• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2564

    2 สิงหาคม 2564 | Gold News



ทองลง ดอลลาร์ทรงตัว ตลาดรอข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ


· ราคาทองคำปรับตัวลดลง จากค่าเงินดอลลาร์ที่ทรงตัว ท่ามกลางท่าทีระมัดระวังการลงทุนของนักลงทุนที่จับตาการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนก.ค.เพื่อหาสัญญาณการเติบโตของตลาดแรงงาน


· ราคาทองคำตลาดโลก -0.2% ที่ระดับ 1,810.71 เหรียญ โดยปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์ฟื้นตัวเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน


· ด้านสัญญาทองคำ -0.1% ที่ระดับ 1,814.90 เหรียญ


· หุ้นส่วนผู้จัดการของ SPI Asset Management กล่าวว่า ตลาดกังวลเกี่ยวกับข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯที่อาจออกมาแข็งแกร่ง เพราะจะทำให้ดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะกระทบต่อนโยบายดอกเบี้ยของเฟดได้


· ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงช่วงระยะเวลาในการปรับลด QE มากยิ่งขึ้น


· นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของ Reuters กล่าวว่า ในทางเทคนิคราคาทองคำอาจกลับมาแตะระดับต่ำสุดในวันที่ 23 ก.ค. ที่ระดับ 1,789.98 เหรียญ เนื่องจากไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1,832.80 เหรียญได้อีกครั้ง


· ทองคำสัปดาห์นี้จะ "สะสมพลัง" เหนือ 1,800 เหรียญ ก่อน ISM เผยดัชนี PMI สหรัฐฯคืนนี้

ทองคำเปิดเดือนส.ค. ด้วยการอ่อนตัวลงเล็กน้อยราว -0.22% ทรงตัวแถว 1,810 เหรียญในช่วงต้นตลาดยุโรปวันนี้ ท่ามกลางท่าทีระมัดระวังของนักลงทุนก่อนทราบข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ ได้แก่ Non-Farm Payrolls สหรัฐฯ ศุกร์นี้

แต่ทุกคนก็ต้องไม่ลืมว่า คืนนี้สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) จะทำการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือนก.ค. ที่อาจกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้


ภาพรวมเทรดเดอร์มีการปรับกลยุทธ์ตลาดเป็น "Wait - and - Watch" โดยมีปัจจัยต่างๆที่ค่อนข้างหลากหลายและผสมผสานกัน

- การปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับลงแตะ 1.225%

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีนทำต่ำสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2020

- หุ้นสหรัฐฯ-จีน ทั้งหุ้นหลักและหุ้นอนุพันธ์เคลื่อนไหวในแดนบวก

- ดอลลาร์ชะลอการซื้อขาย แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูง (จึงยังกดดันทองอยู่)

- สถานการณ์ระบาดของ Delta Covid-19

- กองทุนบำนาญของญี่ปุ่นมีการปรับลดพันธบัตรสหรัฐฯที่ถือครองไว้


ปัจจัยเด่นที่หนุนตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้ ได้แก่

ส.ว. สหรัฐฯ เดินหน้าแผนค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานของนายไบเดน และคาดจะสามารถส่งมอบให้สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯลงนามต่อได้ในสัปดาห์นี้ ด้วยมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ สำหรับแพ็คเกจช่วยเหลือบริษัทต่างๆ หลังเกิดเหตุปราบปรามด้าน IT ที่ปั่นป่วนตลาดหุ้นจีนเมื่อไม่นานมานี้

Reuters Polls แสดงให้เห็นว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาด Gold Option อยู่ในทิศทาง "ขาขึ้น" ในเดือนก.ค. ปีนี้ แต่การเคลื่อนไหวแบบสะสมพลังของราคาทองคำ ก็อาจมีผลให้ช่วงปลายตลาดเผชิญแรงเทขายได้


ปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้

ISM เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.ค. ที่ถูกคาดจะขยายตัวได้ 60.8 จุดในเดือนมิ.ย. จาก 60.6 จุดในเดือนพ.ค. และนี่อาจเป็นตัวช่วยยืนยันภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอของสหรัฐฯที่"ยังจำเป็นต้องมีการสนับสนุนทางการเงิน" จึงจะเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำ

