• ​บาทอ่อนหนักรอบ 16 เดือน ก่อนประชุมกนง.วันนี้

    4 สิงหาคม 2564 | Economic News
  

บาทอ่อนค่ามากสุดรอบ 16 เดือนที่ระดับ 33.071 บาท/ดอลลาร์



นักบริหารการเงิน คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.20 บาท/ดอลลาร์ โดยยังมอง แนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลง ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ และมีผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของเงินบาทให้อ่อนแอลง ทั้งฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด และแนวโน้มเศรษฐกิจในภาพรวม

อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงจับตาดูผลการประชุมกนง. ซึ่งมีกระแสคาดการณ์ว่า กนง.จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่า

· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- เศรษฐกิจฟื้นช้า-ต้องอุ้มลูกหนี้ ThaiBMA ประเมิน กนง.ไม่ปรับดอกเบี้ย

การประชุม กนง. ในเดือนสิงหาคมนี้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการระบาดของ COVID-19 และธปท.ได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ SME และหนี้ครัวเรือน ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงลดลง


- “กสิกรไทย” คาด กนง. คงดอกเบี้ย ตุนกระสุนไว้รับมือเศรษฐกิจแย่กว่าคาด

วันที่ 4 ส.ค. นี้ กนง. มีแนวโน้มจะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งส่งผลให้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มควบคุมได้ยากขึ้น และทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัดมากขึ้น

ซึ่งในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อเก็บกระสุนไว้ใช้ในยามสถานการณ์เศรษฐกิจแย่ลงไปกว่านี้ ท่ามกลางความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ที่มีจำกัด ในขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. น่าจะยังคงมุ่งเน้นการใช้มาตรการที่ตรงจุดเพื่อช่วยลดภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและครัวเรือน


- ความเสี่ยงหนี้ครัวเรือนไทย และผลต่อนโยบายการเงินการคลังระยะต่อไป

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้เศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวภายหลังจากการแพร่ระบาดในระลอกแรก แต่การฟื้นตัวไม่เท่าเทียมและมีแผลเป็นที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่เปราะบางมาตั้งแต่ต้น สะท้อนจากหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 79.8% ต่อจีดีพีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤต


ซึ่งยังไม่รวมถึงหนี้นอกระบบ และเพิ่มขึ้นอีกหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 มาอยู่ที่ 90.5% ต่อจีดีพีในไตรมาส 1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี


หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องและทะลุระดับ 14 ล้านล้านบาทแล้วในปัจจุบัน แม้ว่าในเชิงคุณภาพของหนี้จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก สะท้อนจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำที่ 3.1% ของสินเชื่อรวม เนื่องจากมีมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาโดยตลอด


- วิจัยกรุงศรี ชี้เศรษฐกิจไทย Q3 เสี่ยงสูงสู่ “ภาวะถดถอย”

วิจัยกรุงศรี ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 คาดหดตัว -0.6% มองไตรมาส 3 เสี่ยงสูงเข้าภาวะถดถอย เหตุกิจกรรมเศรษฐกิจหยุดชะงัก มองเฟดส่งสัญญาณลด QE ปลาย ส.ค.นี้


ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจยังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล มาตรการควบคุมการระบาดจึงเข้มงวดขึ้น ทำให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักมากขึ้น อีกทั้งการระบาดที่เริ่มแผ่ลามถึงภาคการผลิตและอาจกระทบในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกได้ เศรษฐกิจในไตรมาส 3 จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้และอาจจะติดลบมากกว่าในไตรมาส 2


คลังประเมินเศรษฐกิจปีนี้เติบโต 1.3% และจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 4-5% ในปีหน้า ด้านวิจัยกรุงศรีชี้ในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 เหลือขยายตัว 1.3% จากเดิมคาด 2.3% ผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาไทยลดลงจากเดิม


อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก นอกจากนี้ สศค. ยังชี้ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 4-5% ในปี 2565 แรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลงและมีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น กอปรกับการส่งออกจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง


ล็อกดาวน์ลากยาวถึง ต.ค.

ด้านวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้จะขยายตัว 1.2% (เดิมคาด 2.0%) ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าคาด และจากแบบจำลองชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะลดลงต่ำกว่า 1,000 ราย ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนมาตรการควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศจึงยังคงซบเซา


· อ้างอิงจากผู้จัดการออนไลน์

- ล็อกดาวน์ ต้นทุนสูง ยิ่งล็อก - ยิ่งเละ

การล็อกดาวน์ทุก 14 วัน รอบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินขั้นต้น คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยราว 4.7 ล้านคน

แม้ว่า การล็อกดาวน์เฉพาะจังหวัดเพื่อควบคุมโควิด-19 รอบใหม่ จะไม่เข้มงวดเหมือนโควิด-19 รอบแรก เป็นการยกระดับมาตรการในการสกัดกั้นการระบาดของโรค ถึงจะเป็นมาตรการสร้างความปลอดภัยให้กับส่วนรวม ควบคุมการระบาดได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วย ผลกระทบของเศรษฐกิจ และสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล ก็ถูกจำกัด


จากงานวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ประเมินผลกระทบของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ว่า จะทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัว 3.2% และเศรษฐกิจอาเซียนจะลดลงราว 2.1-5.4% จากสถานการณ์ปกติ


หากมีการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ 2 เดือน โดยประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน


จากการที่นักท่องเที่ยวคาดว่าจะลดลง 60% จากปีที่แล้ว การขาดตอนของห่วงโซ่การผลิตทั้งในและต่างประเทศ และผลของตัวทวีคูณ ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อาจหดตัว 5.4% จากกรณีที่ไม่มีโรคระบาด


ผลกระทบรอบนี้ ถือเป็นต้นทุนมหาศาล ที่เกิดจากความผิดพลาดอย่างรุนแรง ในเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com