· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.1% ที่ 1,811.38 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย บริเวณ 1,814.5 เหรียญ
· ช่วงต้นตลาดราคาทองคำปรับขึ้นได้กว่า 1% ทดสอบ 1,830 เหรียญ จากข้อมูลจ้างงานเอกชนที่ออกมาแย่กว่าคาด
ADP เปิดเผย ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 330,000 ตำแหน่ง และปรับทบทวนข้อมูลเดือนก่อนหน้าลดลงมาแตะ 680,000 ตำแหน่ง
ท่ามกลาง 26 รัฐ จาก 50 รัฐในสหรัฐฯที่ตัดสินใจยุติสวัสดิการคนว่างานเร็วกว่ากำหนด แต่ข้อมูลต่างๆก็บ่งชี้ว่า ไม่เห็นจำนวนประชาชนกลับมาหางานมากขึ้น
· จากนั้นทองคำปรับลงทำต่ำสุดบริเวณ 1,806 เหรียญ โดยได้รับแรงกดดันจากข้อมูล PMI ภาคบริการสหรัฐฯ และถ้อยแถลงสมาชิกเฟด
ISM เผยข้อมูลดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐฯขยายตัวด้วยอัตรารวดเร็ว แม้เผชิญกับปัญหาห่วงโซ่อุปทาน โดยข้อมูลเดือนก.ค. ทำสูงสุดตั้งแต่มีการเก็บชุดข้อมูล แตะ 64.1 จุด จึงถือเป็นระดับสูงสุดประวัติการณ์
ทั้งนี้ ข้อมูลกิจกรรมบริการดูจะหนุน “โอกาส” ให้เฟดตัดสินใจลดการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงปลายปีนี้
· “นายริชาร์ด แคลริดา” รองประธานเฟด กล่าวสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยปี 2023
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไป และในช่วงสิ้นปีหน้าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อและการจ้างงาน
- เฟดควรกำหนดแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับปี 2023
- คาดการณ์ว่า การเพิ่มขึ้นของภาคแรงงาน “จะค่อนข้างสดใส” จากปัจจัยต่างๆที่จะหนุนให้แรงงานกลับมาเพิ่มขึ้น
· “นางแมรี ดาร์ลี” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก หนุนเฟดเริ่มลด QE ในช่วงสิ้นปีนี้ หรือต้นปี 2022
· “นายโรเบิร์ต เคพแลนด์” ประธานเฟดสาขาดัลลัส หนุนเฟดเริ่มลดการซื้อพันธบัตร “เร็วๆนี้” และควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งเฟดครดำเนินการด้วยความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อเป็นการ “อดทนรอ”ต่อการจะดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยในลำดับต่อไป
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี แกว่งตัวจากปัจจัยทั้งหมดข้าต้น ก่อนจะรับข่าวถ้อยแถลงของสมาชิกเฟด ช่วงแรกแกว่งขึ้นทำสูงสุด 1.215% ก่อนจะลดลงจากข้อมูลจ้างงานทำต่ำสุดช่วงเดือนก.พ. ที่ 1.127% ก่อนจะปิดปรับขึ้นแตะ 1.1854%
· ค่าเงินดอลลาร์รีบาวน์ ปิด +0.2% ที่ 92.246 จุด
· นักกลยุทธ์การตลาดอาวุโสจาก RJO Futures กล่าวว่าเฟดดูจะให้ความสนใจกับข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และประเด็นที่อาจเห็น “การปรับลด” การเข้าซื้อพันธบัตรของเฟดในการประชุมเดือนก.ย. หรือ พ.ย. นี้ โดยเฉพาะข้อมูล PMI ที่ดูจะหนุนโอกาสการปรับลด QE กลับสู่ตลาดอีกครั้ง
· นักกลยุทธ์จาก Standard Chartered ยังคงคาดว่าราคาทองคำในระยะสั้นๆมีโอกาสขึ้นได้ต่อ อันได้รับอานิสงส์จาก อัตราผลตอบแทนแท้จริงที่อยู่ระดับ “ติดลบ” และความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ดอลาร์จะมีท่าทีแข็งค่าบ้างในตลาดการซื้อขาย แต่ความต้องการทองคำแท่งในตลาดที่กำลังเพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลด “ความเสี่ยงขาลง” ที่มากดดันราคาทองคำ แม้ว่าอุปสงค์ทองคำจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เทียบเท่าก่อนช่วง Covid-19 ระบาดก็ตาม
· ตลาดให้ความสำคัญกับข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ วันศุกร์นี้ โดยผลสำรวจจาก Reuters คาดอาจเห็นจ้างานเพิ่มได้มากถึง 926,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย.