ขณะที่วันศุกร์ ปัจจัยเด่นคือ Non-Farm Payrolls สหรัฐฯ แม้ว่าประชุมเฟดนัดล่าสุดจะยังไม่หารือกันเรื่องการลด QE ก็ตาม


FXStreet วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค

นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ราคาทองคำปรับตัวลงจาก 1,833 เหรียญ และมาเคลื่อนไหวในกรอบ Ascending Triangle ฝั่ง Bearish ซึ่งหากทองคำหลุด SMA ราย 100 วัน จะตอกย้ำภาพขาลง



ด้าน MACD ดูจะช่วยยืนยันการปรับตัวลงของราคาทองคำต่อ และอาจ Break กรอบสามเหลี่ยมที่กล่าวในข้างต้นมาที่ 1,802 เหรียญได้

ทั้งนี้ ระดับ 1,790 เหรียญ ยังถือเป็นจุดท้าทายการปรับลงของทองคำอยู่ เพราะหาก Break ลงมา จะยิ่งยืนยันภาวะ Double Top และมีโอกาสเห็นราคาทองคำไปหาระดับเป้าหมายที่เป็นต่ำสุดช่วงปลายเดือนมิ.ย. แถว 1,750 เหรียญ

ในทางกลับกันหากทองคำฝ่าเหนือ 1,820 เหรียญได้ มีโอกาสทดสอบ Double Tops บริเวณ 1,834 เหรียญ และจะเห็นการขึ้นต่อที่ชัดเจนและมีโอกาส Break ระดับสำคัญ 1,834 เหรียญไปได้ และจะก่อให้เกิดราคาเป้าหมายที่ระดับ 1,880 เหรียญ

สำหรับระยะสั้นๆ ทองคำมีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวกรอบเดิมในช่วงต้นเดือนก.ค. นั่นเอง


· ทองคำกับโอกาส "ขาลง" ในทางเทคนิค ก่อนทราบข้อมูลจาก ISM คืนนี้




หนึ่งในนักวิเคราะห์ของ FXStreet กล่าวว่า ราคาทองคำในภาพราย 4 ชั่วโมงปรับลงมาแนวเส้นค่าเฉลี่ย 50 SMA บริเวณ 1,808 เหรียญ ก่อนจะปรับขึ้นมาทรงตัวแถวเส้นค่าเฉลี่ย 100 SMA ที่ระดับ 1,811 เหรียญ

อย่างไรก็ดี สัญญาณ RSI บ่งชี้ การปรับลง และเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเส้นกลาง สะท้อนถึงภาวะ "ขาลง" ที่ยังอยู่ และมีโอกาสกลับทดสอบเส้น 50 SMA ได้

หากหลุดลงมา มีโอกาสเห็นทองคำทดสอบเส้น 200 SMA แนว 1,797 เหรียญอีกครั้ง รวมทั้งอาจเห็นทองคำกลับแถวต่ำสุดเดิมในสัปดาห์ที่แล้วที่ระดับ 1,792 เหรียญได้

ในทางกลับกัน ถ้าทองคำยืนเหนือเส้น 100 SMA ได้ ก็มีลุ้นเห็นทองคำเผชิญความท้าทายบริเวณ 21 SMA ที่ระดับ 1,816 เหรียญ


และหากผ่านไปได้ มีโอกาสเห็นทองคำทดสอบเป้าหมายขาขึ้น ที่เป็นแนวต้าน ณ ปัจจุบันที่ 1,820 เหรียญ


· ราคาซิลเวอร์ ทรงตัวบริเวณ 25.45 เหรียญ

· ราคาพลาเดียม +05% ที่ระดับ 2,672.93 เหรียญ

· ราคาแพลตินัม +0.9% ที่ระดับ 1,058.22 เหรียญ


· ผลการศึกษาของศูนย์ควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) สะท้อนว่า 74% ของประชาชนในรัฐแมสซาชูเซตส์ที่ติดเชื้อไวรัส Delta Covid-19 เป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามจำนวนโดส


