• บาททะลุ 33 บาท/ดอลลาร์ - สัญญาณเศรษฐกิจไทยทรุด?!

    3 สิงหาคม 2564 | Economic News
  

ค่าเงินบาททำสูงสุดรอบกว่า 16 เดือน ทะลุ 33 บาท/ดอลลาร์อีกครั้ง



 

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจไทย

- เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นปลายทาง โตต่ำ ฟื้นช้า คนจนเพิ่มขึ้น

 

เมื่อเศรษฐกิจโตต่ำ ฟื้นตัวช้า ถดถอยยาวเช่นนี้ ทำให้คนไทยจำนวนมากเสี่ยงรายได้ลดลง กระทบความสามารถในการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตในระยะยาว

29 ก.ค. ที่ผ่านมา

 

กระทรวงการคลังพึ่งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ เหลือขยายตัว 1.3% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนเม.ย. ที่คาดว่าจะเติบโตที่ 2.3% สาเหตุหลักมาจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

 

การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังสอดคล้องกับทุกสำนัก โดยช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ทุกสำนักต่างปรับลด GDP คาดการณ์ปีนี้ของไทยลง เช่น

 

KKP Research ที่ปรับลด GDP คาดการณ์ปีนี้เหลือ 0.5% จากเดิมประเมินไว้ 1.5% แถมยังห้อยท้ายว่า ในกรณีเลวร้าย GDP อาจถึงขั้นติดลบ โดยเฉพาะหากไม่สามารถคุมการระบาดในพื้นที่กรุงเทพ และรัฐบาลต้องใช้มาตรการเข้มข้นขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าเศรษฐกิจของกรุงเทพคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของ GDP ทั้งประเทศ

 

เช่นเดียวกับธนาคารกรุงศรีฯ ที่ปรับลด GDP คาดการณ์ปีนี้จาก 2.0% เหลือ 1.2% หรือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวที่ 1.8% เท่านั้น

 

สอดคล้องกับสถาบันระหว่างประเทศอย่างธนาคารโลก ที่ปรับลด GDP คาดการณ์ของไทยเช่นกัน จาก 3.4% ซึ่งคาดการณ์ ณ มี.ค. 2564 เหลือ 2.2% จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่อยู่ในระดับต่ำ

 

อ่านต่อ: bangkokbiznews.com/news/detail/952385

 

 

วิจัยกรุงศรี ห่วงคุมระบาดโควิดไม่อยู่ ไตรมาส 3 เศรษฐกิจไทยเสี่ยงถดถอย

 

วิจัยกรุงศรีได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจไทย ระบุว่าอุปสงค์ในประเทศเดือนมิถุนายนยังคงซบเซา แต่เศรษฐกิจยังพอได้แรงหนุนจากการส่งออก ส่วนภาคการผลิตในไตรมาส 3 อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการระบาด  ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนมิถุนายนแม้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนบ้างเล็กน้อย (+1.2% MoM sa) แต่โดยรวมยังอ่อนแอ  สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านการลงทุนภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน (+0.2%) โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามทิศทางการส่งออก ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับลดลง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอและมาตรการควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงเล็กน้อย จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกที่เติบโตในอัตราสูง (46.1%YoY) ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเติบโตกระจายตัวทั้งในตลาดและหมวดสินค้า ช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้บ้างในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ



 

เศรษฐกิจไตรมาส 2 อ่อนแอลงจากไตรมาสแรก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามของ COVID-19 ที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP ในไตรมาส 2 อาจหดตัวจากไตรมาสแรกที่ -0.6% QoQ sa แต่หากเทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อนอาจขยายตัวได้ 7% YoY ซึ่งเป็นผลของฐานที่ติดลบหนักเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจยังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มาตรการควบคุมการระบาดจึงเข้มงวดขึ้น ทำให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักมากขึ้น อีกทั้งการระบาดที่เริ่มแผ่ลามถึงภาคการผลิตและอาจกระทบในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกได้ เศรษฐกิจในไตรมาส 3 จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้และอาจจะติดลบมากกว่าในไตรมาส 2



 

อ่านต่อ: matichon.co.th/news-monitor/news_2864395


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com