• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2564

    9 สิงหาคม 2564 | Gold News



เช้นี้ทองคำทำต่ำสุดใหม่ของปี – ดอลลาร์แข็งกดทองหลุด $1700

ราคาทองคำตลาดโลกเช้านี้ ปรับตัวลดลงทำต่ำสุดใหม่ของปีบริเวณ 1,669 เหรียญ ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ช่วง 14 ก.ค. ปีที่แล้ว ขณะที่ล่าสุดรีบาวน์กลับมาเหนือ 1,710 เหรียญได้อีกครั้ง




ทำ NEW LOW ของปี เช้านี้ บริเวณ 1,669 เหรียญ ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 14 ก.ค. 2020

ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดทองคำ
:
ดอลลาร์แข็งค่าใกล้ 93 จุด ปรับขึ้นมากสุดรอบ 13 วันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยดอลลาร์ปิด +0.55% ที่ 92.78 จุด
- U.S.10Yield ปรับขึ้นมาแถว 1.3% หลังไปทำต่ำสุดรอบ 5 เดือนเมื่อวันศุกร์
- แรงเทขายหลังหลุดระดับสำคัญทางเทคนิค
- จ้างงานสหรัฐฯทะยานใกล้ 1 ล้านราย ล่าสุดก.ค. จ้างงานเพิ่ม 943,000 ตำแหน่ง เดิมปรับทบทวนเพิ่มมาแถว 938,000 ตำแหน่ง
- อัตราว่างงานดีเกินคาด ทำต่ำสุดรอบ 16 เดือน แตะ 5.4
% จาก 5.9%
อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานปรับขึ้นกว่า 61.7%
- อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงปรับขึ้นเกินคาดแตะ 0.4
% ในเดือนก.ค.

ปีนี้ สหรัฐฯจ้างงานเพิ่มขึ้นได้กว่า 4.3 ล้านตำแหน่ง และยังเหลือคนว่างงานอีกกว่า 5.7 ล้านตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่เคยทำจุดพีคเมื่อก.พ. ปี 2020 

นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า การจ้างงานสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งภายใต้การบริหารของเขา สะท้อนว่าแผนเศรษฐกิจของเขาและทีมบริหารเป็นไปด้วยดี แต่การะรบาดของ Delta Covid-19 ก็อาจกระทบต่อคนว่างงานในการกลับสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง

ขณะที่ช่วงปลายสัปดาห์ ทางสหรัฐฯก็ยังไม่สามารถตกลงเรื่องแพ็คเกจกระตุ้นเศรษบกิจกันได้ ขณะเดียวกัน ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสภาวะทางการเมืองจากการที่ตาลีบันเข้ายึดอีก 2 เมืองในอิรักได้ ทางด้านเกาหลีเหนือเตรียมฟื้นสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ที่ดูจะไปช่วยหนุนดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ได้บางส่วน

 

อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ Covid-19 และการตัดสินใจต่อไปของเฟดจะเป็นตัวหนุนให้เกิดสภาวะ Risk-Off  ด้

นอกจากนี้ ข้อมูลเงินเฟ้อจีนเดอนก.ค. ก็ดูจะเป็นปัจจัยหนุนกลุ่มผู้รอขายทองคำ แต่ภาพรวมหลักๆ อาจต้องรอปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่จะมาขับเคลื่อนตลาดทอง

 

FXStreet วิเคราะห์ราคาทองคำทางเทคนิค





ราคาทองคำยังคงทรงตัวต่ำกว่าแนวรับสำคัญเดือน มี.ค. ปี 2020 และหลุดต่ำกว่าแนวรับที่เป็นต่ำสุดของปีบริเวณ 1,676 – 1,677 เหรียญลงมา ซึ่งทองคำปรับตัวลดลงหลังจากที่หลุดแนวรับสำคัญบริเวณ 1,753 เหรียญลงมา

ภาวะขาลงของตลาดทองคำอาจเผชิญความท้าทายจากสัญญาณ Oversold ใน RSI แต่หากทองคำยังถูกกดดันอาจปรับลงมาทดสอบ 1,645 เหรียญได้

ซึ่งทองคำจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้จำเป็นต้องยืนให้ได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ย DMA ราย 200 วันบริเวณ 1,817 เหรียญเสียก่อน

 

·         CNBC รายงานราคาทองคำปิดวันศุกร์ร่วงลงกว่า 2% จากจ้างงานสหรัฐฯออกมาดีเกินคาดหนุนโอกาสเฟดทำ Tapering QE

ราคาทองคำปิดวันศุกร์ทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนหลังจ้างงานสหรัฐฯหนุนโอกาสเฟดทำการปรับลด/ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “เร็วกว่าคาด”

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -2.2% บริเวณ 1,763.96 เหรียญ ทำต่ำสุดคืนวันศุกร์ตั้งแต่ 30 มิ.ย. ที่ 1,757.70 เหรียญ ก่อนจะร่วงลงแรงต่อในตลาดเอเชียเช้านี้

