· หุ้นเอเชียใกล้ระดับสูงสุด 1 สัปดาห์ - ไวรัสสายพันธุ์เดลล์เพิ่มสูงขึ้น
ตลาดหุ้นเอเชียพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ นำโดยผลประกอบการของบริษัทสหรัฐฯที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเหล่านักลงทุนจะยังคงระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่กดดันภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น +0.1% ทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา
ผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดจากบริษัทสหรัฐฯในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เพิ่มการคาดการณ์ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ว่าการเติบโตของผลประกอบการในไตรมาสที่สองจะมีลักษณะอย่างไรเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
Tapas Strickland นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า เกือบ 90% ของบริษัทที่จดทะเบียนใน S&P500 รายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาสที่ 2
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เตือนเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในเอเชีย โดยสื่อจีนรายงาน 31 จังหวัดได้เตือนประชาชนไม่ให้เดินทางหากไม่มีความจำเป็น ขณะที่มีรายงานพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 96 รายเมื่อวานนี้
· หุ้นฮ่องกงเพิ่มขึ้น ท่ามกลางกิจกรรมภาคบริการของจีนที่เติบโตขึ้น
ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงขึ้น จากการสำรวจของเอกชนพบว่า กิจกรรมบริการของจีนเดือนกค.เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ Caixin/Markit สำหรับเดือนก.ค.อยู่ที่ระดับ 54.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 50.3
ดัชนี Hang Seng +1.57% โดยหุ้นของ Tencent ของจีนพุ่งขึ้นเกือบ 5% หลังจากที่ขาดทุนอย่างหนักเมื่อวานนี้
ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ +1.16%
ดัชนี S&P/ASX 200 +0.34%
· หุ้นจีนพุ่ง - หุ้นภาคเทคโนโลยีฟื้นตัว
การรีบาวน์ของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีช่วยหนุนดัชนีหุ้นหลักของจีนให้ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากความกังวลเกี่ยวกับการกำกับดูแลเกมออนไลน์ที่เข้มงวดได้กวาดล้างมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ Tencent ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนเกือบ 6 หมื่นล้านเหรียญ
ดัชนี Shanghai Composite +0.56% ที่ระดับ 3,467.30 จุด
ดัชนี CSI300 blue-chip +0.54% โดยดัชนี CSI Info Tech +1.03%
· ดัชนี Nikkei ร่วงลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธ์ุเดลต้า
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์แปรเดลต้า ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน ขณะที่หุ้น Toyota Motor ร่วงลงจากการเทขายทำกำไรหลังผลประกอบการที่ออกมาดีขึ้น
ดัชนี Nikkei -0.21% ที่ระดับ 27,584.08 จุด
ดัชนี Topix -0.50% ที่ระดับ 1,921.43 จุด
ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หัวหน้าสมาคมการแพทย์แห่งประเทศญี่ปุ่น เรียกร้องให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ
· โตโยต้าเผยผลประกอบการทำสูงสุดประวัติการณ์ แต่ก็ยังคงระมัดระวังต่อแนวโน้มการขาดแคลนชิปในการผลิต
· หุ้นอินเดียแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากหุ้นกลุ่มการเงินและโลหะที่เพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นอินเดียแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นำโดยหุ้นกลุ่มการเงินและโลหะ เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทในไตรมาสที่ 2 ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ดัชนี NSE Nifty 50 ของ blue-chip +0.6% ที่ระดับ 16,235 จุด
ดัชนี S&P BSE Sensex +0.7% ที่ระดับ 54,187.97 จุด
· นายกฯมาเลเซีย ปฎิเสธข้อเรียกร้องให้ทำการ "ลาออก" และต้องการให้เกิดการลงมติไม่ไว้วางใจในเดือนหน้า
· หุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น - นักลงทุนให้ความสนใจรายงานผลประกอบการ
ตลาดยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยหนุนความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนทั่วโลก
ดัชนี Stoxx 600 +0.5% ในการซื้อขายช่วงแรก โดยหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อน +1.2% ท่ามกลางหุ้นทุกภาคส่วนและตลาดหุ้นหลักที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ขณะที่บริษัท Commerzbank รายงานผลขาดทุนสุทธิ 527 ล้านยูโร (625.7 ล้านเหรียญ) ในไตรมาสที่สอง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างหนี้และการตัดจำหน่ายโครงการเอาท์
· Citi ลดอันดับหุ้นสหรัฐฯ สู่ "Neutral" - มุมองพันธบัตร "ขาลง"
- คาดเงินเฟ้อจะส่งผลให้อัตราผลตอบแท้จริงของสหรัฐฯปรับขึ้นอีก 0.07% ภายในช่วงสิ้นปีนี้ จากระดับปัจจุบันอยู่ที่ระัดบต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ -1.2%
