่า กิจกรรมโรงงานของจีนในเดือนก.ค.มีแนวโน้มขยายตัวเร็วขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากราคาวัตถุดิบที่สูง นโยบายของรัฐบาล ปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาล และจำนวนผู้ป่วยไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยคาดว่าดัชนี Purchasing Manager's Index (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค.มีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 50.8 จากเดิมที่ 50.9 ในเดือนมิ.ย.


· ญี่ปุ่นขยายเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินจาก Covid-19 ที่ระบาดหนักช่วงการแข่งโอลิมปิก จนถึง 31 ส.ค.


· ผลผลิตและภาคแรงงานญี่ปุ่นปรับขึ้น แต่การสกัด Covid-19 ชะลอการเติบโต

ข้อมูลผลผลิตภาคโรงงานเดือนมิ.ย. ปรับขึ้น 6.2% หลังจากที่ร่วงลงในเดือนพ.ค. -6.5% และข้อมูลล่าสุดดูจะปรับขึ้นแกร่งสุดตั้งแต่ก.ค. ปีที่แล้ว และเป็นการฟื้นตัวสู่ระดับก่อนการเผชิญไวรัสระบาด

ผลสำรวจภาคการผลิตรัฐบาลคาดว่าจะลดลงไป 1.1% ในเดือนก.ค. แต่จะปรับขึ้น 1.7% ในเดือนส.ค. ท่ามกลางสัญญาณที่แข็งแกร่งของอุปทานทั่วโลกในกลุ่มเครื่องจักรและรถยนต์ ที่จะมาช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

ตลาดแรงงานญี่ปุ่นยังตึงตัว โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นแตะ 1.13 จุด จาก 1.09 จุด ในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราว่างงานลดลงแตะ 2.9% จาก 3% ในเดือนพ.ค.

อย่างไรก็ดี การอุปโภคบริโภคของญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง แม้จะเห็นยอดค้าปลีกปรับขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ก็ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

นายทาคาฮิเดะ คิอุจิ อดีตสมาชิกบีโอเจ คาดหวังว่าจะเห็นเห็นเศรษฐกิจญี่ปุ่นโตได้ 2-3% ในช่วงไตรมาสที่ 3/2021 นี้ และมองว่าการใช้มาตรการเข้มงวดอาจนำไปสู่การสูญเสียเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ 2.19 ล้านล้านเยน (2 หมื่นล้านเหรียญ) แม้จะมีเม็ดเงินทดแทนอันเนื่องจากการจัดกีฬาโอลิปิกราว 1.67 ล้านล้านเยน ก็ตาม

· ธนาคารกลางเกาหลีใต้ เผย พิษ Covid-19 กดดันเศรษฐกิจเกาหลีเหนือหดตัวลงมากสุดรอบ 23 ปี

ทั้งนี้ เกาหลีเหนือต้องเผชิญกับ

- การคว่ำบาตรจาก U.N.

- มาตรการ Lockdown สกัด Covid-19

- สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย

ดังนั้น คาดจีดีพีของเกาหลีเหนือมีโอกาสหดตัวลง -4.5% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขจริงดังกล่าวจะเป็นระดับที่ย่ำแย่มากสุดตั้งแต่ปี 1997 หลังจากที่ขยายตัวได้ 0.4% ในปี 2019 ซึ่งเป็นการขยายตัวได้ครั้งแรกในรอบ 3 ปี


· กรรมการผู้จัดการด้านการโรงแรมในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ ชี้ ภาคธุรกิจจะยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการท่องเที่ยว อันเป็นผลของไวรัส Covid-19

อย่างไรก็ดี เขาคาดหวังว่าจะเห็นการฟื้นตัวเพิ่มมากขึ้นได้สำหรับฮ่องกง จากการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น


· ซิดนีย์พร้อมใช้กำลังทหารบังคับ Lockdown หลังจากที่ล้มเหลวจากการจำกัด Delta ระบาด ท่ามกลางยอดติดเชื้อที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 5 สัปดาห์


· อินเดียเผชิญยอดติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นมากสุดรอบ 3 สัปดาห์ที่ระดับ 44,230 ราย

ข้อมูลล่าสุดเป็นหลักฐานชั้นดีที่สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอาจ "บังคับ" ให้เกิดการ Lockdown เพื่อกันการระบาดระลอกใหม่


· ฟิลิปปินส์ ประกาศ Lockdown กรุงมะนิลา เพื่อจำกัดการระบาดของ Delta Covid-19


· ยอดติดเชื้อใหม่รายวันในประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นแรง ส่งผลให้กลายเป็น 1 ในประเทศที่เลวร้ายที่สุดในโลก

ยอดติดเชื้อเฉลี่ยช่วง 7 วันทำสูงสุดแตะ 483.72 ต่อ 1 ล้านคน

กลายเป็นประเทศที่มียอดติดเชื้อสูงสุดเป็นลำดับที่ 8 ของโลกและสูงสุดในเอเชีย

ขณะที่ข้อมูลยอดเสียชีวิตรายวันจาก Covid-19 เฉลี่ย 4.9 ต่อ 1 ล้านคน ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยช่วง 7 วันกลายเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดเป็นลำดับที่ 9 ของโลก และเป็นประเทศที่ 3 ที่เสียชีวิตมากสุดในแถบเอเชีย


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com