 

·         ราคา Comex  Gold ส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -2.5% ที่ 1,763.10 เหรียญ

 

·         นอกจากทองคำจะปิดปรับตัวลง

ราคาซิลเวอร์ ปิด -3.2% ที่ 24.33 เหรียญ
แพลทินัมปิด -2.2
ที่ 985.53 เหรียญ ปิดสัปดาห์ที่แย่ที่สุดตั้งแต่มิ.ย.
พลาเดียมปิด -0.8
% ที่ 2,628.72 เหรียญ

 

·         กองทุน SPDR เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทำการเทขายทองคำออก 2.33 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,025.28 ตัน



ตั้งแต่ 2 ส.ค. – 6 ส.ค. ขายออกแล้ว 6.18 ตัน

ขณะที่ภาพรวมปี 2021 กองทุนทองคำ SPDR ขายทองแล้ว 145.46 ตัน

 

·         นักวิเคราะห์จาก Blue Lines กล่าวว่า ตลาดดูจะให้ความสนใจกับ
- ข้อมูลจีดีพีที่อยู่ระดับสูง
- ข้อมูลผลประกอบการบริษัทที่ปรับขึ้นทำสูงสุด
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดี
ทั้งหมดนี้ ดูจะส่งผลต่อมูลค่าของราคาทองคำ และส่งผลจำกัดต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ


·         บรรดานักวิเคราะห์คาดจ้างงานสหรัฐฯอาจสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าลดการเข้าซื้อพันธบัตร

 

·         Wells Fargo คาด จ้างงานแกร่งล่าสุดอาจยังไม่สามารถทำให้เฟดเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินได้ โดยมองเฟดอาจเริ่มทำการลด QE เร็วสุดคือช่วงกลางเดือนพ.ย. นี้

ขณะที่การดำเนินการลด QE มีแนวโน้มจะกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ  ควบคู่กับสถานการณ์ระบาดของ Delta Covid-19 ที่กำลังเพิ่มขึ้นก็เป็นผลลบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรเช่นกัน

ทั้งนี้ สถานการณ์ระบาดในสหรัฐฯ ยังก่อให้เกิดความไม่แน่นอนว่าจะเห็นรัฐบาลสหรัฐฯทำการ Lockdown หรือไม่ แต่จะเห็นถึงการประกาศเตือนการระบาดครั้งใหม่ที่ดูจะกระทบต่อทิศทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี ทุกๆความวิตกกังวลจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดพันธบัตร มากกว่าเรื่องของเงินเฟ้อ

 

·         รายงานจากเฟด สะท้อนว่า อัตราสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิ.ย. ท่ามกลางชาวอเมริกาที่มีการใช้บัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้นหนุนการใช้จ่ายผู้บริโภคไตรมาสที่ 2/2021

ยอดรวมเครดิตกลุ่มผู้บริโภคแตะ 3.769 หมื่นล้านเหรียญ หลังจากที่พ.ค. มีการใช้จ่ายมากถึง 3.669 หมื่นล้านเหรียญ

 

·         วุฒิสภาสหรัฐฯเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน 1 ล้านล้านเหรียญต่อ! หลังช่วงสุดสัปดาห์มีความคืบหน้ามากขึ้นอย่างช้าๆ

ท่ามกลางส.ส. รีพับลิกันที่ต่อต้านการเร่งลงมติเกี่ยวกับการลงทุนด้านถนนและสะพานซึ่งเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ

·         “เจน เวียดแมนส์” สมาชิกอีซีบีหนุนใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน หากจำเป็นต้องต่อสู้กับ “เงินเฟ้อ”  

 

·         ส่งออกจีนชะลอตัวในเดือนก.ค. ส่งสัญญาณอาจเห็นการปรับลงมากขึ้นในอนาคต อันเป็นผลจากการระบาดของ Delta Covid-19 ที่กระทบยอดนำเข้าและส่งออกของประเทศ

ยอดส่งออกจีนเทียบรายปีขยายตัวได้ 19.3% ขณะที่ยอดนำเข้าจีนขยายตัวได้ 28.1% เมื่เทียบรายปี ส่งผลให้ภาพรวมยอดดุลการค้าของประเทศจีนมีมูลค่า 5.658 หมื่นล้านเหรียญ

 

·         ยอดเกินดุลการค้าจีนกับสหรัฐฯ เดือนก.ค. ทรงตัวบริเวณ 3.54 หมื่นล้านเหรียญ  เพิ่มขึ้นจาก 3.258 หมื่นล้านเหรียญในเดือนมิ.ย.

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี ยอดเกินดุลกาค้าสหรัฐฯ-จีน อยู่ที่ 2.0032 แสนล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจาก 1.6492 แสนล้านเหรียญในช่วง 6 เดือนแรกของปี

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศดูจะยังเลวร้าย หลังจากที่การเผชิญหน้ากันในการเจรจาช่วงปลายเดือนก.ค. ที่ต่างฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์และไม่มีความคืบหน้าใดๆ

 

·         COVID-19 UPDATES:



พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น 469,906 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกเพิ่มขึ้นที่ 203.40 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมเพิ่มมาที่ 4.3 ล้านราย

 

อิหร่านพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันอยู่ที่ 39,619 ราย  ขณะที่ไทยครองอันดับ 10 ของโลกที่มียอดติดเชื้อใหม่มากที่สุด

ประเทศที่มีการเสียชีวิตสูงสุดอันดับที่ 1 ของโลกยังคงเป็นอินโดนีเซีย ขณะที่ไทยยังอยู่ที่อันดับ 15 ของโลกเช่นเดิม

 

รายงานผลการศึกษาจากอังกฤษ ชี้ว่า ยังไม่มีวัคซีน Covid-19 ตัวใดจะหยุดยั้งการระบาดของ Delta Covid-19 ได้

และไม่ง่ายที่จะยุติการระบาด โดยจะเห็นว่า แม้วัคซีนจะให้ผลดีในการต้านการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส  แต่ข้อมูลต่างๆก็ยังบ่งชี้ว่า “วัคซีนไม่สามารถยุติการระบาดจากคนสู่คน” แม้จะได้รับวัคซีนก็ตาม

 

·         บรรดานักวิทยาศาสตร์ก็ยังให้ความสนใจไปยังการระบาดของ Covid-19 สายพันธ์ใหม่ นอกจาก Delta Covid ที่กำลังสร้างความกังวลมากขึ้น ว่าจะก่อให้เกิดการระบาดได้ดียิ่งขึ้น หรือแม้แต่สกัดประสิทธิภาของวัควีน

LAMBDA:
- บรรดานักวิทยาศาสตร์ กำลังมองว่าสายพันธุ์นี้มีโอกาสจะเป็น “ภัยคุกคามครั้งใหม่”
- พบครั้งแรกที่ประเทศ เปรู เดือนธ.ค.
- เป็นสายพันธุ์ที่กำลังถูกวินิจฉัยว่าอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการแพร่เชื้อที่ “รุนแรงขึ้น”
- การศึกษาในห้องแล็บ พบว่า “ต้านแอนติบอดี้” ที่เกิดจากวัคซีนได้

B.1.621:

พบครั้งแรกในโคลอมเบีย เมื่อเดือน ม.ค.
- อยู่ในสายพันธุ์ที่น่าสนใจ ที่มีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์อังกฤษ และสายพันธุ์อื่นๆ
- อาจก่อให้เกิดการระบาดที่มากขึ้นได้
- อาจลดภูมิต้านทานในการป้องกันเชื้อจากวัคซีนได้


สิงคโปร์จะเริ่มต้นผ่อนคลายมาตรการ Covid-19 ในวันที่ 10 ส.ค. นี้ จากอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นจาก 40% สู่ระดับ 67% เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

 

·         สถานการณ์ในไทย

ศุกร์ที่ผ่านมายอดติดเชื้อในไทยแตะ 21,000 รายได้เป็นครั้งแรก!
ยอดติดเชื้อเพิ่ม 21,379 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 191 ราย

ขณะที่วันเสาร์ที่ผ่านมา (7 ส.ค.) ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตทำ New High โดยยอดติดเชื้อรายวันพุ่งขึ้นใกล้ 22,000 ราย แตะ 21,838 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตยิ่งสูง 212 ราย

วานนี้ ยอติดเชื้อใหม่เพิ่ม 19,983 ราย เสียชีวิต 138 ราย

 

ขณะที่วันนี้ ศบ. รายงานยอดติดเชื้อใหม่เพิ่ม 19,603 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตสูง 149 ราย




ตอกย้ำถึงสถานการณ์การระบาดของโควิดโดยรวมของประเทศไทยนั้นยังคงวิกฤติ และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 776,108 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 6,353 รายแล้ว


ทั้งนี้ พบเด็กไทยติดเชื้อโควิดไปแล้วกว่า 33,226 ราย เสียชีวิตรวม 9 ราย









การฉีดวัคซีนในไทย




·         นักบริหารการเงิน มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 33.10-33.60 บาท/ดอลลาร์


·         อ้างอิงจากสำนักข่าว Positioning

- ‘เมย์แบงก์ กิมเอ็ง’ ประเมินภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในอาเซียน

ฝั่ง ‘สิงคโปร์’ ฟื้นตัวเร็วสุด จากเเรงหนุนอุตสาหกรรม กระจายวัคซีนได้ดี

ฟิลิปปินส์-มาเลเชีย–เวียดนาม–อินโดนีเซีย ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความหวังการเร่งฉีดวัคซีน

 

ไทยยังติดผลกระทบ ‘ท่องเที่ยว’ ฉีดวัคซีนไม่ได้ตามเป้า การบริโภคยังฟื้นตัวได้ช้าในทุกประเทศอาเซียน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com