· หุ้นเอเชียเพิ่มขึ้น - คืบหน้าร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ
หุ้นฟิวเจอร์สสหรัฐฯ
ปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนกำลังเป็นที่สนใจของตลาด โดยการสำรวจที่แสดงถึงภาคกิจกรรมโรงงานที่ชะลอตัวอย่างมากในเดือนก.ค. ท่ามกลางต้นทุนที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่รุนแรง
ดัชนี Nikkei รีบาวน์ 1.8% แต่มาจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.8% หลังจากที่ลงไปแตะระดับต่ำสุดในปีนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
· หุ้นจีนดีดตัวขึ้นหลังภาพรวมรายเดือนแย่ที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี
ตลาดหุ้นจีนดีดตัวขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของบริษัทด้านการเงินและผู้บริโภค
ดัชนี Shanghai Composite +1.5% ที่ระดับ 3,448.31 จุด
ดัชนี Blue-chip CSI300 +2.09%
ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วดัชนี CSI 300 -5.5% ซึ่งร่วงลงรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. ปี 2018
ดัชนีทั้งสองร่วงลงราว 1% ในการซื้อขายช่วงเช้า เนื่องจากความกังวลภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสสายพันเดลต้า โดยประเทศจีนรายงานว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 98 รายในวันก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดรายวันสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค ที่ผ่านมา
ความกังวลเหล่านั้นยังส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ซึ่งผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี
การสำรวจภาคเอกชน พบว่า การเติบโตของกิจกรรมโรงงานของจีนเดือนก.ค.ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
ขณะที่ประมาณ 89% ของรายงานผลประกอบการกว่า 300 บริษัทล่าสุดของสหรัฐฯ มีผลประกอบการที่ออกมาดีขึ้นกว่าที่คาด และคาดว่าจะมากถึง 89.8% ในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นเดือนก.ค. ที่ 65.4%
ผลสำรวจภาคเอกชนชี้ อินโดนีเซีย, เวียดนาม และมาเลเซีย ระบุถึง กิจกรรมภาคการผลิตเดือนก.ค. หดตัวลงจากสภาวะการระบาดของไวรัสที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้มาตรการเข้มงวดสกัด Covid-19
ด้านดัชนี S&P 500 futures+0.5% และ Nasdaq futures +0.4%
EUROSTOXX 50 futures +0.3% ขณะที่ FTSE futures +0.2%
สำหรับวันนี้จะมีการประกาศข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือนก.ค.ของฝั่งยูโรโซนและอังกฤษ
· ดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในช่วงต้น Pre-Market
โดยได้รับอานิสงส์จาก
- รายงานผลประกอบการบริษัทสหรัฐฯแข็งแกร่ง
- คืบหน้าแผนโครงสร้างพื้นฐานของทั้ง 2 พรรค
ทั้งหมดนี้ จึงช่วยบดบังความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ Delta Covid-19
· เงินบาท ริงกิตมาเลเซียอ่อนค่า จากวิกฤตไวรัส
ค่าเงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ ขณะที่ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียคาดว่าจะอ่อนค่าที่สุดในรอบกว่าสัปดาห์
โดยประเทศในเอเชียยังคงต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของกาแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา
ค่าเงินบาทอ่อนค่า 0.33% ซึ่งนับเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ขณะที่ค่าเงินริงกิตอ่อนค่า 0.17%
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ประเทศไทยขยายข้อจำกัดที่เข้มงวดในกรุงเทพฯและจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงอื่น ๆ ที่เผชิญกับการระบาดของไวรัส
ขณะเดียวกัน ยังเห็นผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการกับวิกฤตโคโรนาไวรัส ออกมาประท้วงตามท้องถนนเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยอายุ 10 ปี ลดลง 0.2% ที่ระดับ 1.57%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- หุ้นไทยวันนี้ (02 ส.ค.) ปิดตลาดเช้า -0.43 จุด ซื้อขาย 3.5 หมื่นล้าน
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (02 ส.ค.) ดัชนี SET Index ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ระดับ 1,521.49 จุด ปรับลง -0.43 จุด หรือคิดเป็น -0.03% มีมูลค่าซื้อขายรวมทั้งสิ้น 35,979 ล้านบาท อยู่ในกรอบ 1,513.71-1,525.09 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ CPALL AMR และ AS
ขณะที่ดัชนี SET50 ปรับขึ้น +0.65 จุด หรือคิดเป็น +0.07% อยู่ที่ 911.26 จุด มูลค่าซื้อขายรวม 15,101 ล้านบาท เทียบเป็นราว 41.97% ของการซื้อ-ขายทั้งหมด