· ซิลเวอร์ปิด -0.5% บริเวณ 25.42 เหรียญ
ช่วงต้นตลาดทำสูงสุดรอบเกือบ 3 สัปดาห์
· แพลทินัมอ่อนตัวลง -2.2% ปิดที่ 1,026.23 เหรียญ
· พลาเดียมปิด +0.2% ที่ระดับ 2,653.65 เหรียญ
· “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ยังมองเงินเฟ้อขึ้นชั่วคราว โดยคาดเงินเฟ้อน่าจะอ่อนตัวลงในช่วงปลายปี 2021 แม้จะเห็นตัวเลขเมื่อเทียบรายปียังอยู่ระดับสูงที่เปรียบเทียบกับช่วงที่ได้รับผลกระทบของ Covid-19 ระบาด
นอกจากนี้ “เยลเลน” ยังคงหนุนแผนเศรษฐกิจของ “ไบเดน” ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะรักษาความเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะแผนโครงสร้างพื้นฐานที่เดโมแครตเสนอในวงเงิน 3.5 ล้านล้านเหรียญ
ดังนั้น จึงเรียกร้องให้ทางวุฒิสภาฯ “ผ่าน” ร่างกฎหมาย 1 ล้านล้านเหรียญที่ผู้แทนทั้งสองพรรคประนีประนอมกันได้ เพื่อช่วยยกระดับค่าแรง, การลดความไม่เท่าเทียม และเตรียมงบสำหรับต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
อย่างไรก็ดี เยลเลนยังสนับสนุนการเลื่อนระยะเวลาการพักชำระหนี้ของสหรัฐฯ ออกไปอีก 60 วัน เพื่อต่อเวลาความเร็วของกองทุนช่วยเหลือผู้เช่า
· IHS Markit เผยดัชนี PMI ที่สะท้อน กิจกรรมภาคธุรกิจของยูโรโซนปรับตัวขึ้นในเดือนก.ค. แตะ 60.2 จุด เป็นสูงสุดตั้งแต่มิ.ย.ปี 2006 แต่แรงกดดันเงินเฟ้อและ Covid-19 ยังคงเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจ
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics คาดเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยอาจเห็นจีดีพีแตะ 2% หรือมากกว่านั้นได้ อันเนื่องจากภาคบริการในภูมิภาคยังรีบาวน์ได้ต่อเนื่อง
· AIA ชี้ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนยังเป็นบวกแม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของรัฐบาลจีน
· COVID-19 UPDATES:
วานนี้พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น 678,129 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกแตะ 200.93 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมเพิ่มมาที่ 4.26 ล้านราย
สหรัฐฯกลับมาอยู่อันดับที่ 1 ของการพบยอดติดเชื้อใหม่รายวันที่สูงทะลุ 111,472 รายวานนี้ ขณะที่ไทยยังครองอันดับ 11 ของโลกที่มียอดติดเชื้อใหม่มากที่สุด
ประเทศที่มีการเสียชีวิตสูงสุดอันดับที่ 1 ของโลก คือ อินโดนีเซีย ขณะที่ไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 15 ของโลก
· WHO เรียกร้องประเทศร่ำรวยชะลอการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิเข็มต่อไปอย่างน้อยจนถึงเดือนก.ย. อันเนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านวัคซีน
ดังนั้น จึงอยากรอให้ประชาชนของทุกๆประเทศได้รับวัคซีนแล้วไม่น้อยกว่า 10% ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ราวช่วงสิ้นเดือนก.ย.
· รัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ยกเลิกการจัดงาน Auto Show แล้ว จากปัญหาการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Delta
· สถานการณ์ในจีนยังพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มหนัก โดยรัฐบาลจีนเร่งตรวจหาเชื้อครั้งใหญ่ตั้งแต่กรุงปักกิ่ง จนถึงอู่ฮั่น พร้อมใช้มาตรการเข้มงวด หลังพบรายงานยอดติดเชื้อสูงกว่า 90 รายต่อเนื่อง 3 วันทำการ
อย่างไรก็ดี บรรดานักเศรษฐศาสตร์ แสดงความกังวลว่า การใช้มาตรการเข้มงวดในจีนอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจจีนได้ แม้ว่าจีนจะเป็นเพียงประเทศเดียวในปีที่แล้วที่ขยายตัวได้ก็ตาม
· ด่วน! ยอด 'โควิดไทย' วันนี้ ยังสูง! หลังพบติดเชื้อใหม่เพิ่มถึง 20,920 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตยังสูง 160 ราย
ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 672,385 ราย
ผู้เสียชีวิตสะสมรวม 5,663 รายแล้ว
ไทยยังครองตำแหน่งพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอันดับที่ 5 ของฝั่งเอเชีย ขณะที่ยอดเสียชีวิตในไทยรายวันแตะอันดับที่ 8 ของภูมิภาค
ด้านกระทรวงสาธารณสุขไทยเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ Covid-19 ในประเทศไทย พบแนวโน้มในภาพรวมของประเทศ ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ค.64 จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,547 ราย
- สายพันธุ์ Delta พ จำนวน 1,993 ราย (78.2%)
- สายพันธุ์ Alpha จำนวน 538ราย (21.2%)
- สายพันธุ์ Beta จำนวน 16 ราย (0.6%)
โดยขณะนี้สายพันธุ์เดลตาพบมากถึง 74 จังหวัด
สถานการณ์ฉีดวัคซีนในไทย
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ที่ 33.00-33.20 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่า จากนักลงทุนต่างชาติเริ่ม ทยอยขายสินทรัพย์ในประเทศไทย หลังสหรัฐฯ เตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมประกาศลด QE
ขณะที่ผลประชุมกนง. ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% แต่ปรับลดการคาดการณ์จีดีพีของปีนี้ และปีหน้าลง ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศ ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มโยกย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กนง. หั่นคาดการณ์ จีดีพีปีนี้ เหลือโต 0.7% จากเดือน มิ.ย. ที่ 1.8% ส่วนปี 65 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.7%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 เป็น -1.5 ถึง 0% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐ ด้านการส่งออก คาดว่าจะขยายตัว 10-12% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี พร้อมย้ำภาครัฐให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการจัดหาวัคซีนให้กลุ่มแรงงานอย่างทั่วถึง
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนก.ค. 64 พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 64.37 ปรับตัวลดลง 39.3% จากเกณฑ์ทรงตัวเดือนก่อนมาอยู่ในเกณฑ์ซบเซา
นักลงทุนคาดหวังแผนการฉีดวัคซีนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โควิดป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายภาครัฐ
สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่
- สถานการณ์ระบาดของโควิดระลอกปัจจุบันที่รุนแรงขึ้น
- ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