· CDC เผย สหรัฐฯฉีดวัคซีนแก่ประชาชนแล้วเป็นจำนวน 346.5 ล้านโดส โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนครบทุกโดสมีจำนวน 164.7 ล้านราย และรับเพียงคนละ 1 โดสอยู่ที่ 191.49 ล้านราย


· รายงานจากพรรครีพับลิกัน สะท้อนว่า เชื้อไวรัสโคโรนาหลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการในจีน ขณะที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังคงสืบค้นต้นกำเนิดการระบาดของไวรัส


· ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแสดงความเป็นกังวลว่าการปลดล็อกของอังกฤษจะก่อให้เกิดการเป็นศูนย์กลางกลายพันธุ์สำหรับ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่


· ออสเตรเลียใช้มาตรการเข้มงวดสกัด Covid ณ เมืองบริสเบน ด้วยการขยาย Lockdown ขณะที่กองทัพคุมเข้มซิดนีย์


· ยอดค้าปลีกเยอรมนีเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 4.2% ขยายตัว 2 เดือนติดต่อกัน

ยอดค้าปลีกของเยอรมนีเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดในเดือนมิ.ย. หลังจากที่มีการผ่อนมาตรการเพื่อคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

รายงานระบุว่า ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.ของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือนพ.ค. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 2%

· กิจกรรมการผลิตในแถบเอเชียได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น - Delta Covid

รายงานจาก Reuters สะท้อนว่า การผลิตในแถบเอเชียเดือนก.ค. ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงขึ้น ประกอกับการระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 จึงบดบังทิศทางอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในระดับโลก และ "ตอกย้ำ" ถึงสภาวะที่เปราะบางของ "การฟื้นตัวในภูมิภาค"

การส่งออกในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แม้จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ภาพรวมบริษัทต่างๆก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และการขาดแคลนอุปกรณ์ประกอบการผลิต จากราคาที่พุ่งสูงขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Capital Economics มองว่า แม้จะเห็นการจำกัดปัญหาคอขวดทางด้านอุปทานแต่ดัชนี PMIs ก็ชี้ให้เห็นว่าอุปสงค์ต่างๆก็มีการชะลอตัวลงไปมากเช่นกัน จึงอาจเป็นตัวกดดันกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง


· DBS Bank ชี้ การ "ปราบปราม" ของจีน สะท้อนว่า "จีนพร้อมทำทุกอย่าง" ที่เห็นว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

ทั้งนี้ ความเสี่ยงสูงของข้อกำหนดของจีน ประกอบไปด้วย

- ด้านการศึกษา

- ระบบ E-Commerce

- ระบบอินเทอร์เน็ต

- ระบบสุขภาพ


· จีนต้องการจำกัดการผลิตเหล็ก แต่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาด "เป็นไปได้ยาก"

รายงานจาก Wood Mackenzie ระบุว่า จีนมีความต้องการที่จะทำการปรับลดการผลิตเหล็กในปี 2021 แต่ก็อาจเผชิญกับความยากลำบาก โดยในครึ่งปีแรก จะเห็นได้ว่า โรงงานถลุงเหล็กของจีนมีการดำเนินการเพิ่มขึ้นเกือบ 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020

รายงานจาก Reuters ระบุว่า การผลิตรายเดือนทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 99.45 ล้านตันในเดือนพ.ค. แม้จะเห็นการปรับลงมาที่ 93.88 ล้านตันในเดือนมิ.ย.

อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตถือเป็นหนึ่งในการก่อมลพิษทางอากาศอย่างมากในจีน และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมากถึง 10 - 20% ในประเทศ ดังนั้น จีนจึงกำหนดเป้าหมายให้ภาคอุตสาหกรรมทำการลดก๊าซพิษดังกล่าว โดยตั้งเป้าสู่ระดับ 0% ภายในปี 2060


· เกาหลีใต้ ระบุว่า "ยังไม่ได้ตัดสินใจ" ว่าจะเข้าร่วมการฝึกซ้อมรบกับสหรัฐฯ หรือไม่ แต่การร่วมซ้อมรบอาจสร้างความตึงเครียดแก่ "เกาหลีเหนือ"


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com