- เศรษฐกิจไทยเสี่ยงถดถอย 2 ปีซ้อน! บล.ทิสโก้ ชี้หุ้นไทยซึมต่อ แนวรับสำคัญเดือน ส.ค.อยู่ที่ 1,500-1,510 จุด
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า การระบาดในประเทศและการใช้มาตรการล็อกดาวน์ส่อแววยืดเยื้อ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ยังพุ่งขึ้นไม่หยุด ล่าสุดทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1.8 หมื่นคนต่อวัน สร้างความกังวลมากขึ้นต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยนั้น
- Q3 อสังหาหนีตายล็อกดาวน์ยืดเยื้อ ถล่มโปรกู้เกิน 100%-โชว์ฉีดวัคซีนลดเพิ่ม 5 แสน
อสังหาฯดัมพ์โปรโมชั่นระบายสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมอยู่หนีตายผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์มาราธอนในช่วงไตรมาส 3/64 “เสนา” โหนกระแสแค่โชว์หลักฐานลงทะเบียนฉีดวัคซีนรับส่วนลดสูงสุด 5 แสน “เมเจอร์” ดึงแบงก์ออมสินปล่อยกู้ลูกค้า LGBTQ “พฤกษา-ศุภาลัย-แสนสิริ-เอพี-เพอร์เฟค-LPN” มาฟอร์มใหญ่ ขนบ้าน-คอนโดฯพร้อมอยู่ทั่วไทยประชันแคมเปญ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- BAY คาดกรอบบาทสัปดาห์นี้ 32.80-33.15 จับตา กนง., ข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.15 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.86 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 32.83-32.99 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างสัปดาห์เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 เดือน ขณะที่ในเดือนกรกฎาคมเงินบาทอ่อนค่าลง 2.5% ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในกลุ่ม
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 4 สิงหาคม และแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจไทยที่เปิดกว้างมากขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงยืดเยื้อ การขยายมาตรการควบคุมโรคและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเปราะบางของตลาดแรงงาน รวมถึงการฉีดวัคซีนที่ช้ากว่าเป้าหมาย ส่วนข้อมูลเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม คาดว่าจะยังคงบ่งชี้ถึงอุปสงค์ภายในที่อ่อนแอ
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งส่งผลให้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มควบคุมได้ยากขึ้น คาดว่าภาครัฐจึงจำเป็นต้องต่ออายุมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงาน และมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ดังนั้น มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจำเป็นในการช่วยประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่ไปกับมาตรการทางการคลังที่ออกมาเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะยังคงมุ่งเน้นการใช้มาตรการที่ตรงจุดเพื่อช่วยลดภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและครัวเรือน
- ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มจากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัดพร้อมปรับมาตรการจำหน่ายอาหารในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้สามารถเปิดได้ แต่ให้ขายเฉพาะเดลิเวอร์รี่เท่านั้นทั้งนี้ มาตรการส่วนใหญ่ยังคงข้อกำหนดตามฉบับที่ 28 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.64 และจะประเมินผลอีกครั้งในวันที่ 18 ส.ค.
- เอกชนเผยโรงงานเร่งใช้ "บับเบิล แอนด์ซีล" สกัดโควิดเข้าโรงงาน จี้รัฐเร่งหาวัคซีนฉีด สรท.ห่วง ส่งออก 4 กลุ่มใช้แรงงานมาก "ไก่-ยานยนต์-อิเล็กฯ-เสื้อผ้า" เลื่อนส่งมอบไตรมาส 3 ธปท.ห่วงกระทบภาคการผลิตมากขึ้น "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้ ส.ค.จุดชี้ชะตาอนาคตส่งออกปีนี้ หวั่นคุมไม่อยู่กดจีพีดีโตต่ำ 1%
- กนอ.เผยประชุมร่วมเจโทร นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นลงทุนในประเทศไทย แม้โควิด-19 ระบาดกระทบการขนส่งทำชิ้นส่วนขาดแคลน สนใจพันธมิตรไทยผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงาน มองเป็นโอกาสผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการลงทุนและจ้างงานเพิ่ม
- รายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า สำนักงบประมาณได้รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐจึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐซึ่งมีการก่อหนี้สูงกว่าเป้าหมายอย่างมากและเพื่อให้การเบิกจ่ายและจัดสรรงบประมาณในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ (ก.ค.-ก.ย.) มีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำข้อเสนอ 3 ข้อให้หน่วยงานราชการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