- ปัจจัยขาลงในตลาดพันธบัตรมีแนวโน้มต่อการดำเนินกลยุทธ์ตลาดหุ้นทั่วโลก
- หั่นอันดับหุ้นสหรัฐฯสู่ Neutral จากภาคเทคโนโลยีรายใหญ่
- ปรับเพิ่มมุมมองหุ้นญี่ปุ่น สู่ Overweight จากหุ้นมูลค่าและวัฎจักรที่เป็นปัจจัยหนุน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- หุ้นไทยวันนี้ (4 ส.ค.) ปิดตลาดภาคเช้า -4.77 จุด ซื้อขาย 2.8 หมื่นล้าน
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (04 ส.ค.) ดัชนี SET Index ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ระดับ 1,535.74 จุด ปรับลง -4.77 จุด หรือคิดเป็น -0.31% มีมูลค่าซื้อขายรวมทั้งสิ้น 28,188 ล้านบาท อยู่ในกรอบ 1,533.36-1,543.48 จุด โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ 7UP PTT และ KBANK
ดัชนี SET50 ล่าสุดปรับลง -3.83 จุด คิดเป็น -0.42% อยู่ที่ 918.53 จุด มูลค่าซื้อ-ขายรวม อยู่ที่ 9,609 ล้านบาท คิดเป็นราว 34.09% ของการซื้อ-ขายทั้งหมด
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- มติ กนง. 4:2 ให้คงดอกเบี้ย 0.5% หั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้เหลือโต 0.7%
คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มติ 4:2 คงดอกเบี้ย 0.50% หั่นคาดการณ์ จีดีพีปีนี้ เหลือโต 0.7% จากเดือน มิ.ย. ที่ 1.8%
เบื้องต้น นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ครั้งที่ 5/2564 ในวันที่ 4 ส.ค. 2564 ว่า กนง. มีมติ 4:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี
ทั้งนี้ กนง. หั่นคาดการณ์ จีดีพีปีนี้ เหลือโต 0.7% จากเดือน มิ.ย. ที่ 1.8%
- พิษ!โควิด กกร.หั่นเป้า GDP ปี2564 เหลือ -1.5 % ถึง 0.0%
กกร. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกปี จากโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ส่งผลกระทบตลอดครึ่งปีหลัง การควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ประสบความสำเร็จ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน รวมถึงจำนวนผู้ป่วยสะสมในโรงพยาบาลยังเพิ่มขึ้นในอัตราสูง แม้จะมีการใช้มาตรการ Lockdown มา 14 วันแล้วก็ตาม ทำให้ภาครัฐต้องขยายมาตรการ Lockdown ณ ขณะนี้ออกไปอีกจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม และขยายวงกว้างออกไปหลายจังหวัด ทั้งนี้ หากการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่งประเทศยังทำได้ช้า ประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงที่ยังต้องจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจตลอดไตรมาสที่ 4 รวมถึงลดทอนความเป็นไปได้หรือประโยชน์ของแผนการเปิดประเทศ ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจึงอยู่ในภาวะที่ฟื้นตัวได้ยาก และเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2564 เข้าสู่ภาวะถดถอยต่อเนื่องเป็นปีที่สองแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งก็ตาม
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ส.อ.ท.ชงรัฐกู้เพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท แบ่งอัดฉีด 3 ช่วงตามปริมาณฉีดวัคซีน สำรองไว้ใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจนอกเหนือจากความจำเป็นในการเยียวยา ด้านผู้ส่งสินค้าทางเรือหวั่นโควิดลามโรงงานกระทบมูลค่าส่งออก 6 เดือนหลังสูญกว่า 3 แสนล้านบาท ประชุมกกร.ถกด่วน ขยายล็อกดาวน์พื้นที่แดงพรึบ
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทรประเมินตลาดอสังหาริมทรัพย์รับผลกระทบโควิด-19 ระลอก 3 ชัดเจน เผยกลุ่มกำลังซื้อพนักงานตลาดโรงงานลดฮวบ
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (เฟทโก้) เปิดเผยว่าขณะนี้นอกเหนือจากเงินลงทุนต่างประเทศไม่ไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทยแล้ว ยังพบว่าเงินลงทุนของไทยเริ่มทยอยไหลออกไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นในภาพรวมอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์โดยส่วนใหญ่ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารหุ้น และหากเจาะจงเฉพาะตราสารหุ้นต่างประเทศอย่างเดียวจะเห็นว่า ช่วงปลายปี 62 อยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท แต่ล่าสุดปีนี้เพิ่มเป็น 5.8 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัว เนื่องจากไม่มีหุ้นใหม่ที่น่าลงทุนภาพรวมเศรษฐกิจการควบคุมโควิด-19 ยังไม่ดีเท่าที่ควร
- "กระทรวงท่องเที่ยวฯ" เผยสถิติ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" เดือนแรก สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเฉียด 2 พันล้านบาท นักท่องเที่ยวกว่า 1.4 หมื่นคน ใช้จ่ายเฉลี่ยเกือบ 6 หมื่นบาทต่อทริป "สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้" ลุ้นไตรมาส 4 ภูเก็ตพลิกสถานการณ์ฝ่าวิกฤติยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง นักท่องเที่ยวไทย-เทศ 2-3 แสนคน/เดือน ดันจำนวน-รายได้ท่องเที่ยวฟื้น 20%