• จ้างงานสหรัฐฯเดือนก.ค. อาจสร้างความผันผวนครั้งใหญ่ต่อตลาดสัปดาห์นี้

    2 สิงหาคม 2564 | SET News


จ้างงานสหรัฐฯเดือนก.ค. อาจสร้างความผันผวนครั้งใหญ่ต่อตลาดสัปดาห์นี้

ในวันศุกร์นี้ จะมีการประกาศรายงานจ้างงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะมาเป็นตัวกำหนดตลาดว่าจะช่วย “หนุน” ตลาดขึ้นต่อ หรือสร้างความ “ผันผวน” ให้แก่การซื้อขายในช่วงเริ่มต้นส.ค. นี้


ขณะเดียวกัน สัปดาห์นี้ก็จะมีการประกาศผลประกอบการบริษัทต่างๆในดัชนี S&P500 ที่จะรวมไปถึงกลุ่มสินค้าหลักของกลุ่มผู้บริโภค, ประกันภัย, เภสัชกรรม, การท่องเที่ยวและสื่อต่างๆ ตั้งแต่ Booking Holdings ตลอดจน ViacomCBS, Wayfair และ Kellogg


ทั้งนี้ กลุ่มนักลงทุนอาจจับตาไปยังสิ่งที่บริษัทต่างๆต้องการสะท้อนเกี่ยวกับ กิจกรรมการกลับมา “เปิดทำการทางเศรษฐกิจ” , ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และเงินเฟ้อ


ปัจจัย “การจ้างงาน”

เฟดยังคงมองเงินเฟ้อเป็นเพียงชั่วคราว แต่นักลงทุนก็เริ่มหวั่นวิตกต่อสถานะของเงินเฟ้อ ขณะที่ตลาดดูจะให้ความสนใจกับประเด็นอื่นๆของเฟดด้วย โดยเฉพาะ “ตลาดแรงงาน”

นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ได้กล่าวไว้เมื่อวันพุธที่แล้วว่า ต้องการเห็นจ้างงานแกร่งก่อนที่จะทำการ “ลดการเข้าซื้อ” พันธบัตรรายเดือนวงเงิน 1.2 แสนล้านเหรียญ



จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯในวันศุกร์นี้
Forex Factory คาดอาจเห็นจ้างงาน “เพิ่มขึ้น” จาก 850,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. สู่ระดับ 895,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.

Dow Jones คาดอาจเห็นจ้างงานออกมา “ลดลง” แตะ 788,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค.



ขณะที่อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ถูกคาดว่าจะปรับตัวลดลงแตะ 5.7% จาก 5.9% ในเดือนมิ.ย.

อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง ถูกคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นแตะ 3.9% เมื่อเทียบรายปีในเดือนก.ค.

ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์จาก Ironsides Macroeconomics คาดการณ์ว่า

“ข้อมูลจ้างงานรายเดือนในช่วง “2 เดือน” จากนี้ จะค่อนข้างแข็งแกร่ง” และจะส่งผลให้ เฟดดูจะพร้อมประกาศเริ่มต้นการลด QE ในการประชุมเดือนก.ย. นี้


ประเด็นข้างต้นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่อาจเป็นก้าวแรกในการถอนนโยบายผ่อนคลายการเงินของเฟดที่ใช้ในช่วงไวรัสระบาด และอาจสะท้อนถึงโอกาสที่อาจทำให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยตามมาหลังจากที่เฟดสิ้นสุดกระบวนการลด QE เป็นที่เรียบร้อย




“Game Changer” – ตัวเปลี่ยนแนวโน้มตลาด!

ศุกร์นี้จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแนวโน้มตลาด แต่ก่อนจะถึงวันศุกร์นี้ “คาดว่า ตลาดหุ้นน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ”

หากจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาดีขึ้นกว่าคาด หรือสูงกว่า 1 ล้านตำแหน่งอาจส่งผลให้เกิด “แรงเทขาย” ในตลาด จากมุมมองที่ว่า เฟดอาจจะยิ่งพร้อมทำการถอน QE

หากจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าที่คาด
อาจเห็นตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัว โดยเป็นลักษณะ Bad is good - Good is bad
แต่ก็อาจเผชิญอุปสรรคได้จาก ผลประกอบการบริษัท ควบคู่กับความวิตกกังวลเรื่องการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิ

ในขณะเดียวกัน เขาก็คิดเช่นเดียวกับนักกลยุทธ์อื่นๆ ที่ว่า ตลาดหุ้นอาจเคลื่อนไหว “ปรับฐาน” และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนนี้


Reflation Trade - ซื้อขายอ้างอิงตามสภาวะเงินเฟ้อ

ณ ขณะนี้ ตลาดหุ้นค่อนข้างถูกถือครองตามสภาวะการซื้อขายแบบ Reflation Trade อาทิ หุ้นกลุ่มพลังงาน, อุตสาหกรรม หรือแม้แต่โลหะต่างๆ



ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Delta Covid ที่กำลังเพิ่มขึ้น กลายมาเป็น “ความกังวล” ของกลุ่มนักลงทุน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวลง ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ทรงตัวบริเวณ 1.23%


นอกจากนี้ นักลงทุนอาจจับตาปัจจัยสำคัญต่างๆในสัปดาห์นี้ อาทิ
- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) จะเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตในวันจันทร์นี้
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ วันพฤหัสบดีนี้
- ข้อมูลการค้าสหรัฐฯ ในคืนวันพฤหัสบดี นี้เช่นกัน


การซื้อขายของตลาดจีน

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดจีนค่อนข้างเคลื่อนไหวแกว่งตัวแรง และอาจส่งผลต่อตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้เช่นกัน


สัปดาห์ที่แล้ว ดัชนี Hang Seng Index ดิ่งลงไป -5% อันเป็นผลมาจาก “จีนทำการปราบปราบบริษัทอินเทอร์เน็ต และบริษัทแสวงหาผลกำไรทางด้านการศึกษา รวมไปถึงบริษัทในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ”


บรรดานักกลยุทธ์ กล่าวว่า จีนเองก็พยายามที่จะให้ตลาดรายใหญ่กลับมาซื้อขายในตลาดจีน และออกจากการขึ้นกระดานซื้อขายของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกับ Didi Global ที่ค่อนข้างทำให้ทางการจีนไม่พอใจ แม้จะได้รับการเตือนเป็นที่เรียบร้อย


หลังจากการปราบปราบของจีนก็ดูจะส่งผลให้เกิด “แรงเทขายอย่างหนัก” ในหุ้นบริษัทอินเทอเน็ตไปทั่วตลาด


อย่างไรก็ดี ทางการจีน ระบุว่า บริษัทต่างๆสามารถดำเนินการในสหรัฐฯได้ หากดำเนินการตามข้อกำหนดด้านการจดทะเบียนในประเทศ


สะท้อนว่าจีนดูจะพยายามบรรเทาความผันผวนในตลาด และไม่ต้องการให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด ดังนั้น นักลงทุนอาจไม่เห็นการแกว่งตัวมากโดยปราศจากผลกระทบเชิงลบได้ โดยเฉพาะแรงสะเทือนต่อกลุ่มตลาดเกิดใหม่ด้วย




ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com