นักบริหารการเงิน มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 33.10-33.60 บาท/ดอลลาร์ฯ
โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
สถานการณ์และมาตรการควบคุมโควิดในประเทศ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ ประกอบด้วย
- ดัชนีราคาผู้บริโภค
- ดัชนีราคาผู้ผลิต
- ดัชนีราคานำเข้า-ส่งออกเดือนก.ค.
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. (เบื้องต้น)
- ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมิ.ย.
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนก.ค. ประกอบด้วย
- การส่งออก
- ดัชนีราคาผู้บริโภค
- ดัชนีราคาผู้ผลิต
- การปล่อยกู้สกุลเงินหยวน
นักวิชาการ กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทว่า เงินบาทอาจอ่อนค่าทะลุระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มอาจติดลบ โดยในไตรมาสแรกปี 64 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลแล้ว 2.6 พันล้านเหรียญ และคาดว่าในไตรมาส 2 และ 3 จะยังคงขาดดุลต่อเนื่อง
ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลลดลง คาดว่าปีนี้ดุลบัญชีเงินทุนมีเงินไหลออกสุทธิไม่ต่ำกว่า 3-4 พันล้านเหรียญ โดยมีทั้งการไหลออกของเงินลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน ปีที่แล้วเงินทุนไหลออกสุทธิประมาณ -3.59 พันล้านเหรียญ อัตราการค้าปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากราคานำเข้าสินค้าเพิ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออก